ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาส่งออก เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากบราซิล อินเดีย มันก็เลยมีข้อท้วงติงว่า เราควรจะต้องกินของที่ผลิตได้ ตามกลไกตลาดโลกเพื่ออะไร
เล่าย้อนไปแบบนี้ว่า สังคมไทย บริโภคน้ำตาลทราย แบบคุมราคามานาน ในยุคของคุณสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2551 ประกาศขึ้นราคาขายน้ำตาลทราย 5 บาทต่อกิโลกรัม คิดง่ายๆ คือ 14+5 เป็น 19 บาท แก้ปัญหาชาวไร่อ้อยที่เป็นหนี้กว่า 2 หมื่นล้าน
จุดเปลี่ยนที่สำคัญ อยู่ใน ปี 2559 ยุครัฐบาลประยุทธ์ บราซิล ประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลกไปร้ององค์การการค้าโลก กล่าวหาไทยละเมิดข้อตกลงผูกพัน อุดหนุนการส่งออกและอุดหนุนสินค้าน้ำตาลทรายภายใน ทำให้เกิดความเสียหายกว่า 6.3 หมื่นล้านบาทต่อปี จากการที่มูลค่าส่งออกและผลผลิตเกี่ยวเนื่องของไทยมีกว่า 2.5 แสนล้านบาท ถ้าแพ้คดี เราต้องปรับระบบ และมีความเสี่ยงถูกตอบโต้ทางการค้า ทำให้ รัฐบาล ยกเลิก ม.17 วงเล็บ 18 พรบ.อ้อยยน้ำตาล ยกเลิกระบบโควต้า กองทุนอ้อยน้ำตาล เรียกว่าเป้นการลอยตัว ตามระบบการค้าเสรี แต่ก็มาเกิดปัญหา ราคาตกต่ำ เหลือราวๆ 12-13 บาทต่อกิโลกรัม และมาในยุคคุณเศรษฐา เพื่อไทย เหมือนกัน แต่กลับมาใช้ระบบควบคุมราคา เท่าเดิม 1 ปี ชาวไร่รู้สึกรับไม่ได้ เพราะ ต้นทุนมันไป ตลาดก็กำลังต้องการน้ำตาลอย่างมาก ราคาขายปลีก มีผลกับชาวไร่ยังไง ?.. ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ของอ้อยไม่เหมือนพืชอื่น เพราะ เค้าเรียกว่าเป็นการประคองกันเอง จากอ้อยไปสู่น้ำตาล สมมุติว่า ผลิตอ้อยหีบเป็นน้ำตาลได้ 100 กระสอบ จะแบ่งให้ชาวไร่ 70 โรงงาน 30 หรือ ตีเป็นตัวเลข เช่น ถ้าขาย 1 หมื่น ชาวไร่จะได้ 7 พัน โรงงาน 3 พันบาท
สัญญาณในตลาดโลกกำลังสดใส ดีดขึ้นมาที่ 26-27 บาทต่อกิโลกรัม จากการบริโภค การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ทำให้น้ำตาลเป็นที่ต้องการมากขึ้น ขณะที่บราซิลผลิตได้ ก็เอาไปทำเอธานอล ค่อนข้างมาก ขณะที่อินเดียอันดับ 2 ลดการส่งออก ต้องเก็บไว้บริโภคภายใน
ขณะที่ ไทย ประเมินว่า ปริมาณผลผลิตปีหน้าน้อยแน่ เพราะ เอลนีโญ่ ทำให้แล้ง พื้นที่ปลูกไม่เพิ่ม ผลผลิตลดลง แต่ราคาขายภายในยังอยู่ที่ 19-20 บาท ถ้าขึ้นราคามา 4 บาท ชาวไร่ก็จะได้ 2 บาท โรงงานได้ 2 บาท ยังพอเห็นโอกาส
จากราคากลไกตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น พอควบคุม 4 บาทนี้ไป มันเท่ากับราคาอ้อยขั้นต้นหายไปราวๆ 200 บาท สวนทางต้นทุนอยู่ที่ 1400 บาท ต่อตัน จากราคาน้ำปุ๋ย น้ำมัน ที่แพงจากสงคราม ทำให้ชาวไร่เค้ามองว่า มันไม่ยุติธรรม
แนวทางของชาวไร่ เค้าจึงมองว่า คนไทยกินน้ำตาลทางตรงไม่มาก 1 โล อาจจะหลายเดือน แต่จะไปหนักที่ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เช่น เครื่องดื่ม ขนม
ถ้าเช่นนั้น การขึ้นราคา อาจจะมีทางออกอยู่ที่ การปล่อยเสรี แล้วไปคุมราคาสินค้าที่ใช้น้ำตาลน่าจะดีกว่า แล้วก็ดูแลต้นทุน สนับสนุนต้นทุน 2 บาท ต่อกิโลกรัม น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า
สิ่งหนึ่งที่อาจจะต้องทบทวนก็คือ ยุทธศาสตร์และการจัดการอ้อยและน้ำตาล ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ดูแลต้นทุน แนวโน้มราคาที่ควรจะเป็น กับบทบาทของกระทรวงพาณิชย์ที่ดูแลราคาสินค้า ใครควรจะมีน้ำหนักในการกำหนดทิศทางราคาน้ำตาลของประเทศกันแน่