คัดลอก URL แล้ว
นิด้าโพล เผยผลสำรวจปชช. เรื่อง “นโยบายพรรคเพื่อไทย ทำได้หรือไม่?”

นิด้าโพล เผยผลสำรวจปชช. เรื่อง “นโยบายพรรคเพื่อไทย ทำได้หรือไม่?”

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายพรรคเพื่อไทย ทำได้หรือไม่?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม ถึง วันที่ 1 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับนโยบายของพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
 
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ประชาชนอยากได้ พบว่า

  1. พักหนี้เกษตรกร 3 ปี ทั้งต้น ทั้งดอกทันที ตัวอย่าง ร้อยละ 25 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 7.33 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 4.89 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ
  2. ทุกครอบครัวมีรายได้ไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตัวอย่าง ร้อยละ 18 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 7.94 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 5.42 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ
  3. กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สำหรับผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 36 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 4.65 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ตอบ
  4. เงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 25,000 บาทต่อเดือน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 80.08 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 12.67 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 6.79 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ
  5. จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ตัวอย่าง ร้อยละ 70 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 10.61 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 8.86 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ตอบ
  6. กทม. ทั้ง 50 เขต มีโรงพยาบาลประจำเขต ตัวอย่าง ร้อยละ 78.17 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 10.46 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ตอบ
  7. ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 78.09 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 13.51 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 8.09 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ตอบ
  8. จัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ ในจังหวัดนำร่อง ตัวอย่าง ร้อยละ 51 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 16.87 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 8.47 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่ตอบ
  9. รถไฟฟ้า กทม. 20 บาทตลอดสาย ตัวอย่าง ร้อยละ 90 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 13.97 ระบุว่า เฉย ๆ ร้อยละ 11.37 ระบุว่า ไม่อยากได้ และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ตอบ
  10. แก้ไขกฎหมาย เพื่อยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ตัวอย่าง ร้อยละ 32 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 34.66 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 6.56 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ

ท้ายที่สุดเมื่อถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่จะสามารถทำได้สำเร็จ พบว่า
 

  1. พักหนี้เกษตรกร 3 ปี ทั้งต้น ทั้งดอกทันที ตัวอย่าง ร้อยละ 68.32 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 18.63 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ
  2. กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สำหรับผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 82 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 29.01 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 16.87 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ
  3. จัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ ในจังหวัดนำร่อง ตัวอย่าง ร้อยละ 98 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 27.86 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 16.18 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 2.98 ระบุว่า ไม่ตอบ
  4. กทม. ทั้ง 50 เขต มีโรงพยาบาลประจำเขต ตัวอย่าง ร้อยละ 15 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 28.63 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 17.86 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 3.36 ระบุว่า ไม่ตอบ
  5. รถไฟฟ้า กทม. 20 บาทตลอดสาย ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 30.15 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 18.78 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 2.98 ระบุว่า ไม่ตอบ
  6. ทุกครอบครัวมีรายได้ไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตัวอย่าง ร้อยละ 31 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ และไม่เชื่อว่าทำได้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมา ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ
  7. แก้ไขกฎหมาย เพื่อยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ตัวอย่าง ร้อยละ 74 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 39.69 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 15.73 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ
  8. จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ตัวอย่าง ร้อยละ 01 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 35.72 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 23.51 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ตอบ
  9. ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 37.18 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 20.46 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ
  10. เงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 25,000 บาทต่อเดือน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 41.14 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 36.64 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ
     
    เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
     
    ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.79 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.37 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ
     
    ตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.13 สมรส และร้อยละ 2.52 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 26.34 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.51 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.54 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.50 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.11 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
     
    ตัวอย่าง ร้อยละ 9.69 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.28 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.52 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.05 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.79 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.72 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.95 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
     
    ตัวอย่าง ร้อยละ 20.30 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 30.61 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.84 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.89 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.17 ไม่ระบุรายได้
https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=648&mibextid=Zxz2cZ

นิด้าโพล #ผลสำรวจของประชาชน #นโยบายพรรคเพื่อไทย #พรรคเพื่อไทย #ข่าวโมโน29 #Mono29News #Mono29


ข่าวที่เกี่ยวข้อง