คัดลอก URL แล้ว
หาแนวทาง ‘ปิดช่องโหว่’ เหตุโรงงานดอกไม้ไฟระเบิด

หาแนวทาง ‘ปิดช่องโหว่’ เหตุโรงงานดอกไม้ไฟระเบิด

เหตุระเบิดที่โรงงาน หรือถ้าจะเรียกให้ถูกต้องจริงๆ ก็ต้องบอกว่าสถานประกอบการพลุดอกไม้ไฟ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอีกครั้งที่แสดงให้เห็นถึงการแยกส่วนดูแลของหน่วยงานต่างๆ จนกลายเป็นช่องโหว่ให้เกิดโศกนาฏกรรม ที่รองนายกรัฐมนตรีสมศักดิ์ เทพสุทิน ก็ออกปากเองว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า เกิดขึ้นทุกปี และวันนี้ก็จะประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการแก้ปัญหา

โรงงานที่เกิดเหตุแห่งนี้ ถ้าดูตามใบอนุญาต ก็ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมายจริงๆ ค่ะ ที่นี่ประกอบกิจการผลิตประทัดลูกบอลไล่นก คนงานประมาณ 30 คน ไม่มีเครื่องจักร นิยามจึงไม่เข้าข่ายการเป็นโรงงาน ที่ต้องมีคนงานเกิน 50 คน และใช้เครื่องจักรประกอบกิจการ ซึ่งจะต้องขออนุญาต และอยู่ภายใต้การตรวจสอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

และผู้ประกอบกิจการก็มีใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบการทำ หรือค้าดอกไม้เพลิง ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน อยู่ในอำนาจของกระทรวงมหาดไทย ขออนุญาตถูกต้องจากนายอำเภอ ซึ่งก็พิจารณาออกใบอนุญาตให้ทุกปี เพราะสถานที่ตั้ง อยู่ห่างไกลจากชุมชน และมีข้อมูลว่า มีการวนชื่อคนในครอบครัวมาขออนุญาตในแต่ละปี จึงยังประกอบกิจการได้ แม้จะเคยเกิดเหตุระเบิดจนมีคนเสียชีวิตเมื่อปลายปี 2565 ก็ตาม

ส่วนสารโพแทสเซียมคลอไรด์ ที่ใช้ทำพลุ ทำดอกไม้ไฟ ไม่ถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อวัตถุอันตราย แต่กระทรวงกลาโหมก็ออกมา ระบุว่า โรงงานแห่งนี้ ได้รับใบอนุญาตให้มียุทธภัณฑ์ “โพแทสเซียม คลอไรด์” ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ ปี 2530 จำนวน 3,000 กิโลกรัม ถูกต้องเช่นกัน โดย ใบอนุญาตกำลังจะหมดอายุเดือนกรกฎาคมปีนี้

คำถามคือ เมื่อผู้ประกอบการ ทำทุกอย่างถูกต้อง และหน่วยงานแต่ละหน่วยงานที่มีหน้าที่ ก็บอกว่าทำตามอำนาจที่ตัวเองมีอย่างถูกต้องแล้ว แต่ยังมีเหตุการณ์แบบนี้อีก ความปลอดภัยจะอยู่ตรงไหน เพราะแค่ที่จังหวัดสุพรรณ มีสถานประกอบการในลักษณะนี้อยู่อีก 7-8 แห่ง ไม่นับว่าจังหวัดอื่นๆ อีก แล้วจะแก้ปัญหายังไง รัฐมนตรีมหาดไทยเอง ก็ตั้งคำถามกับเรื่องนี้

ประกอบการแห่งนี้ ทำงานกับวัตถุอันตราย วัตถุไวไฟ แต่ไม่เข้าข่ายโรงงาน และแรงงานที่ทำงานก็ไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำ บางคนว่างจากทำนา ทำไร่ ก็ไปทำประทัดเพื่อหารายได้เสริม ลักษณะงานเป็นแบบจ้างเหมารายชิ้น นอกจากจะไม่เข้ากับนิยามลูกจ้างของกรมแรงงาน และเรื่องการชดเชยก็ไม่เท่ากับแรงงานในระบบแล้ว และจริงๆ ถึงจะไม่อยู่ในระบบ แต่เรามี พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ที่กำหนดมาตราฐานความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย แต่ก็ไม่ชัดเจนเหมือนกันว่าที่ผ่านมา มีการตรวจสอบเข้มงวดแค่ไหน ทำได้มากน้อยแค่ไหน มีการอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัย หรือวิธีปฏิบัติเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน มีหรือไม่ ทางเดียวที่จะทราบ ก็คือต้องสอบถามเอาจากคนที่รอดชีวิต ซึ่งนายจ้างที่เป็นเจ้าของโรงงานอีกคนหนึ่ง ที่ไม่ได้อยู่ที่โรงงานในช่วงเกิดเหตุ กับคนงานที่รอดชีวิตเพราะออกจากโรงงานก่อนระเบิด

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ ผบ.ตร.ก็ให้ตำรวจทั่วประเทศ ไปตรวจสอบสถานประกอบการในลักษณะเดียวกัน แต่จะปิดช่องโหว่ได้แค่ไหน มีแนวทางจาก น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ว่า อยู่ระหว่างประสานหน่วยงานที่กำกับดูแล หากมีความจำเป็น อาจต้องกำหนดให้การประกอบกิจการประเภทนี้เข้าข่ายเป็นโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรมด้วย เพื่อกระทรวงจะได้เข้าไปมีส่วนกำหนดเงื่อนไขการประกอบกิจการ กำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม ทั้งด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความรอบคอบรัดกุม เพื่อป้องกันการเกิดเหตุในลักษณะนี้อีก การไม่ทำตามมาตรฐานความปลอดภัย ก็เป็นอีกเรื่องที่ดูจะเป็นช่องโหว่ สถาน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง