วันนี้ ( 19 ก.ค. ) ถือเป็นอีกครั้งหนึ่งที่การเมืองไทยจะต้องจับตาดูสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ชั่วโมงข้างหน้า นั่นคือการ “โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30” ของประเทศไทย
ภายใต้การประชุมรัฐสภาที่กำลังจะเกิดขึ้น มีประเด็นร้อนระอุทางการเมืองอย่างมาก ในหลากหลายมิติ หลากหลายขั้ว ทั้งลับ ไม่ลับ ให้ได้ติดตามกันในวันนี้
…
ประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงโหวตนายกฯ ในวันนี้
- ในการโหวตนายกฯ ในวันนี้ จะไม่มีการเสนอวิสัยทัศน์ซ้ำ เนื่องจากเป็นการเสนอชื่อเดิมคือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ขึ้นเป็นนายกฯ
- ปมข้อบังคับฯ ข้อที่ 41 จะเป็นอย่างไร ญัตตินี้จะเป็นญัตติซ้ำหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสองส่วนคือ หนึ่ง ประธานรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา จะใช้อำนาจวินิจฉัยเลยหรือไม่ หรือ สอง จะให้รัฐสภาลงคะแนนโหวต
- หากรัฐสภาเปิดให้ลงมติโหวตว่า ผิดตามกฎข้อบังคับฯ ข้อที่ 41 คะแนนเสียง ส.ว. และพรรคร่วมฝ่ายค้าน จะยกมือทั้งหมดหรือไม่ เพราะนั่นหมายถึง “ญัตติเสนอชื่อนายพิธา จะตกไปทันที”
- หากประธานรัฐสภาใช้อำนาจวินิจก็จะทำให้รัฐสภาเดินหน้า “โหวตนายกฯ” ต่อไป แต่นั่นต้องดูว่า “จะมีแคนดิเดตชื่อใหม่” เพิ่มขึ้นอีกหรือไม่
- ทิศทางของแคนดิเดตใหม่นั้น ยังคงคลุมเครือ ในส่วนของ 8 พรรคร่วมนั่นมีท่าทีที่จะยังคงสนับสนุนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไปจนถึงที่สุด แต่กระแสข่าวก็มีมาอย่างหนาหูว่า “แคนดิเดตชื่อใหม่” จะมาในการ “โหวตนายกฯ ครั้งที่ 3”
- ด้านพรรคฝ่ายค้านในขณะนี้ ยังส่งสัญญาณท่าทีว่า จะไม่จับมือกันจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย หลายพรรคส่งสัญญาณไปในทิศทางเดียว แต่หาก “หาเสียงที่นั่งในสภาได้เพิ่ม” เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
- การโหวตในวันนี้ ประเมินสถานการณ์ล่าสุด พบว่า เสียงสนับสนุนจากส.ว. อาจจะได้ไม่เท่าเดิม แต่ยังต้องดูว่า “ดีลลับ” จะมีไพ่อะไรหรือไม่ และไพ่เปิดไปในทิศทางไหน
- แต่กลิ่นของการจับขั้วใหม่ที่ “ไม่มีก้าวไกล” นั้นมีกำลังค่อนข้างแรง แกนนำคนสำคัญในหลายพรรคนั่งเรือออกจากฝั่ง เพื่อจะเดินหน้าทางการเมือง มีข่าวลือถือขนาดการจับขั้วใหม่ ล้ม MOU 8 พรรคร่วม และแบ่งโค้วต้าเก้าอี้กระทรวงแล้ว
- ในขณะเดียวกับ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมีการประชุมในวันนี้เช่นกัน โดยมีวาระสำคัญคือ การพิจารณาคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของ ส.ส.ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงหรือไม่
- หากผลออกมาเป็นไปในทางลบ กระแสต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในการโหวตนายกฯ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่อาจจะไล่เลี่ยกัน แม้ฝ่ายของ 8 พรรคร่วมจะมองว่า แม้สถานะ ส.ส. ของนายพิธา จะสิ้นสุด แต่นั่นก็ยังคงอยู่ในสถานะของ “แคนดิเดตนายกฯ” ได้
- ส่วนพรรคร่วมฝ่ายค้านในตอนนี้ และส.ว. คงจะเปิดประเด็นอภิปรายในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ดังนั้นสถานการณ์จึงอยู่ในสถานะที่ “อะไรก็เกิดขึ้นได้”
…
ประเด็นแก้ไข มาตรา 272 ในวันนี้
- ในวาระการประชุมครั้งนี้ ไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในวาระหลักของการประชุม ดังนั้น หากจะมีเพิ่มเติม ก็จะถูกบรรจุอยู่ในวาระเพิ่มเติม ต่อหลังจากวาระของการโหวตนายกฯ
- แม้จะอยู่ในวาระเพิ่มเติม แต่ดูเหมือนว่า เส้นทางของการแก้ไข ม. 272 ไม่ได้ง่าย และไม่รวดเร็วขนาดที่จะทำให้ “พิธา” จะได้เป็นนายกฯ คนที่ 30 เพราะการโหวตรอบ 3 อาจจะมาก่อน และ “อะไรก็เกิดขึ้นได้”
…
ประเด็นของกลุ่มผู้สนับสนุนพิธา
- ยังคงมีกระแสความเคลื่อนไหวของแกนนำบางส่วนที่คาดว่า จะมีการนัดชุมนุม สนับสนุนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ในวันนี้ ซึ่งเบื้องต้นน่าจะมีจุดหลักอยู่ที่