นางปราณี สุทธศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ แถลงประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจ ปี 2568 ระบุว่า เศรษฐกิจไทย ปี 2568 จะเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น และความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะแนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยคาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปี 2568 จะขยายตัว 2.9% สอดคล้องกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจประเมินไว้ มาจากปัจจัยสมมติฐาน
- อุปสงค์ภายในประเทศ แรงขับเคลื่อนจากนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดการณ์ว่า ปี 2568 จะมีนักนักเที่ยวประมาณ 39.5 ล้านคน
- การส่งออกสินค้าครึ่งปีแรก ปี 2568 ขยายตัวขึ้น 2.7% เนื่องจากเอกชนเร่งการส่งออกก่อนที่ ทรัมป์ จะเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
- การลงทุนเอกชน ขยายตัว 2.2%
- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล เช่น โครงการเงินโอน 10,000 บาท เฟส2 และเฟส3 รวมถึงมาตรการลดหย่อนภาษี “Easy E-Receipt“ ระหว่างวันที่ 15 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งจะเป็นปัจจัยด้านบวกเศรษฐกิจไทยในปี 2568
นอกจากนั้นยังคาดว่า ในปี 2568 อุตสาหกรรมรถยนต์ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเฉพาะและรายได้กลุ่มเปราะบางที่ฟื้นตัวช้า อาจจะส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศลดลง ทั้งยอดขายรถยนต์นั่ง ยอดขายรถกระบะ
นอกจากนั้น นางปราณี ระบุว่า มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ อาจทำให้การทะลักของสินค้าจีนเข้ามาในไทย (China flooding) มากขึ้น ซึ่งสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมที่เดิมข้าอยู่แล้ว
คาดครึ่งปี 68 ต่างชาติตอบโต้ “ทรัมป์ 2.0” ดุเดือด
นางปราณี ยังระบุว่า แม้ว่าจะยังสามารถขยายตัวได้ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ แต่การฟื้นตัวของแต่ละภาคส่วนแตกต่างกันมากขึ้น คาดว่ามาจากปัจจัยความไม่แน่นอนในครึ่งปีหลัง ปี 2568 เฉพาะผลกระทบจากนโยบายกำแพงภาษีนำเข้า หรือ ที่เรียกว่า “ทรัมป์ 2.0” ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ทรัมป์ใช้เจรจาต่อรองกับทุกประเทศ อีกทั้งจะส่งผลให้นานชาติตอบโต้สหรัฐอย่างดุเดือด
สำหรับผลกระทบนโยบายบายเศรษฐกิจของรัฐบาล “ทรัมป์” มีดังนี้
นโยบายของรัฐบาล Trump
- นโยบายด้านภาษี เช่น ต่ออายุการลดภาษีและลดภาษีนิติบุคคล
- นโยบายการค้า เช่น เก็บภาษีนำเข้ากับจีน (60%) และประเทศอื่นๆ (10%)
- นโยบายด้านพลังงาน เช่น สนับสนุนการขุดเจาะน้ำมัน
- นโยบายอื่นๆ เช่น นโยบายกีดกันผู้อพยพ
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
- ความไม่แน่นอนสูงขึ้นและตลาดการเงินโลกผันผวนมากขึ้น 0%)
- เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจจีน และปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้ม ชะลอลง อาจมีการตอบโต้ทางการค้า
- อัตราเงินเฟ้อโลกและสหรัฐฯ มีแนวโน้มสูงขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ มีแนวโน้ม High for longer ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มแข็งขึ้น
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
- ช่องทางการค้า (ไทยส่งออกไปจีนได้น้อยลง / สินค้าไทยต้องแข่งกับจีนมากขึ้น (China flooding) / ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ แทนจีน)
- ช่องทางการลงทุน (อาจมีการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนมาไทย / การลงทุนอาจชะลอลงจากความไม่ แน่นอนของเศรษฐกิจโลก)
- ช่องทางความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีน (เศรษฐกิจจีนชะลอกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวไทย
คาดเงินเฟ้อ 68 ยืนกรอบล่าง 1.1% – ชี้ สูงไป กระทบ ปชช.
ส่วนเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2568 คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมายโดยทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงขอบล่าง ที่ 1.1% ซึ่งนายปิติ ดิษยทัต รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า การวางกรอบอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันถือว่าเหมาะสมแล้ว เพราะที่ผ่านเงินเฟ้อทั่วโลกอยู่ระดับ 8% ซึ่งมาแบงก์ชาติก็สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ดี พร้อมให้เหตุผลประกอบว่า หากเงินเฟ้อสูงเกินไปจะส่งผลกระทบกับประชาชนโดยตรง เนื่องจากราคาสินค้า และค่าครองชีพจะปรับสูงขึ้นด้วย และเมื่อเงินเฟ้อลงราคาสินค้าไม่ได้ลดลงตาม
กนง. รอดูนโยบาย “ทรัมป์ 2.0” ก่อนปรับดอกเบี้ย 68
ด้านนายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ระบุว่า ความเห็นการประชุมครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 กนง. มีมติ 7 ต่อ 0 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ต่อปี โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับศักยภาพ เงินเฟ้อที่โน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน ในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้น
ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปี 2568 นายสักกะภพ คาดว่า คณะกรรมการ กนง. จะประเมินความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าจากนโยบายทรัมป์ 2.0 ก่อน