ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คดีทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 4-6 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคดีทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ พบว่า
- ร้อยละ 59.39 ระบุว่า คนในสังคมส่วนใหญ่ อยากรวย อยากมี อยากได้
- ร้อยละ 31.53 ระบุว่า คนในสังคมส่วนใหญ่ นับถือคนรวย คนมีอำนาจ คนมีอิทธิพล
- ร้อยละ 23.05 ระบุว่า ช่องโหว่ของกฎหมาย
- ร้อยละ 20.23 ระบุว่า ค่าครองชีพสูง เงินเดือนน้อย
- ร้อยละ 17.63 ระบุว่า การได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
- ร้อยละ 17.40 ระบุว่า ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้องและเครือญาติ ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์
- ร้อยละ 17.25 ระบุว่า การบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ไม่เด็ดขาด และล่าช้า
- ร้อยละ 16.18 ระบุว่า ระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง
- ร้อยละ 8.93 ระบุว่า การได้รับผลประโยชน์มีความคุ้มค่ามากกว่าบทลงโทษทางด้านกฎหมาย
- ร้อยละ 7.25 ระบุว่า การแข่งขันทางการเมืองอย่างเข้มข้นเพื่อช่วงชิงตำแหน่งและผลประโยชน์ และกฎหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
- ร้อยละ 7.18 ระบุว่า คดีทุจริตจำนวนมาก สุดท้ายคนผิดก็ลอยนวล
- ร้อยละ 6.95 ระบุว่า วัฒนธรรมความเกรงใจ
- ร้อยละ 6.41 ระบุว่า ระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 2.06 ระบุว่า ประชาชนเบื่อหน่ายเพิกเฉยต่อการต่อต้านการทุจริต
- ร้อยละ 2.67 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ในหน่วยงานต่าง ๆ พบว่า
- สำนักงานอัยการสูงสุด ตัวอย่าง ร้อยละ 33.36 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น
รองลงมา ร้อยละ 28.17 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 16.79 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 14.73 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 5.50 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ - กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กระทรวงยุติธรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 34.74 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 30.15 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 15.57 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 12.52 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 5.65 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตัวอย่าง ร้อยละ 34.05 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 28.47 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 18.63 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 11.07 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 6.02 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กระทรวงยุติธรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 34.50 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 24.43 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 20.69 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 10.00 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 8.47 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
- กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตัวอย่าง ร้อยละ 39.08 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 22.14 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 22.06 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 8.78 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 6.49 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
- ตำรวจหน่วยอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ บก.ปปป.) ตัวอย่าง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.77 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 19.54 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 4.05 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 3.13 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ