คัดลอก URL แล้ว
1 ปี กับ ‘ผู้ว่าฯ ชัชชาติ’ เมืองกรุงเปลี่ยนไปอย่างไร

1 ปี กับ ‘ผู้ว่าฯ ชัชชาติ’ เมืองกรุงเปลี่ยนไปอย่างไร

ครบ 1 ปีแล้ว สำหรับการบริหารงานราชการของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งหากย้อนไปเมื่อช่วงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อปี 2565 ‘ชัชชาติ’ ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างถล่มทลายสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์การเลือกตั้งพ่อเมืองกรุงเทพฯ ด้วยคะแนนเสียงกว่า 1.3 ล้านคะแนน ด้วยวิสัยทัศน์ บุคคลิก และนโยบายที่น่าสนใจ ทำให้คนกรุงส่วนใหญ่โหวตลงคะแนนเสียงให้อย่างท่วมท้น เรียกได้ว่าเอาชนะคู่แข่งรายอื่น ๆ ไปอย่างขาดลอย

ที่ผ่านมาเราคงได้เห็นแอคชั่นต่าง ๆ ของผู้ว่าฯ กทม. อยู่ตลอดในช่วงระยะเวลากว่า 1 ปี ในการเข้ามาบริหารงาน รวมถึงการทำงานของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ด้วยเช่นกัน

ซึ่ง ‘ผลงาน’ จึงเป็นบทพิสูจน์สำคัญในการบริหารงาน ว่าแต่ละนโยบายที่เคยประกาศไว้นั้น มีความสำเร็จ หรือ ความคืบหน้าไปมากน้อยเช่นไร ทั้งปัญหารถติด น้ำท่วม โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เป็นปัญหาหลักที่ชาวกรุงอย่างเห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

“365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน กรุงเทพฯ”

โดยเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 66 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ได้มีการแถลงชี้แจงผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี ภายใต้นโยบาย 9 ด้าน 9 ดี 216 นโยบาย รวมถึงทิศทางการการพัฒนากรุงเทพมหานครในระยะต่อไป ซึ่งเริ่มการใช้งบประมาณเพื่อนโยบายอย่างจริงจังคืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 66 กว่า 9,000 ล้านบาท

สำหรับช่วงแรกมี Key Driver 5 เรื่องหลักที่ได้ทำ คือ

สำหรับนโยบายของกรุงเทพมหานคร จาก 9 ด้าน 9 ดี เดิม ได้แก่ เดินทางดี ปลอดภัยดี โครงสร้างดี สุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจดี สร้างสรรค์ดี เรียนดี และบริหารจัดการดี ซึ่งประกอบด้วย 216 นโยบาย ได้มีการปรับเปลี่ยนให้เข้าใจง่าย สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานจริง และตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขื้น เป็น 9 ด้าน 9 ดี ใหม่

ได้แก่ เดินทางดี ปลอดภัยดี โปร่งใสดี (ใหม่) สิ่งแวดล้อมดี สุขภาพดี เรียนดี เศรษฐกิจดี สังคมดี (ใหม่) และบริหารจัดการดี รวม 226 นโยบาย โดยเริ่มดำเนินการไปแล้ว 211 นโยบาย ส่วน 11 นโยบายที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เป็นนโยบายที่ต้องมีการประสานงานร่วมกันกับหน่วยงานอื่น

และมี 4 นโยบายยุติการดำเนินการ เช่น นโยบายห้องให้นมเด็ก ซึ่งไม่ค่อยมีผู้ใช้บริการเนื่องจากประชาชนไม่นิยมมีบุตร นโยบายรถห้องสมุดเคลื่อนที่ลงไปถึงชุมชน เนื่องจากชุมชนมีพื้นที่ถนนเล็ก จึงเห็นควรปรับเปลี่ยนเป็นห้องสมุดออนไลน์ เป็นต้น

เป้าหมาย 9 ดี ในอีก 3 ปีข้างหน้า

เป้าหมายในอีก 3 ปีข้างหน้า “ด้านเดินทางดี” คือ กทม.มีทางเท้าดี 1000 กม. ทางเดินริมแม่น้ำ 153 กม. Adaptive Signaling 200 แห่ง ศาลาที่พักผู้โดยสาร 476 หลัง CCTV ตรวจจับ Traffic Violation 500 แห่ง แก้ไขจุดฝืด 100 จุด ลดจุดเสี่ยงจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 83 จุด

“ด้านปลอดภัยดี”

“ด้านโปร่งใสดี”

“ด้านสิ่งแวดล้อมดี”

“ด้านสุขภาพดี”

“ด้านเรียนดี”

“ด้านเศรษฐกิจดี”

“ด้านสังคมดี”

“ด้านบริหารจัดการดี”

ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน-ความโปร่งใส

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวถึงเรื่องที่ยากที่สุดในการทำงานว่าคือเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องความโปร่งใสเป็นหัวใจหลัก หากไม่มี ประชาชนก็จะไม่ไว้ใจ แต่แนวโน้มของเรื่องนี้ดีขึ้น ที่ผ่านมาพบว่าข้าราชการและลูกจ้างกทม.ส่วนใหญ่เป็นคนดี แต่ประชาชนอาจไม่ยอมรับเรื่องความโปร่งใส หากผู้บริหารกทม.สามารถเริ่มตั้งแต่การแต่งตั้งที่เป็นธรรม จะทำให้ประชาชนไว้ใจ

ในส่วนของเรื่องร้องเรียนผ่านระบบ Traffy Fondue ที่มีมากถึง 3 แสนเรื่อง ไม่ได้แสดงว่าเราอ่อนแอ แต่แสดงว่าประชาชนเริ่มไว้ใจเรา เชื่อว่าเราเอาจริงเอาจัง ซึ่งเห็นว่าเรื่องของ “ความไว้ใจ” มีค่ามากกว่างบประมาณ อย่างเช่น โครงการที่มีคนกังวลมาก เรื่องของการนำเงิน 200,000 บาทเข้าสู่ชุมชน กทม.ก็ทำให้โปร่งใสตั้งแต่เริ่มต้นโดยเอาประชาชนมาเป็นแนวร่วม อบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่และชาวชุมชนเพื่อให้ความรู้และป้องกัน

ซึ่งดีกว่าการไปจับผิดทีหลัง และทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น

ปัญหาน้ำท่วม-การจราจร

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นน้ำท่วมในกรุงเทพฯ นั้น เชื่อว่าจะดีขึ้นแน่นอน โดยในกทม.มีจุดเสี่ยงกว่า 700 แห่ง เมื่อระบุในแผนที่ดิจิทัลและเร่งแก้ในแต่ละจุดจะเห็นว่าแก้ไปได้มากกว่าครึ่ง ในขณะเดียวกันก็ทำเส้นเลือดใหญ่คืออุโมงค์เพิ่ม และเหตุฝนตกหลายครั้งที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเจนว่าน้ำระบายได้ดีขึ้น แต่ผลกระทบจาก Climate Change ซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนักในบางจุดเป็นสิ่งที่ยังกังวล เพราะต้องใช้เวลาในการระบายน้ำมากขึ้น แต่เชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้เห็นว่าจุดแข็งของกทม.คือเราเป็นหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่และทรัพยากรอยู่ในทุกส่วนทุกพื้นที่ หากเราเอาใจใส่และจริงจังจะสามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้จริง ๆ ที่ผ่านมา 1 ปี เราก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว หัวใจสำคัญไม่ใช่การประชาสัมพันธ์ผลงาน แต่อยากให้ประชาชนรู้สึกเองว่าชีวิตดีขึ้นจากงานที่กทม.ทำ แต่เรื่อง Mega Project อาจจะยังจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอยู่

เรื่อง Mega Project เรื่องหนึ่งที่กทม.ทำ คือ เอาเทคโนโลยีมาควบคุมเรื่องการจราจร น่าจะเริ่มเห็นผลในปีหน้า ซึ่งเห็นว่าปัญหาจราจรที่สำคัญคือการควบคุมไฟจราจร และพบว่ายังไม่มีการทำงานแบบ Area Base หากสามารถเชื่อมโยงข้อมูล และนำเทคโนโลยีมาช่วยในการตัดสินใจ เปิดไฟจราจรให้สอดคล้องกับสภาพจริงจะทำให้ปัญหาดีขึ้น ซึ่งต้องประสานกับตำรวจเพื่อทำให้เกิดขึ้นจริง โดยกำหนดพื้นที่เป็น Zoning เริ่มจากถนนพหลโยธิน

“ปัญหาของกรุงเทพไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เป็นเรื่องเล็ก เป็นเรื่องเล็กที่ไม่มีคนสนใจ แต่กลับเป็นเรื่องที่แตะกับชีวิตคน ฉะนั้น เรื่องเล็กที่กทม.ทำจึงไม่ใช่เรื่องไร้สาระ แต่เป็นการตอบโจทย์ประชาชนได้ตรงจุด ซึ่งต้องทำทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่คู่ขนานกันไป”

Mega Project ของกรุงเทพฯ

Mega Project ในส่วนที่เกี่ยวกับการปรับปรุงโรงพยาบาลของกทม. ว่า โรงพยาบาลกทม.ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงในขณะนี้ คือ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ นอกจากนี้ยังมีการหาพื้นที่เพื่อทำสถานพยาบาลในโซนกรุงเทพเหนือและกรุงเทพตะวันออก ในเขตคลองสามวา ภาษีเจริญ และบางนา ด้วยเช่นกัน

ปัญหาคนไร้บ้านในกทม.ว่า มี 4 นโยบายตรง และ 5 นโยบายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนไร้บ้านเป็นปลายทางของสวัสดิการทุกอย่าง กทม.ได้ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และมูลนิธิที่เกี่ยวข้อง แก้ไขอย่างต่อเนื่อง

ปรับปรุงจุดเสี่ยงจราจร การเพิ่มจำนวนทางม้าลาย ในขณะนี้ได้ดำเนินการทาสีให้ชัดเจนขึ้น และบางส่วนดำเนินการไปพร้อมกับการปรับปรุงจุดเสี่ยง ในส่วนของจัดเก็บค่าจอดรถ กทม.จะประสานกับตำรวจจราจรเพื่อกำหนดเส้นทางที่สามารถจัดเก็บได้และเพิ่มเส้นทางที่จะจัดเก็บใหม่ต่อไป โดยการจัดเก็บค่าจอดรถตามถนนต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการจัดเก็บค่าที่จอดรถจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการหมุนเวียน ร้านค้าจะขายของได้มากขึ้น แต่ต้องมาดูเรื่องของอำนาจการจับปรับหากฝ่าฝืน

ประเด็นเรื่องของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ระบุว่า หากมองในอนาคต หลังปี 72 จะมีรายได้ คงต้องดูอีกที หากต้องจ่ายหนี้อาจต้องทยอยจ่าย แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือรัฐบาลช่วยจ่ายให้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถบริหารได้แต่ต้องรอบคอบมากขึ้น ส่วนเรื่องของผลกระทบคงมี เพราะเป็นหนี้ที่เพิ่มเข้ามา


ข้อมูล – กรุงเทพมหานคร


ข่าวที่เกี่ยวข้อง