คัดลอก URL แล้ว
ฤดูฝุ่น! PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่

ฤดูฝุ่น! PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในประเทศไทยกลับมามีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น โดยศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ณ 07:00 น พบว่า

ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศไทยเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมง พบเกินค่ามาตรฐานใน จ.นนทบุรี กรุงเทพฯ จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาคร จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.อุทัยธานี จ.อ่างทอง จ.หนองคาย จ.นครพนม และ จ. กาฬสินธุ์

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น คาดว่า ฝุ่น PM 2.5 จะอยู่ในระดับสีส้ม (เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ) ในหลายพืนที่ ต่อเนื่องจนถึงวันอังคารที่ 11 ธ.ค. ก่อนจะลดลงมาอยู่ในระดับสีเหลือง (ปานกลาง) ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. และจะพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์

นขณะศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รายงานข้อมูลการตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ณ เวลา 07.00 น. พบว่า ในหลายพื้นที่ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมถึงบางจุดในพื้นที่ภาคใต้ มีปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายจุดด้วยกัน รวมถึงในบางจุดมีรายงานผลการตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ณ เวลา 07.00 น. มีปริมาณฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อีกหลายจุดด้วยกัน

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 07.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว
ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
296
2รร.บ้านห้วยทรายขาว
ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
158
3รพ.ชุมพลบุรี
ต.ชุมพลบุรี อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
150
4ศอ. 3 รพ.ส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์
ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์
145
5ทต.ถอนสมอ
ต.ถอนสมอ อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
137
6สสอ.ฆ้องชัย
ต.ฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์
131
7รพ.จังหาร
ต.จังหาร อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด
121
8บริษัท ช้าฟเนอร์ อีเอ็มซี จำกัด (จุดตรวจที่ 2)
ต.บ้านกลาง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน
119
9รพ.สต.เนินปอ
ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร
108
10รพ.อากาศอำนวย
ต.อากาศ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
102
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ไทยพบจุดความร้อน 172 จุด

ในขณะที่รายงานจุดความร้อนที่พบในภูมิภาค พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนจุดความร้อนสูงที่สุด คือ 172 จุด โดยพบในพื้นที่เกษตรจำนวน 100 จุด, เขตพื้นที่สปก. 36 จุด, ในพื้นที่ชุมชนและอื่น ๆ 22 จุด พื้นที่ป่าสงวน 7 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 4 จุด และพื้นที่ป่าอนุรักษ์จำนวน 3 จุด

ซึ่งพบกระจายในพื้นในพื้นภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และมีเกาะกลุ่มกันในบริเวณรอยต่อจังหวัดกาฬสิทธุ์-ร้อยเอ็ด-มหาสารคาม