สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในประเทศไทยกลับมามีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น โดยศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2566 ณ 07:00 น พบว่า
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศไทยเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมง พบเกินค่ามาตรฐานใน จ.ปทุมธานี กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี จ.อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.หนองคาย จ.อุดรธานี จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.ขอนแก่น จ.กาฬสินธุ์ จ.อำนาจเจริญ จ.ยโสธร และ จ. อุบลราชธานี
- ภาคเหนือ
เกินค่ามาตรฐาน 6 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 7.4 – 59.0 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 20.6 – 89.0 มคก./ลบ.ม. - ภาคกลางและตะวันตก
เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 30.2 – 67.0 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออก
เกินค่ามาตรฐาน 6 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 15.6 – 50.6 มคก./ลบ.ม. - ภาคใต้
ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 9.3 – 19.2 มคก./ลบ.ม. - กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 27.3 – 65.9 มคก./ลบ.ม.
ในขณะศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รายงานข้อมูลการตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ณ เวลา 07.00 น. พบว่า ในหลายพื้นที่ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมถึงบางจุดในพื้นที่ภาคใต้ มีปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายจุดด้วยกัน รวมถึงในบางจุดมีรายงานผลการตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ณ เวลา 07.00 น. มีปริมาณฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อีกหลายจุดด้วยกัน
กทม. ฝุ่นสีส้มเกือบทุกเข
สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล แนวโน้มค่าฝุ่น PM 2.5 ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯ มีค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับสีส้ม นอกจากนี้ยังคาดว่า ฝุ่น PM 2.5จะยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่องถึงวันที่ 15 ธ.ค. นี้
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | รพ.ห้วยคต ต.ห้วยคต อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี | 151 |
2 | ชุมชนสวนดอก ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ | 145 |
3 | อบต.ห้วยชัน ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี | 141 |
4 | รพ.สต.บ้านงิ้วเฒ่า ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย | 141 |
5 | วัดบ้านดอนศรีสะอาด ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 140 |
6 | รพ.เรณูนคร ต.โพนทอง อ.เรณูนคร จ.นครพนม | 135 |
7 | รพ.จังหาร ต.จังหาร อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด | 127 |
8 | รพ.สต.บึงกอก ต.บึงกอก อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก | 121 |
9 | รพ.สต.เนินปอ ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร | 121 |
10 | สสอ.บรรพตพิสัย ต.ท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ | 119 |
ไทยพบจุดความร้อน 172 จุด
ในขณะที่รายงานจุดความร้อนที่พบในภูมิภาค พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนจุดความร้อนสูงที่สุด คือ 116 จุด โดยพบในพื้นที่เกษตรจำนวน 71 จุด, เขตพื้นที่สปก. 15 จุด, ในพื้นที่ชุมชนและอื่น ๆ 14 จุด พื้นที่ป่าสงวน 12 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 3 จุด และพื้นที่ป่าอนุรักษ์จำนวน 1 จุด
ส่วนใหญ่พบกระจายอยู่ในพ้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ