KEY :
- สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือยังคงวิกฤติ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ร่วมถึงด้านตะวันตกของประเทศไทยด้วย
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มลดลงวันที่ 31 มี.ค.-6 เม.ย. 2567 และยังคงต้องเฝ้าระวังในบางพื้นที่
- จุดความร้อนในประเทศเมียนมาร์พุ่งสูงขึ้นเกิน 5 พันจุดอีกครั้ง
…
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือยังคงวิกฤติอย่างต่อเนื่อง ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าสถานการณ์ในภาคอื่น ๆ จะเริ่มลดลงบ้างแล้วก็ตาม
โดยรายงานของศูนย์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคเหนือ ต่อเนื่องลงมาทางด้านตะวันตกของประเทศไทย มีแนวโน้มค่าฝุ่น PM 2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้น หากเทียบกับเมื่อวานที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน
ในขณะที่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เริ่มดีขึ้น มีพื้นที่ที่สภาพอากาศอยู่ในระดับสีเขียวเพิ่มมากขึ้น มีบางส่วนบริเวณตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีแนวโน้มมีฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับสีเหลืองและสีส้ม
ทางด้านของศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ได้รายงานผลการตรวจวัดประจำวันที่ 31 มี.ค. เวลา 07.00 น. ที่ผ่านมา โดยระบุว่า
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.น่าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.พะเยา จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.ตาก จ.กำแพงเพชร จ.กาญจนบุรี จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.กาฬสินธุ์ จ.อำนาจเจริญ จ.ยโสธร และ จ. อุบลราชธานี
- ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่
ตรวจวัดได้ 31.8 – 183.7 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 6 พื้นที่
ตรวจวัดได้ 22.1 – 50.8 มคก./ลบ.ม. - ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่
ตรวจวัดได้ 22.1 – 50.8 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี
ตรวจวัดได้ 11.8 – 30.0 มคก./ลบ.ม. - ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี
ตรวจวัดได้ 11.5 – 20.2 มคก./ลบ.ม. - กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 10.5 – 26.5 มคก./ลบ.ม.
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 09.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | วัดพระธาตุดอยกองมู ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน (กอ.รมน.) | 647 |
2 | รพ.สต.เมืองแปง จ.แม่ฮ่องสอน | 574 |
3 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก | 542 |
4 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน | 473 |
5 | ศาลากลางจ.แม่ฮ่องสอน ต.จองคำ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน | 462 |
6 | รพ.ปางมะผ้า ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน | 426 |
7 | บ้านหัวโท ม. 6 ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 415 |
8 | รพ.สต.บ้านไตรสภาวคาม ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 409 |
9 | รพ.สต.บ้านปางมะเยา ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 408 |
10 | รพ.สต.บ้านเมืองงาย ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 400 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค
สถานการณ์จุดความร้อนในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับที่สูง โดยรายงานจุดความร้อนจาก GISTDA ของเมื่อวานที่ผ่านมา (30 มี.ค.) พบจุดความร้อนในภูมิภาคทั้งหมด 8,399 จุด เพิ่มขึ้นจากวันที่ 29 มี.ค. เกือบ 1 พันจุด โดยเฉพาะในประเทศเมียนมาร์ที่จำนวนจุดความร้อนพุ่งสูงขึ้นมากกว่า 1 พันจุดด้วยกัน
จำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้
- เมียนมาร์ 5,184 จุด
- ไทย 1,476 จุด
- ลาว 1,057 จุด
- เวียดนาม 310 จุด
- กัมพูชา 274 จุด
- มาเลเซีย 98 จุด