คัดลอก URL แล้ว
เหนือ แนวโน้ม PM 2.5 ลดลงเล็กน้อย จุดความร้อนในลาว-พม่าลดลง ในภาคเหนือเพิ่มขึ้น

เหนือ แนวโน้ม PM 2.5 ลดลงเล็กน้อย จุดความร้อนในลาว-พม่าลดลง ในภาคเหนือเพิ่มขึ้น

KEY :

ในพื้นที่ภาคเหนือในขณะนี้ ส่วนใหญ่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเกือบทั้งภาค ต่อเนื่องลงมาถึงบริเวณภาคกลางตอนบน และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ซึ่งแม้ว่า ในวันนี้ แนวโน้มของปริมาณฝุ่นที่ตรวจวัดได้จะมีแนวโน้มที่ลดลงก็ตาม แต่ยังคงอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเป็นผลมาจากรายงานจุดความร้อนที่เกิดจากการเผาทั้งในและนอกประเทศมีจำนวนที่ลดลง โดยเฉพาะในลาวและเมียนมาร์ ที่ลดลงรวมกันเกือบหนึ่งหมื่นจุด

โดยรายงานการตรวจวัดปริมาณฝุ่นสูงที่สุดในประเทศไทย 5 อันดับแรกอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางตอนบนของภาคนั้นมีแนวโน้มปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ลดลง หลังจากในพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากพายุฤดูร้อน ส่งผลให้มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลงกระโชกแรง ทำให้ปริมาณฝุ่นทางตอนบนของภาคลดลงในหลายพื้นที่ แต่ยังคงเหลือบริเวณด้านที่ติดกับทางภาคเหนือ ที่ยังคงมีค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

สำหรับในพื้นที่บริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย ยังคงได้รับผลกระทบจากการเผาในพื้นที่ตั้งแต่บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร ส่งผลให้ในบริเวณดังกล่าว ยังคงมีค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐาน

ส่วนบริเวณภาคกลาง การระบายอากาศ และกระแสลมใต้ ยังคงช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ลงได้ เช่นเดียวกับในบริเวณภาคตะวันออก ที่มีกระแสลมแรงขึ้นจากอิทธิพลของพายุฤดูร้อนในระยะนี้

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลอยู่ในระดับเกณฑ์ดี

ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลในระยะนี้ สภาพอากาศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง จากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น การระบายอากาศดี กระแสลมแรง ส่งผลให้ฝุ่นไม่สามารถสะสมตัวได้

แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังในช่วงวันที่ 3 เม.ย. ที่อาจจะมีฝุ่นควันจากทางด้านตะวันตกพัดเข้ามาได้

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1บ้านปางโม่
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
661
2รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
649
3รร.บ้านออน
จ.เชียงใหม่
619
4อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
ต.บ้านเป้า อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
615
5บ้านหัวโท
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
562
6บ้านหนองบัว
ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
542
7สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย529
8รพ.ปางมะผ้า
ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
521
9ศาลากลางจ.แม่ฮ่องสอน
ต.จองคำ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน
503
10รพ.สต.บ้านเมืองงาย
ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
498

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความร้อนลดลงกว่าหมื่นจุด

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาคเมื่อวานที่ผ่านมา ( 28 มี.ค. ) พบว่า มีจำนวนจุดความร้อนทั้งหมด 17,730 จุด ลดลงจากวันก่อนกว่าหนึ่งหมื่นจุด โดยส่วนใหญ่ที่ลดลงเป็นจุดความร้อนในประเทศเมียนมาร์ และลาว

สำหรับในประเทศไทยนั้น พบว่า จุดความร้อนลดลงแต่ไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งพบทั้งหมด 4,123 จุด เพิ่มสูงขึ้นจากในวันก่อนหน้า

โดย 10 จังหวัดที่มีรายงานพบจุดความร้อนสูงสุดได้แก่

จังหวัดจำนวนจุดความร้อน
1น่าน555
2เลย429
3แม่ฮ่องสอน382
4อุตรดิตถ์357
5เชียงราย349
6แพร่342
7ลำปาง322
8ตาก311
9กาญจนบุรี302
10พิษณุโลก297

ข่าวที่เกี่ยวข้อง