วันนี้ (1 ก.พ.67) นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “สมชาย แสวงการ” ได้แสดงความคิดเห็นหลังมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คดี ม.112 ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และ พรรคก้าวไกล โดยระบุว่า สถานีต่อไปของพิธาและก้าวไกล
ยื่นกกตยุบพรรค ยื่นปปชเอาผิดจริยธรรม ตัดสิทธิการเมือง
หลังจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ31มค2567 วินิจฉัยชี้ชัดเจนว่า นายพิธาและพรรคก้าวไกลมีพฤติการณ์และเจตนายกเลิกมาตรา112 และอื่นๆ ถือเป็นกระทำการในการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สั่งการให้ยกเลิกการกระทำทันทีและและทั้งหมดในอนาคตต่อไปด้วยแล้ว
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นผู้ร้องและผู้เกี่ยวข้องต้องดำเนินคดีความทางกฎหมายต่อไปทันที อย่างน้อยทั้ง 2 ช่องทาง ดังนี้
- ช่องทางที่1)ผู้ร้องดำเนินการยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.เพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคต่อไป ตามพรบประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 92หรือ นายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นความปรากฎเองแล้ว เสนอต่อกกต เพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคได้ทันที
- ช่องทางที่2) ผู้ร้องดำเนินการยื่นเรื่องต่อปปชกล่าวหา 44 สส ที่ลงชื่อเสนอร่างแก้ไขมาตรา112 ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง เพื่อขอให้ปปช มีมติชี้มูลความผิด ส่งศาลฎีกานักการเมือง เพื่อพิพากษาว่า ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามพรบ ประกอบรัฐธรรมนูญ ปปช มาตรา 87 ประกอบมาตรา81 ที่ระบุว่า เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีความเห็นว่า ผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง………… ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย……………
มาตรา 81ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองประทับฟ้อง ตามมาตรา 77 ให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคําพิพากษา เว้นแต่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีคําพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ให้ผู้ต้องคําพิพากษานั้น พ้นจากตําแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น และจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกินสิบปีด้วยหรือไม่ก็ได้
ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าในกรณีใด ผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือ สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และไม่มีสิทธิดํารงตําแหน่งทางการเมืองใด ๆ