คัดลอก URL แล้ว
ส่องนโยบายแก้หนี้ ของรัฐบาลเศรษฐา

ส่องนโยบายแก้หนี้ ของรัฐบาลเศรษฐา

ปัญหาหนี้ครัวเรือน ถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทางรัฐบาลพยายามแก้ไข หาช่องทาง รวมถึงออกมาตรการต่าง ๆ มาช่วยเหลือลูกหนี้ ทั้งหนี้นอกระบบ หนี้การเกษตร หนี้ กยศ. และอื่น ๆ อีกมากมาย

ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้สภาพคล่องของครัวเรือนนั้นขาดสภาพคล่องทางการเงิน อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาพใหญ่ทางเศรษฐกิจภายในประเทศอีกด้วย กลายเป็นว่าลูกหนี้ต่าง ๆ นอกจากมีหนี้สิน เงินสดในมือก็ยังเหลือน้อย ไม่เพียงพอต่อค้าใช้จ่ายภายในครอบครัว

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาของทุกรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ทุกกลุ่มมาโดยตลอด ซึ่งในรัฐบาลของเศรษฐา ก็เช่นกัน ถึงแม้ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ที่ผ่านมาจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับโครงการเงินดิจิทัล ที่มีแหล่งที่มาของเงินทุนจากการออก พ.ร.บ.กู้เงิน หรือ เรียกภาษาชาวบ้าน คือ ‘กู้มาแจก’

ซึ่งล่าสุดทางรัฐบาลเศรษฐาได้มีการผลักดันนโยบาย พร้อมออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ในกลุ่มต่าง ๆ ให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้นของลูกหนี้ และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

มาตรการแก้หนี้ รัฐบาลเศรษฐา

ก่อนหน้านี้นายเศรษฐา ทวี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อยเห็นชอบแนวทางแก้ปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

ซึ่งจะคำนวณภาระหนี้ของลูกหนี้ที่ยังชำระไม่หมดให้กลับไปคำนวณเงินต้น และลูกหนี้ที่ชำระมากกว่า 150% สามารถหยุดจ่ายหนี้ได้ ว่านี่เป็นเรื่องนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยรวมของรัฐบาลนี้

ทั้งหนี้ กยศ. หนี้ครู หนี้นอกระบบ และเอสเอ็มอีที่ติดมาตรา 21 เป็นเรื่องที่ตนเองไม่อยากจะพูดเรื่องเดียว แต่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีแถลงข่าวใหญ่ถึงมาตรการแก้ไขหนี้ทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่ กยศ. อย่างเดียว แต่จะรวมทุกภาคส่วนเท่าที่จะสามารถทำได้

มาตรการแก้หนี้ รัฐบาลเศรษฐา

ก่อนหน้านี้นายเศรษฐา ทวี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อยเห็นชอบแนวทางแก้ปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

ซึ่งจะคำนวณภาระหนี้ของลูกหนี้ที่ยังชำระไม่หมดให้กลับไปคำนวณเงินต้น และลูกหนี้ที่ชำระมากกว่า 150% สามารถหยุดจ่ายหนี้ได้ ว่านี่เป็นเรื่องนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยรวมของรัฐบาลนี้

ทั้งหนี้ กยศ. หนี้ครู หนี้นอกระบบ และเอสเอ็มอีที่ติดมาตรา 21 เป็นเรื่องที่ตนเองไม่อยากจะพูดเรื่องเดียว แต่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีแถลงข่าวใหญ่ถึงมาตรการแก้ไขหนี้ทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่ กยศ. อย่างเดียว แต่จะรวมทุกภาคส่วนเท่าที่จะสามารถทำได้

แก้หนี้ กยศ. (รัฐบาลเศรษฐา)

นายกิตติรัตน์ฯ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ได้ระบุว่าขณะนี้ กยศ. อยู่ระหว่างดำเนินการคำนวณยอดหนี้ของลูกหนี้ใหม่ โดย กยศ.ได้ขอให้กรมบังคับคดีชะลอการบังคับคดี และชะลอการยึดทรัพย์ลูกหนี้ขายทอดตลาด เพื่อรอผลการคำนวณยอดหนี้ใหม่ก่อน ซึ่งในบางกรณีเมื่อคำนวณยอดหนี้ใหม่แล้ว ลูกหนี้อาจไม่มีความจำเป็นต้องนำทรัพย์สินไปขายทอดตลาดเลย เพราะหนี้ที่คำนวณใหม่ลดลงมาก

ขณะที่นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการ กยศ.ยืนยันว่า ลูกหนี้ กยศ.ทุกรายจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายใหม่ เช่น การลดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% จากเดิม 18% นอกจากนี้ กยศ.จะเปิดให้ปรับโครงสร้างหนี้ โดยผู้ค้ำประกันเดิมทุกคนที่มีภาระอยู่ จะหลุดพ้นจากภาระค้ำประกัน โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป

แก้หนี้นอกระบบ (รัฐบาลเศรษฐา)

นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้หยิบยกการให้สัมภาษณ์ของนายอาจิน จุ้งลก ประธานมูลนิธิเพื่อการปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ กับ The ACTIVE Thai PBS ว่า “หนี้นอกระบบ” ที่ต้องมี ศูนย์ One Stop Service เกิดขึ้นให้ประเทศไทยปราบเจ้าหนี้นอกระบบได้ และควรปรับโทษให้รุนแรง มีรางวัลนำจับสำหรับเจ้าหนี้ที่ไร้ธรรมาภิบาล

เนื่องจากคณะทำงานชุดนี้ มีตัวแทนจากรอง ผบ.ตร.ด้วย นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้แก้หนี้นอกระบบด้วยการตั้งกองทุนฯ เพื่อให้คนไทยปลดหนี้นอกระบบ มีความมั่นคงโดยไม่ถูกทำร้ายข่มขู่ และแนะเพิ่มกำลังคน 2 แสนคนที่พร้อมทำเรื่องนี้เป็น “หมอเงิน หมอหนี้” กระจายอยู่ในทุกชุมชน เพื่อปล่อยกู้ และเก็บเงินแทนเจ้าหนี้นอกระบบ

โดยนายอาจินย้ำว่า มาตรการการเอกซเรย์หนี้นอกระบบจากบ้านและชุมชน ถือเป็นมาตรการเชิงรุก มิติใหม่การแก้หนี้ ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน

แก้หนี้ข้าราชการ (รัฐบาลเศรษฐา)

นายอาจินยังให้ความเห็นถึงการแก้หนี้ข้าราชการ ครู ตำรวจ ฯลฯ ที่รัฐบาลจะเตรียมเดินหน้าว่า จุดเริ่มต้นของการหยิบนโยบายแก้หนี้มาจากการขับเคลื่อนนโยบายแก้หนี้ครูจากรายการ “นโยบาย by ประชาชน” ทางไทยพีบีเอส ไปต่อยอด

และเป็นหนึ่งในทีมของคณะกรรมการแก้หนี้ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน จึงมีความมั่นใจว่าการแก้ปัญหาหนี้สินของประเทศไทยจะเดินหน้าไปถูกทิศถูกทางมากขึ้น

อย่างไรก็ตามในส่วนของรายละเอียดของมาตรการแก้ปัญหาหนี้สิน ทางนายกรัฐมนตรีจะมีการแถลงถึงรายละเอียดโครงแต่ละมาตรการช่วยอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าในวันที่ 28 พ.ย.นี้ จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง