นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ถือฤกษ์ 9 โมง วันที่ 9 แถลง 9 ข้อต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล ระบุว่า การแถลงข่าววันนี้หลายฝ่ายแสดงความกังวล ยืนยันว่าไม่ได้เป็นข้อคิดเห็นและไม่ได้เป็นการชี้นำสังคม แต่เป็นการแถลงโดยข้อเท็จจริง และกฎหมาย ซึ่งค่อนข้างละเอียด
นายพิธา อธิบายว่า 9 ข้อต่อสู้ กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คดียุบพรรคก้าวไกล จากกรณีการรณรงค์หาเสียงแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ช่วงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ซึ่งจะเน้นความสำคัญใน 3 ข้อต่อสู้ คือ ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 6
นายพิธา ระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีต้้งแต่แรก อีกทั้งกระบวนการยื่นคำร้องของ กกต. “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” เนื่องจากไม่เปิดโอกาสให้พรรคก้าวไกล โต้แย้ง แสดงพยานหลักฐาน ตามมาตรา 92 และ 93
นอกจากนี้คำวินิจฉัยเมื่อ 31 ม.ค. 67 ไม่ผูกพันการวินิจฉัยคดีดังกล่าว ซึ่ง กกต. ใช้เป็นหลักฐานเดียวประกอบการยุบพรรคก้าวไกล จึงเรียกร้องให้พิจารณาใหม่ทั้งหมด
ส่วนสุดท้ายโทษยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้าย เมื่อจำเป็น ฉุกเฉิน ฉับพลัน และไม่มีวิธีแก้ไขอื่น ซึ่งโทษยุบพรรคมีได้ แต่ต้องมีไว้ปกป้องประชาธิปไตย และที่ผ่านมาพรรคก้าวไกล ก็มีการถอดการรณรงค์หาเสียงออกจากเว็บไซต์ตามคำตัดเตือนของ ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
ส่วนกรณีหากยุบพรรคก้าวไกล จะส่งผลให้สมาชิก 44 รายชื่อที่ยื่นยุบพรรคจะหมดความเป็นสมาชิกภาพนั้น นายพิธา มั่นใจว่า จะสามารถต่อสู้คดีสำเร็จและสมาชิก 44 รายชื่อ ที่จะยังอยู่ครบ
ส่วนไทม์ไลน์หลังจากนี้ ไม่สามารถกำหนดได้ ต้องรอให้ศาล รธน. ตัดสินก่อน และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรตามมาบ้าง เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในช่วงเปราะบางทั้งการเมือง และสภาพเศรษฐกิจ
นายพิธา ระบุว่า หากมีการยุบพรรคก้าวไกลครั้งนี้จะมีผลให้กรรมกราบริหารพรรค ทั้ง 3 ชุด รวมถึงตนจะถือตัดสิทธิ์ไปด้วย เบื้องต้น เตรียมผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 10 คน หากมีการยุบพรรคก้าวไกลครั้งนี้จะมีผลให้ก
ส่วนกระแสข่าวหากพรรคก้าวไกลถูกยุบจะมี สส. งูเห่าหรือไม่ นายพิธา ระบุว่า เชื่อมั่นว่าสมาชิกพรรคยังเหนียวแน่นเหมือนเดิม แต่ยอมรับว่ามีบางพรรคพยายามจะเสนอเงื่อนไขให้สมาชิกพรรค ซึ่งอาจจะทำให้ สส.ไขว้แขว ไปได้ ซึ่งตนได้เห็นคลิปมาบ้างแล้ว และมั่นใจว่า ความนิยมของพรรคจะไม่ลดลง
สำหรับ 9 ข้อต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล ประกอบด้วย 3 หมวดหมู่ คือ ด้านกระบวนการ ข้อเท็จจริง สัดส่วนโทษ ดังนี้
เขตอำนาจและกระบวนการ (Jurisdiction & Process)
- ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้
- กระบวนการยื่นคำร้องของ กกต. “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย”
ข้อเท็จจริง (Facts)
- คำวินิจฉัยเมื่อ 31 ม.ค. 67 ไม่ผูกพันการวินิจฉัยคดีนี้
- การกระทำที่ถูกกล่าวหา ไม่ล้มล้าง ไม่อาจเป็นปฏิปักษ์
- การกระทำตามคำวินิจฉัยเมื่อ 31 ม.ค. 67 ไม่ได้เป็นมติพรรด
สัดส่วนโทษ (Penalty)
- โทษยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้าย เมื่อจำเป็น ฉุกเฉิน ฉับพลัน และไม่มีวิธีแก้ไขอื่น
- ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจตัดสิทธิ กก.บห.
- จำนวนปีในการตัดสิทธิทางการเมือง ต้องได้สัดส่วนกับความผิด
- การพิจารณาโทษ ต้องสอดคล้อง กับชุดกก.บท.ในช่วงที่ถูกกล่าวหา