ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมคำถามพ่วงเรื่องอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งครอบรอบ 7 ปีแล้ว โดยจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 50,071,589 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 29,740,677 คน คิดเป็นร้อยละ 59.40
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ที่มาของ รัฐธรรมนูญ ปี 2560
ภายหลังเกิดรัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ต่อมาในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กำหนดให้มี คยร. ประกอบด้วยสมาชิก 36 คน สรรหามาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), คณะรัฐมนตรี (ครม.), และ คสช. เพื่อร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กยร. เดิมมี 315 มาตรา หลังจากได้รับข้อเสนอของ สปช. แล้ว กยร. ได้ปรับแก้เนื้อหาให้เหลือ 285 มาตรา แต่ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 สปช. มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของ กยร. ส่งผลให้ สปช. และ กยร. สิ้นสุดลงในวันนั้น
รัฐธรรมนูญชั่วคราว แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2558 กำหนดให้ คสช. ตั้ง กรธ. ขึ้นแทน กยร. ชุดเดิม วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. จึงแต่งตั้ง กรธ. โดยมีมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน
เมื่อร่างเสร็จแล้ว มีการลงประชามติในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 61.35 เห็นชอบ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 หลังมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติตามพระบรมราชวินิจฉัย จำนวนมาตราในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทั้งหมด 279 มาตรา มากเป็นอันดับที่ 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ ปั 2560
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 50,071,589 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 29,740,677 คน คิดเป็นร้อยละ 59.40
ผลคะแนนออกเสียงประชามติในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- เห็นชอบ : 61.35 (16,820,402)
- ไม่เห็นชอบ : 38.65 (10,598,037)
ผลคะแนนออกเสียงประชามติในประเด็นเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญ
- เห็นชอบ : 58.07 (15,132,050)
ไม่เห็นชอบ :41.93 (10,926,648)
เสียงค้าน – เสียงสนับสนุน
ในช่วงก่อนการทำประชามติมีทั้งกลุ่มคนไม่เห็นด้วยและเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ซึ่งกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย มีทั้ง กลุ่มอดีต นปช. เก่า ที่เคยตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ แต่ถูก คสช. สั่งปิดในเวลาต่อมา ฝ่ายที่ออกมาคัดค้านไม่ว่าจะผ่านสื่อต่าง ๆ กลับถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก ภายใต้ พ.ร.บ.ประชามติ ของ คสช. ในขณะนั้น
ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนต่างเห็นด้วยอย่างสุดซอย ทั้งกลุ่ม กปปส. เก่า ที่เชียร์ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว จนเกิดวาทกรรมมากมาย
รวมไปถึงการพยายามออกมารณรงค์ในการลงประชามติผ่านมาสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนออกเสียงกันก่อนว่าลงประชามติ
ข้อวิจารณ์ และ วาทกรรม ‘รับไปก่อนแล้วค่อยมาแก้กัน’
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 จำนวน 250 คนที่มาจากการแต่งตั้งหรือคัดเลือกโดย คสช. ทั้งหมด การรณรงค์ให้ความรู้และให้ลงมติคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญถูกปิดกั้น และคำถามพ่วงในประชามติมีความซับซ้อนเข้าใจยาก
ซึ่งมีผลให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนเนื้อหาอื่น เช่น การแก้ไขให้ “สิทธิ” หลายประการของประชาชนกลายเป็น “หน้าที่” ของรัฐ ตลอดจนบทเฉพาะกาลที่รับรองบรรดาประกาศและคำสั่งของ คสช.
ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ระบุไว้ว่า “วันนี้แก้อะไรไม่ได้แล้ว คงต้องเดินหน้ากันต่อไป เพื่อทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ถ้ามันบกพร่องอะไรวันข้างหน้าก็คงไปแก้ไขกันเอง” ซึ่งก็คือ รับไปก่อนแล้วค่อยมาแก้กัน
แต่เมื่อมาดูใน มาตรา 256 ได้บัญัตติไว้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีความยุ่งยากที่ซ่อนอยู่ ทั้งญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องมาจาก ครม. / ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 / ส.ส.และ ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของทั้ง 2 สภา
ยังไม่รวบพิจารณาต่างวาระต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ถึง 3 วาระ ที่กำหนดไว้ว่าต้องมีเสียงจาก ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ด้วยเช่นกัน