คัดลอก URL แล้ว
อินโดฯ ถอนใบอนุญาตผลิตยาน้ำเพิ่มอีก 2 บริษัท กรณียาน้ำเชื่อมปนเปื้อน มีผู้เสียชีวิต 195 ราย

อินโดฯ ถอนใบอนุญาตผลิตยาน้ำเพิ่มอีก 2 บริษัท กรณียาน้ำเชื่อมปนเปื้อน มีผู้เสียชีวิต 195 ราย

KEY :

สำนักงานควบคุมอาหารและยาของอินโดนีเซีย (บีพีเอ็ม) ได้สั่งระงับใบอนุญาตในการผลิตยาน้ำเชื่อมจำนวน 2 บริษัทด้วยกัน จากกรณีที่มีรายงานข่าวไปก่อนหน้านี้ว่า มีการพบที่มีส่วนผสมของไดเอทิลีนไกลคอล (diethylene glycol) และเอทิลีนไกลคอล (ethylene glycol) ปนเปื้อนอยู่ในยาน้ำสำหรับเด็ก ส่งผลทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 195 ราย

ทำให้กระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซียออกคำสั่งให้ระงับการใช้ยาน้ำเชื่อม สำหรับเด็ก เพื่อตรวจหาสารปนเปื้อน และพบ มีการปนเปื้อนของ ไดเอทิลีนไกลคอล (DEG) และเอทิลีนไกลคอล (EG) อยู่ในระดับที่เกินระดับมาตรฐานความปลอดภัย ในยาลดไข้และยาแก้ไอ จากบางบริษัท

ซึ่งทางหน่วยงานของอินโดนีเซียได้มีการสอบสวน รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ และระบุว่า ในขณะนี้ มีข้อมูลและหลักฐานมากพอ จึงได้สั่งระงับใบอนุญาตการผลิตยาน้ำเชื่อมของบริษัท PT Samco Farma และบริษัท PT Ciubros Farma เป็นการชั่วคราว และให้มีการเรียกคืนสินค้าบางส่วนมาทำลายด้วย คือ

นอกจากนี้ ยังได้สั่งให้ทั้งสองบริษัทมีการเรียกคืนสินค้าที่มีส่วนผสมของ propylene glycol, polyethylene glycol, sorbitol, หรือ glycerin ออกจากตลาดด้วย

ซึ่งเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้มีการเพิกถอนใบอนุญาตในการผลิตและจัดจำหน่ายของบริษัทยาเอกชนในอินโดนีเซียไปแล้ว 3 รายคือ PT Yarindo Farmatama, PT Universal Pharmaceutical Industries และ PT Afi Farma หลังพบว่า มีสารเคมีที่เป็นส่วนผสมสูงเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย

อินโดฯ ยอดเสียชีวิตล่าสุด 195 ราย

จากการปนเปื้อนของสารไดเอทิลีนไกลคอล (DEG) และเอทิลีนไกลคอล (EG) ในยาน้ำเชื่อมภายในประเทศอินโดนีเซียในช่วงต้นปี – 6 พ.ย. 65 ที่ผ่านมา พบว่า ส่งผลให้มีผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันแล้ว จำนวน 324 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 195 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้องอย. อินโดฯ สั่งเรียกเก็บยาน้ำเชื่อมแล้ว 5 ยี่ห้อ หลังพบสารปนเปื้อน

แกมเบียระบุ ยังมีหลักฐานไม่มากพอ

สำหรับการปนเปื้อนของไดเอทิลีนไกลคอล (DEG) และเอทิลีนไกลคอล (EG) ในยาน้ำเชื่อมที่พบในอินโดนีเซียแล้ว ยังมีรายงานขององค์การอนามัยโลกที่มีผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน และเสียชีวิตในประเทศแกมเบียอย่างน้อย 70 ราย ซึ่งระบุว่า เป็นเกิดจากยาน้ำเชื่อมที่ผลิตโดยบริษัทในประเทศอินเดีย

ทางด้านของกระทรวงสาธารณสุขประเทศแกมเบีย ยังคงมีหลักฐานไม่มากพอที่จะยืนยันว่า การเสียชีวิตของเด็กหลายรายในประเทศนั้น มีสาเหตุที่เกิดจากการรับประทานยาน้ำเชื่อมที่ปนเปื้อน ในขณะที่ครอบครัวของเด็กผู้เสียชีวิต ปฏิเสธที่จะรับเงินชดเชยราว 20,000 ดอลลาร์ จากรัฐบาลแกมเบีย โดยระบุว่า เงินช่วยเหลือดังกล่าว ถือเป็นการดูถูกผู้เสียชีวิต และต้องการให้มีการสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิตอย่างชัดเจน

ข่าวที่เกี่ยวข้องเตือน พบยาแก้ไอเด็กปนเปื้อน มีรายงานเสียชีวิตแล้ว 165 ราย ใน 2 ประเทศ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง