คัดลอก URL แล้ว
วิกฤติธนาคารในสหรัฐฯ ล้มไปแล้ว 3 แห่ง เกิดอะไรขึ้น

วิกฤติธนาคารในสหรัฐฯ ล้มไปแล้ว 3 แห่ง เกิดอะไรขึ้น

แค่เปิดเดือนมีนาคม 2566 ขึ้นมาเพียงครึ่งเดือนเท่านั้น สถานการณ์ของธนาคารในสหรัฐฯ เผชิญปัญหาและนำไปสู่การล้มลงของธนาคารไปแล้ว 3 แห่ง ในช่วงเวลาเพียง 5 วัน นั่นคือ

โดยเฉพาะ Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature Bank ซึ่งถือว่า ธนาคารขนาดใหญ่ และเก่าแก่ของสหรัฐฯ ส่งผลให้หน่วยงานของเข้ามากำกับดูแลเงินฝากในระบบของธนาคารทั้ง 3 แห่ง

เกิดอะไรขึ้นกับธนาคารทั้ง 3 แห่ง ทีมข่าว Mono News จะพาไปดู “ที่มาที่ไป” ของสาเหตุและสิ่งที่เกิดขึ้นกับธนาคารทั้ง 3 และนำไปสู่การล้มลงในครั้งนี้

โดมิโนตัวแรก – Silvergate Bank

สาเหตุที่ล้ม

ธนาคารแห่งแรกที่ประกาศปิดกิจการ คือ Silvergate Bank (SB) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยธนาคารแห่งนี้ได้เริ่มดำเนินกิจการเมื่อปี 1988 ก่อนที่จะปรับแนวทางไปลุยในตลาดสกุลเงินดิจิทัลในช่วงปี 2014 และการก้าวเข้าสู่โลกแห่งคริปโตเคอเรนซี ส่งผลให้สินทรัพย์ของธนาคารเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง

แต่ความเป็นธนาคารที่เป็นมิตรกับโลกคริปโตเคอเรนซี ก็กลายเป็นปัญหา เมื่อแพลตฟอร์มอย่าง FTX ซึ่งเป็นหนึ่งในกระดานซื้อขายคริปโตฯ ล่มสลาย และ Alameda Research (บริษัทในเครือ FTX) ส่งผลให้ลูกค้าแห่กันมาถอนเงินออกจากระบบ และทำให้ SB เผชิญสภาวะ “Bank Run” หรือภาวะที่ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นและแห่ไปถนอนเงินจนธนาคารไม่มีเงินเหลือพอที่จะคืนเงินฝากให้กับลูกค้า

SB ถูกลูกค้าถอนเงินมากกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 2.8 แสนล้านบาท และเมื่อไม่มีเงินสดมากพอ SB จึงพยายามเทขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งตราสารหนี้และพันธบัตร ส่งผลให้ธนาคารขาดทุนอย่างหนัก นอกจากนี้ ยังคงได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องของธนาคาร

แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น SB ไม่สามารถรักษาเงินทุนสำรองไว้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด และนำไปสู่การประกาศ “ปิดกิจการ” ขายสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคาร เพื่อใช้หนี้

โดมิโนตัวที่ 2 – Silicon Valley Bank

สํานักงานใหญ่ของ Silicon Valley Bank
(แฟ้มภาพ – Coolcaesar)

สาเหตุที่ล้ม

หลังจากธนาคาร Silvergate Bank ประกาศยุติกิจการได้ไม่กี่วัน หน่วยงานกำกับดูแลการธนาคารของรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้สั่งระงับการดำเนินการของธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) พร้อมทั้งสั่งให้บรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ FDIC เข้ามาดูแลสินทรัพย์ของธนาคาร

ซึ่ง SVB ถือเป็นธนาคารที่ก่อตั้งมานานเกือบ 40 ปี และมีสินทรัพย์กว่า 2.09 แสนเหรียญฯ รวมถึงเป็นผู้จัดหาเงินทุนให้กับ Startup หลายตัว เช่น Pinterest, Fitbits รวมถึงกลุ่มคริปโตเคอเรนซีด้วย

บรรดานักลงทุนรวมถึงลูกค้าจำนวนไม่น้อยต่างกังวลต่อภาวะตลาดหมีของกลุ่มคริปโตฯ บางส่วนก็ทยอยถอนเงินออกมา ในขณะที่ลูกค้าของธนาคารโดยเฉพาะกลุ่ม Startup ก็เผชิญปัญหาจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว นักลงทุนต่างชะลอตัวในการลงทุนในกลุ่ม Startup

แนวโน้มการเกิดของ Startup ที่มีโอกาสจะกลายเป็นยูนิคอร์นก็มีน้อยลง ทำให้บริษัท Startup ต่าง ๆ ประสบปัญหาทางการเงินจึงเลือกมาถอนเงินจากธนาคารออกไป เพื่อเสริมสภาพคล่องของธุรกิจ แต่กลายเป็นปัญหาสภาพคล่องของธนาคาร SVB

นำไปสู่การที่ SVB ได้ประกาศขายสินทรัพย์ รวมถึงหุ้นของ SVB แบบ “ขาดทุน” เพื่อหวังว่าจะรักษาสภาพคล่องของธนาคาร นอกจากนี้ยังมีประกาศระดมทุนเพิ่มเติมด้วย

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับส่งผลให้ลูกค้าของ SVB แห่กันมาถอนเงินออกจากธนาคารมากถึง 1 ใน 4 ของมูลค่าเงินฝาก ทำให้ SVB ก็เผชิญสภาวะ “Bank Run” เนื่องจากความไม่มั่นใจ ร่วมกับการที่ มูดีส์ และ S&P Global ได้ปรับความน่าเชื่อถือของ SVB จน

ในที่สุดหน่วยงานของสหรัฐฯ จึงได้ประกาศระงับการให้บริการของ SVB และให้ FDIC เข้ามาดูแลเงินฝากของลูกค้าธนาคาร

โดมิโนตัวที่ 3 – Signature Bank

ภาพ – signatureny.com

สาเหตุที่ล้ม :

ธนาคาร Signature Bank เป็นธนาคารในเมืองนิวยอร์กซิตี้ที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2001 โดยเน้นการให้บริการสินเชื่อกับธุรกิจขนาดเล็กในท้องถิ่นและเมืองใกล้เคียง ต่อมาก็ได้มีการเริ่มให้บริการเงินกู้ในกลุ่มอสังหาฯ เพิ่มเติม

ในช่วงปี 2018 Signature Bank ให้หันมาสู่ตลาดของคริปโตเคอเรนซี เช่นเดียวกับ SVB ซึ่งการเปลี่ยนแนวจากอสังหาฯ สู่คริปโตฯ ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของ Signature Bank จาก 3.6 หมื่นล้านเหรียญฯ สู่ 1.04 แสนล้านเหรียญฯ ในปี 2022 ทำให้ Signature Bank กลายเป็นหนึ่งในธนาคารที่ถูกระบุว่า เป็นธนาคารที่เป็นมิตรกับกลุ่มคริปโตฯ และถือเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับที่ 2 ในกลุ่มคริปโตเคอเรนซี รองจาก Silvergate Bank

ซึ่งในปลายปี 2022 รายงานระบุว่า มากกว่าหนึ่งในสี่ของเงินฝากของธนาคารเป็นเงินฝากจากบริษัทในกลุ่มธุรกิจคริปโตเคอเรนซีรายใหญ่ เช่น Celsius Network และ Binance นอกจากนี้ Signature Bank ยังเปิดแพลตฟอร์มชำระเงินอย่าง Signet เพื่อให้ลูกค้าของธนาคารสามารถทำธุรกรรมได้สะดวกขึ้น ผ่านระบบบล็อกเขนได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม หลังจากสภาวะความผันผวนของสกุลเงินคริปโตฯ ในปี 2022 นั้นทำให้สินทรัพย์ของ Signature Bank กว่า 1 แสนล้านเหรียญฯ ลดลงเหลือราว 8.8 หมื่นล้านเหรียญฯ โดยเฉพาะการล่มสลายของ FTX กระดานเทรดคริปโตฯ รายใหญ่

และจากกระแสของการล้มลงของ 2 ธนาคารก่อนหน้าอย่าง Silvergate Bank และ SVB นั่นทำให้ลูกค้าของธนาคาร Signature เกิดความไม่มั่นใจ และแห่กันไปถอนเงินออกจากระบบ มากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญฯ ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ( 10 มี.ค.) แต่ธนาคารก็ยังคงสามารถประคองสถานการณ์ผ่านมาได้

นั่นยังคงไม่ได้สร้างความมั่นใจให้กับหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการเงินการธนาคารของสหรัฐฯ แต่อย่างใด ในวันที่ 12 มี.ค. FDIC ก็ได้ประกาศปิดกิจการเข้ามาดูแลเงินฝากของ Signature Bank ในวันที่ 12 มี.ค. โดยให้เหตุผลว่า เพื่อลดความเสี่ยงต่อระบบธนาคารของสหรัฐฯ ไม่ให้ลุกลามออกไป


ข้อมูล :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง