คัดลอก URL แล้ว
“ไม่โกรธนายกฯ”ถ้ายกเลิกดิจิทัลวอลเล็ต

“ไม่โกรธนายกฯ”ถ้ายกเลิกดิจิทัลวอลเล็ต

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง“วิกฤติเศรษฐกิจกับการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต”  ได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-24 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศรวมทั้สิ้น จำนวน 1,310 ตัวอย่าง

1.จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้

ร้อยละ 63.51ระบุว่าเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่ต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน

รองลงมาร้อยละ 20.15 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่ต้องหาทางแก้ไขแต่ไม่เร่งด่วน

ร้อยละ10.08 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่ไม่น่าวิตกกังวลใด ๆ

ร้อยละ 5.65ระบุว่า ไม่ได้เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ

ร้อยละ 0.61ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

2.สำหรับการเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจของประชาชนในขณะนี้

ร้อยละ 36.72ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเร่งด่วน

รองลงมาร้อยละ 31.91ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่สามารถรับมือได้ด้วยตนเอง

ร้อยละ 20.45ระบุว่า เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในระดับที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ไม่เร่งด่วน

ร้อยละ 10.92 ระบุว่า ไม่ได้เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจใด ๆ

3.ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

ร้อยละ 34.66 ระบุว่าควรหยุดการดำเนินการในนโยบายนี้ได้แล้ว

ร้อยละ 33.66ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อไปในปีนี้ตามที่ได้ประกาศไว้

ร้อยละ 18.55 ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อไปในปีนี้แต่แจกเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางทางเศรษฐกิจ

ร้อยละ 5.88ระบุว่า เลื่อนการดำเนินนโยบายไปในปี2568

ร้อยละ 4.58ระบุว่า เลื่อนการดำเนินนโยบายไปในปี2568 แต่แจกเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางทางเศรษฐกิจ

ร้อยละ 2.67ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

4.ความรู้สึกของประชาชนหากนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ตัดสินใจยกเลิกนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

ร้อยละ 68.85 ระบุว่า ไม่โกรธเลย

รองลงมา ร้อยละ 12.37ระบุว่าค่อนข้างโกรธ

ร้อยละ 9.39 ระบุว่า โกรธมาก

ร้อยละ 8.85ระบุว่าไม่ค่อยโกรธและ

ร้อยละ 0.54ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ภูมิลำเนากลุ่มตัวอย่าง

ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ  /ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง/ร้อยละ18.01 มีภูมิลำเนำอยู่ภาคเหนือ /ร้อยละ33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก

เพศ,อายุ, ศาสนา กลุ่มตัวอย่าง

ตัวอย่างร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

อายุกลุ่มตัวอย่าง : ร้อยละ12.90 อายุ18-25 ปี / ร้อยละ17.79 อายุ26-35 ปี / ร้อยละ 18.93 อายุ36-45 ปี / ร้อยละ26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ23.74 อายุ60 ปีขึ้นไป

ศาสนา : ตัวอย่างร้อยละ 95.95 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ3.59 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ0.46 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.18 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.83 สมรส และร้อยละ 1.99 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

การศึกษากลุ่มตัวอย่าง

ร้อยละ 24.50 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่ำ/ ร้อยละ 36.18 จบการศึกษามัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า/ ร้อยละ9.31จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า/ร้อยละ 25.73 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า/ และร้อยละ4.28 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

การประกอบอาชีพกลุ่มตัวอย่าง

ตัวอย่างร้อยละ8.47 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ17.02 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน

ร้อยละ21.76ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ

ร้อยละ 11.99 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง

ร้อยละ 15.11 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน

ร้อยละ 19.85 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ5.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

รายได้กลุ่มตัวอย่าง

ร้อยละ 23.36 ไม่มีรายได้ ,ร้อยละ 19.24 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท, ร้อยละ 29.31 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน10,001-20,000 บาท ,ร้อยละ 9.39 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท, ร้อยละ 3.13 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ,ร้อยละ 4.43 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.14ไม่ระบุรายได้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง