คัดลอก URL แล้ว
มูลนิธิคุณ-ก้อง สหรัถ ชวนฟังเสวนา “ความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ” กับบทบาทตุลาการ

มูลนิธิคุณ-ก้อง สหรัถ ชวนฟังเสวนา “ความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ” กับบทบาทตุลาการ

มูลนิธิคุณกับก้อง สหรัถ ร่วมกิจกรรมทางวิชาการเรื่อง “ความเป็นธรรมทางภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับบทบาทของตุลาการ”

วันที่ 22 เมษายน 2567 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มูลนิธิคุณร่วมมือกับสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดาราศิลปินรักษ์โลก คุณก้อง สหรัถ สังคปรีชา เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางวิชาการเรื่อง “ความเป็นธรรมทางภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับบทบาทของตุลาการ” นายเกรียงไกร จรรยามั่น เลขาธิการสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และนาย Renaud Meyer ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย ร่วมเปิดงาน ตามด้วยการบรรยายจาก นาย Simone Boneschi ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักนิติธรรม ความมั่นคง และสิทธิมนุษยชน จาก UNDP และดร. Georgina LLOYD ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จาก UNEP


มูลนิธิคุณรับช่วงในการอภิปราย เรื่อง “ศาลยุติธรรมกับบทบาทผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมตอน: การแยกขยะกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : บทบาทและพฤติกรรมประชาชนในการจัดการขยะและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยมีพี่ก้อง สหรัถ สังคปรีชา และผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณปรเมศร์ รักการงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานด้านความยั่งยืนในภาคการเงินการธนาคาร และดร. คมวัชร เอี้ยงอ่อง ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ปิดท้ายด้วยการบรรยายเรื่อง “ความสำคัญของร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม รองประธานคนที่ 1 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด

คุณปรางค์ทิพย์ อนันตวิภาต หรือคุณจิ๋ว ประธานมูลนิธิคุณ กล่าวว่าที่ผ่านมาเวลาทำกิจกรรมจะเน้นทำกับเด็ก ๆ และจากการที่มูลนิธิคุณทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างต่อเนื่อง มีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ผ่านดาราศิลปิน และสื่อมวลชน ทำให้มีพันธมิตรใหม่ๆ หลายหน่วยงานเข้าร่วมด้วย ดังเช่นในวันนี้ที่มูลนิธิคุณได้รับโอกาสที่สำคัญมาก ๆ ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งทุกวันที่ 21 เมษายนของทุกปีจะเป็นวันศาลยุติธรรม และบังเอิญมากที่วันที่ 21 ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ การจัดกิจกรรมปีนี้เลยต้องเลื่อนมาจัดในวันที่ 22 เมษายน ซึ่งตรงกับวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day พอดี กิจกรรมที่มูลนิธิคุณทำอยู่จึงตรงกับกิจกรรมของศาลปีนี้พอดีเลย มูลนิธิคุณต้องขอขอบคุณ ท่านผู้พิพากษา ฐิดารัตน์ นรินทรางกูร ณ อยุธยา ที่เห็นคุณค่าในสิ่งที่มูลนิธิคุณพยายามทำเรื่องรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด

ก้อง สหรัถ สังคปรีชา กล่าวว่าที่ได้มาร่วมช่วยงานนี้เพราะเห็นคุณจิ๋ว ปรางค์ทิพย์ ของมูลนิธิคุณตั้งใจและมุ่งมั่นช่วยรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมมานานหลายปี และก้องเองก็เห็นด้วยว่าการรณรงค์เรื่องการแยกขยะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ง่ายมาก ๆ แต่ผู้ใหญ่หลายคนไม่ใส่ใจและไม่คิดว่าจำเป็นต้องทำ ผมเห็นคนใกล้ตัวจับโยนทุกสิ่งทุกอย่างใส่ถังขยะเดียวกัน ไม่ว่าจะขยะเปียกพวกเศษอาหาร ก็เอาพวกขยะอันตรายและขยะสะอาดพวกกระดาษหรือขวดน้ำเปล่าจับโยนทิ้งไปรวมกับขยะเศษอาหารหมด ของที่สะอาดก็กลายเป็นสกปรก ผมเคยคิดกับตัวเองว่าแต่ก่อนเราก็ทำแบบนี้ แต่ผมก็จำไม่ได้ว่าอะไรที่ทำให้เราเริ่มแยกขยะ และเริ่มแยกขยะตั้งแต่เมื่อไหร่ผมนึกไม่ออก แต่ก็เริ่มมานานแล้ว ถ้างานในวันนี้จะทำให้มีคนมาตั้งใจเริ่มแยกขยะและถือว่าเป็นวันเริ่มต้นของการทำสิ่งดี ๆ เล็ก ๆ เพื่อสิ่งแวดล้อมของเรา ก็จะดีมากเลยครับ เพราะพอดีงานวันนี้เป็นวันคุ้มครองโลก หรือวัน Earth Day ทุกท่านในงานวันนี้ก็จะได้มีจุดเริ่มในใจเลยว่าวันนี้นี่แหละที่ทุกคนมาช่วยคุ้มครองโลกกัน เริ่มจากง่าย ๆ ใกล้ตัวกันก่อนเลยครับ มาแยกขยะหรือประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ พวกสิ่งยาก ๆ ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าไปซีเรียส เพราะการช่วยโลกควรทำอะไรก็ได้ที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเรา เริ่มต้นแค่นี้ก่อนได้ครับ

อย่างวันนี้ผมขอบคุณทางจุฬาและมูลนิธิคุณมาก ๆ ครับที่ช่วยออกแบบ Hero ของผู้พิทักษ์โลกให้ผมเป็น Green man ซึ่งความหมายคือ ผมเป็นคนที่ช่วยเซฟโลกจากการนำขยะเศษอาหารทิ้งในถังขยะสีเขียว เหมือนทางคุณจิ๋วเค้าจะรู้ว่าที่บ้านผม เราจะช่วยกันแยกขยะเศษอาหาร ไม่เอาไปรวมกับพวกกระดาษหรือพลาสติก เรื่องง่าย ๆ แค่นี้เองครับ พวกเราก็จะเป็น Hero กันได้

ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าตนเป็นตัวแทนของขยะสีเหลือง หรือที่เรียกว่าขยะรีไซเคิล โดยส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติก และก็เข้ากับคอนเซ็ปต์ในการทำของเก่ามาใช้ใหม่ สำหรับการแยกขยะเป็นการลดโลกร้อนอย่างไร ทั้งนี้การแยกขยะเบื้องต้นจะช่วยลดการใช้ทรัพยากร และสามารถนำมาเป็นทรัพยากรทดแทนได้ โดยจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นปัญหาก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนนั่นเอง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง