คัดลอก URL แล้ว
ฝุ่น PM 2.5 วันนี้ ต้องเฝ้าระวังต่อ

ฝุ่น PM 2.5 วันนี้ ต้องเฝ้าระวังต่อ

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ (28 ม.ค.) เมื่อเวลา 08.00 น. ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ยังคงอยู่ในระดับที่ต้องเฝ้าระวังหลายพื้นที่ แม้ว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น หลังจากสภาพอากาศเปิดมากขึ้น กระแสลมแรงขึ้น แต่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางบางส่วน ยังคงมีระดับที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อกระแสลมเริ่มอ่อนลง

สำหรับพื้นที่ ที่มีปริมาณฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยรายงานของศูนย์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า ที่จุดตรวจวัด รพ.สต.วะครึโคะ จ. ตาก มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศ วัดได้ 196 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ณ 08.00 น. ที่ผ่านมา

ส่วนจุดที่พบฝุ่น PM 2.5 สูงเกิน 100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ก็มีจำนวนลดลงเหลือเพียง 10 จุดเท่านั้น จากเมื่อวานที่พบจำนวน 17 จุด

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันที่ 31 ม.ค. คาดว่า ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ก็จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง หลังกระแสลมอ่อนลง การระบายอากาศทำได้น้อยลง

PM 2.5 ยังมีเกินค่ามาตรฐานในหลายจังหวัด

ในขณะที่ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 28 มกราคม 2568 ณ 07:00 น โดยค่าเฉลี่ยฝุ่น PM 2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมงพบว่า

ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ พบเกินค่ามาตรฐานใน จ.นครปฐม กรุงเทพฯ จ.แม่ฮ่องสอน จ.สุโขทัย จ.เพชรบุรี จ.ระยอง และ จ. ตราด

สำหรับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในรายภาคนั้น

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ สภาพอากาศดีขึ้น

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 26 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ลดลงจากเมื่อวานนี้

โดย 12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร คือ

  1. เขตภาษีเจริญ 35 มคก./ลบ.ม.
  2. เขตธนบุรี 34 มคก./ลบ.ม.
  3. เขตหลักสี่ 32.7 มคก./ลบ.ม.
  4. เขตพระโขนง 32.2 มคก./ลบ.ม.
  5. เขตประเวศ 31.8 มคก./ลบ.ม.
  6. เขตบางรัก 30.8 มคก./ลบ.ม.
  7. เขตบางกอกน้อย 30.7 มคก./ลบ.ม.
  8. เขตหนองแขม 30.7 มคก./ลบ.ม.
  9. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 30 มคก./ลบ.ม.
  10. เขตคลองสามวา 29.9 มคก./ลบ.ม.
  11. เขตราษฎร์บูรณะ 29.5 มคก./ลบ.ม.
  12. เขตพญาไท 29.3 มคก./ลบ.ม.

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1รพ.สต.วะครึโคะ196
2รพ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด151
3รพ.สมเด็จพระยุพราชเชียงของ อ.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย148
4จุดคัดกรองโรคระบบทางเดินหายใจ รพ.ผาขาว อ.ผาขาว จังหวัดเลย144
5บ้านดอยสันเกี๋ยง ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่143
6รพ.สต.ท่าไม้ ต.ท่าไม้ อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร133
7รพ.สต.ปากคลองลาน ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร132
8รพ.สต.แม่ลาหลวง ต.แม่ลาหลวง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน132
9หน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.ภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย111
10โรงพยาบาลร้องกวาง ต.ร้องเข็ม อ.ร้องกวาง จ.แพร่106

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความร้อนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกัมพูชา

สำหรับรายงานจุดความร้อน ของ GISTDA พบว่า เมื่อวานที่ผ่านมา แนวโน้มจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในประเทศไทยและนอกประเทศ โดยพบจุดความร้อนในภูมิภาคยังคงเพิ่มขึ้นจาก 4,075 จุด เป็น 4,993 จุด โดยมีรายละเอียดดังนี้

ซึ่งในประเทศไทยรายงานจุดความร้อนพบยังคงมีจุดที่กระจุกตัวค่อนข้างหนาแน่นอยู่ในพื้นที่ จังหว้ดตาก ส่วนในพื้นที่ภาคอื่น ๆ นั้น จะกระจายกันไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เพื่อการนำเสนอเนื้อหาที่ดี รวมถึงการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากคุณใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆนั้น แสดงว่าคุณยอมรับนโยบายคุกกี้และนโยบายส่วนบุคคลของเรา