คัดลอก URL แล้ว
PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่ / ทั่วกรุงฯ อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่ / ทั่วกรุงฯ อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

KEY :

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับที่สูงในหลายพื้นที่ บริเวณประเทศไทยตอนบน โดยในพื้นที่ภาคเหนือ แนวโน้มของปริมาณฝุ่น PM 2.5 ยังใกล้เคียงกับเมื่อวานที่ผ่านมา จากรายงานของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น.

ในขณะที่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า หลายพื้นที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศปิด ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้ดี

ซึ่งในช่วง 7-12 มี.ค. นี้จะเป็นช่วงที่หลายพื้นที่มีสภาพอากาศปิดต่อเนื่อง ส่งผลให้ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้ดีขึ้น สำหรับในภาคกลาง คาดว่า ในช่วงหลังจาวันที่ 8 มี.ค. น่าจะเริ่มดีขึ้น จากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น

กรุงเทพฯ เริ่มกลับมาสูงขึ้น

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานนี้ โดยทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ อยู่ในเกณฑ์เกินค่ามาตรฐาน และส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในขณะที่อีก 2 พื้นที่นั้น อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

โดยแนวโน้มในพื้นที่กรุงเทศจะมีฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่มสูงขึ้น จากสภาพอากาศปิดใกล้พื้นผิว ที่เกิดขึ้นในระยะนี้ ซึ่งคาดว่า หลังจากวันที่ 9 มี.ค. สถานการณ์น่าจะเริ่มดีขึ้น

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1เขตบึงกุ่ม96
2เขตหนองแขม91
3เขตมีนบุรี90
4เขตประเวศ90
5เขตหนองจอก88
6เขตคลองสามวา88
7เขตลาดกระบัง87
8เขตคันนายาว85
9สวนหนองจอก เขตหนองจอก85
10เขตบางนา84

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1สสอ.เลาขวัญ
จ.กาญจนบุรี
390
2ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว
ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
279
3รร.บ้านห้วยทรายขาว
ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
261
4โรงเรียนบ้านจำปุย
ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
252
5รพ.สต.บ้านพราน
ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ
250
6โรงเรียนบ้านแม่ส้าน
หมู่บ้านบ้านแม่ส้าน จ.ลำปาง
247
7สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ235
8จุดเฝ้าระวังฝุ่น PM
ทต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน
231
9ชุมชนสวนดอก
ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
228
10รพ. ฮอด
จ. เชียงใหม่
224

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความร้อนในภูมิภาคยังสูง

สำหรับรายงานจุดความร้อนของ GISTDA พบว่า ในประเทศไทยมีจุดความร้อนจำนวน 2,020 จุด มีแนวโน้มที่ลดลงในระยะนี้ ในขณะที่เมียนมาร์ 4,171 จุด, ลาว 2,194 จุด กัมพูชา 2,028 จุด

สำหรับรายงานจุดความร้อนในประเทศไทย 10 อันดับแรกได้แก่

จังหวัดจำนวนจุดความร้อน
1กาญจนบุรี335
2แม่ฮ่องสอน101
3เพชรบูรณ์89
4ตาก85
5เลย78
6น่าน78
7เชียงใหม่74
8ชัยภูมิ71
9อุทัยธานี70
10พะเยา67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง