คัดลอก URL แล้ว
ภาคเหนือ ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงต่อเนื่อง – จุดความร้อนพบเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

ภาคเหนือ ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสูงต่อเนื่อง – จุดความร้อนพบเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

KEY :

รายงานการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า ในขณะนี้ บริเวณภาคเหนือของไทยยังคงเผชิญกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสูงภาพในหลายพื้นที่ด้วยกัน โดยสภาพอากาศยังคงถือเป็นสภาพอากาศปิด มีอากาศเย็นในตอนเช้า กระแสลมอ่อน ซึ่งจะส่งผลให้ฝุ่นยังคงสามารถสะสมตัวได้ดี ในพื้นที่

และแนวโน้มค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กในบริเวณภาคเหนือของไทย ยังคงเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่

ทางด้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีบางพื้นที่ในบริเวณที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ยังมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ในระดับที่สูง และบางจุดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากในระยะนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกระแสลมอ่อน โดยคาดว่า ในช่วงหลังจากวันที่ 14 ก.พ. เป็นต้นไป น่าจะเริ่มดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศแปรปรวน ที่จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับในพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงแนะนำให้ประชาชนเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือพื้นที่กลางแจ้งโดยไม่จำเป็น หรือควรสวมหน้ากาก N95 เพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1อบต.สระ
จ.พะเยา
629
2รพ. ฮอด
จ. เชียงใหม่
526
3บ้านใหม่ปูเลย
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
426
4รพ.ฟากท่า
อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์
364
5รร.บ้านห้วยทรายขาว
ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
357
6บ้านแม่ปาน
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
344
7จุดเฝ้าระวังฝุ่น PM ทต.เหมืองจี้
อ.เมือง จ.ลำพูน
315
8รพ.สต.บ้านแกน้อย
จ.เชียงใหม่
314
9ที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม
ต.วิเชตนคร อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง (กพร.)
293
10บ้านห้วยริน
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
279

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความร้อนพุ่ง

รายงานจุดความร้อนจาก GISTDA ในภูมิภาคของเมื่อวานที่ผ่านมา (12 ก.พ.) พบว่า พุ่งสูงขึ้นในทุกประเทศ โดยพบจุดความร้อน 9,338 จุด ประกอบไปด้วย

โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นมากกว่า เท่าตัว โดยจำนวนจุดความร้อนที่พบของวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา พบ 1,187 จุด และมีแนวโน้มที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน โดยพบในพื้นที่ดังต่อไปนี้คือ

ส่วนใหญ่กระจุกตัวกันอยู่ในบริเวณภาคเหนือ โดยพบทั้งหมด 2,108 จุด และเกาะกลุ่มใหญ่ ๆ อยู่ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ซึ่ง 5 จังหวัดที่มีการพบจุดความร้อนสูงที่สุดคือ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง