ก่อนเดินทางท่องเที่ยว หรือกลับภูมิลำเนา นอกจากจะเตรียมข้าวของ และอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการเดินทางแล้ว อีกสิ่งที่ต้องเตรียมไม่แพ้กันก็คือเบอร์โทรศัพท์สายด่วนฉุกเฉินจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นทั้งแหล่งข้อมูลสำคัญ และพื้นที่สำหรับแจ้งขอความช่วยเหลือหรือร้องเรียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจในการเดินทางยิ่งขึ้น ไม่ว่าที่ใดก็ตาม
สายด่วนสำหรับผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัว และคมนาคมสาธารณะต่าง ๆ อาทิ รถเมล์ รถไฟ เรือโดยสาร เครื่องบิน เป็นต้น เพื่อตรวจสอบ – สอบถามเส้นทาง แจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ ร้องเรียน เป็นต้น
- ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม โทร 1356
- ศูนย์ประสานงานการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย โทร 0-2286-0506 / 0-2286-0594 (24 ช.ม.)
- กรมเจ้าท่า โทร 1199
- กรมการขนส่งทางบก ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารสาธารณะ โทร 1584
- กรมทางหลวง โทร 1586
- กรมทางหลวงชนบท โทร 1146
- สถานรีถไฟกรุงเทพ โทร 1690
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร 1543
- สอบถามเส้นทาง/ร้องเรียน ขสมก. โทร 1348
- Call Center บขส. โทร 0-2936-2963 / เรียก บขส. โทร 1490
- Call Center การบินไทย โทร 0-2356-1111
- Call Center AOT โทร 1722
- Call Center ไทยสมายล์ โทร 1811 / 0-2118-8888
- Call Center แอร์พอร์ตเรลลิงก์ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด โทร 1690
สายด่วนฉุกเฉินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการขอความช่วยเหลือในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว หรือบริการป้องกัน และบรรเทาสาธาณภัย ได้แก่
- เหตุด่วน-เหตุร้าย โทร 191
- ตำรวจทางหลวง โทร 1193
- แจ้งรถหาย โทร 1192
- ตำรวจท่องเที่ยว โทร 1155
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669
- ศูนย์เตือนภัยพิบัตรแห่งชาติ โทร 192
- ศูนย์ดำรงธรรม โทร 1567
- วิทยุ จส.100 โทร 1137
- หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล โทร 1554
เบอร์โทรฉุกเฉินในกรณีรับมือกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 อาทิ ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาด ขอคำปรึกษาการรักษาผู้ป่วย เช็คสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน รวมถึงสายด่วนในด้านการดูแลสุขภาพอื่น ๆ และการใช้ยา
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) / สายด่วนโควิด โทร 1330
- กรมควมคุมโรค โทร 1422
- ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน โทร 1111
- ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศพฉ.) โทร 1669
- สำนักงานประกันสังคม (สปส.) โทร 1506
- สายด่วนสุขภาพจิต 1323
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โทร 1556
ด้วยเบอร์สายด่วนทั้งหลายนี้ มีบทบาทสำคัญมากในการช่วยเหลือ และช่วยชีวิตทุกคน ดังนั้นควรโทรเมื่อมีเหตุการณ์จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น หากผู้ใดทำการโทรศัพท์ก่อกวนเบอร์โทรฉุกเฉิน โดยไม่มีเหตุอันควร มีความผิดตามมาตรา 34/5 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงฯ พ.ศ. 2562 จะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เครดิตข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก , ศูนย์ดำรงธรรม และ nbtc.go.th