กลายเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงอย่างมาก จากกรณีกระทรวงมหาดไทยประกาศปรับหลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2566 ใหม่ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2566 ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่นั้นจะตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้สูง หรือ ผู้สูงอายุที่ร่ำรวย เพื่อมุ่งเน้นช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน หรือ รายได้น้อยจริง ๆ
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของ กรมกิจการผู้สูงอายุ สถิติผู้สูงอายุไทย ปี 2565 ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกรวบรวม ณ วันที่ 31 ธ.ค.65 พบว่าจำนวนผู้สูงอายุ มี 12,698,362 คน หรือ คิดเป็น 19.21 % จากจำนวนประชากรทั้งหมด โดยเป็นตามช่วงอายุได้ ดังนี้
- 60-69 ปี จำนวน 7,120,271 คน
- 70-29 ปี จำนวน 3,743,466 คน
- 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,834,625 คน
‘เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ’ 2567
สวัสดิการเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2567 จะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- กรณีที่ 1 ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่เคยลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่เดือน ต.ค.65 – ก.ย. 66 โดยจะมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้อายุ ตั้งแต่ 1 ต.ค.66 เป็นต้นไป (ปีงบประมาณ 2567)
- กรณีที่ 2 หากใครเกิดก่อนวันที่ 2 ก.ย. 2507 แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียน ต้องไปลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2567 โดยจะได้รับเบี้ยชีพในเดือนถัดไปจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
กรณีในทะเบียนราษฎรไม่ปรากฏวันที่ เดือนเกิด ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดในวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น
เปิดรับลงทะเบียน 2 ช่วง
- ช่วงแรก ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน
- ช่วงที่สอง ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายน 2566
คุณสมบัติ
- สัญชาติไทย
- อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (เกิดก่อน 2 กันยายน 2507)
- ไม่เป็นผู้ที่ได้รับสวัสดิการ หรือ สิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (บำนาญ เบี้ยหวัด)
วิธีการลงทะเบียน ‘เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ’ 2567
ผู้สูงอายุที่จะลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สามารถไปลงทะเบียนได้ ดังนี้
- สำนักงานเขต ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- ที่ว่าการอำเภอ , องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
กรณีย้ายที่อยู่ ผู้สูงอายุที่เคยลงทะเบียนมาก่อนแต่ย้ายภูมิลำเนาใหม่ ต้องยืนยันสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ องค์กรปกครอบส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามทะเบียนบ้านใหม่
เอกสารหลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
- ทะเบียนฉบับเจ้าบ้าน
- สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับผู้ที่ขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร
กรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถ หรือ ไม่สะดวกที่จะไปดำเนินการเอง สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นมายื่นคำขอรับเงินแทนได้ (หนังสอบมอบอำนาจ , สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ , สำเนาทะเบียนบ้านผู้รับมอบอำนาจ)
สำหรับผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนแล้ว สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิได้ในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ณ สถานที่ที่ลงทะเบียนไว้
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีการจ่ายอย่างไร?
การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะจ่ายทุกวันที่ 10 ของเดือน หากเดือนใดวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดราชการจะจ่ายในวันทำการก่อนวันหยุดนั้น โดยจะจ่ายเป็นรายเดือนแบบขั้นบันได ดังนี้
- ผู้สูงอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท
- ผู้สูงอายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท
- ผู้สูงอายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท
- ผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท
…
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง