คัดลอก URL แล้ว
ฝุ่น PM2.5 ยังสูงหลายพื้นที่ / 59 จุดกทม. อยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ฝุ่น PM2.5 ยังสูงหลายพื้นที่ / 59 จุดกทม. อยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับที่สูงต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคเหนือ และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เนื่องจากในระยะนี้ สภาพอากาศปิด เนื่องจากกระแสลมอ่อน อากาศเย็นในตอนเช้า ส่งผลให้ฝุ่น ควันต่าง ๆ สามารถสะสมตัวได้ดี เมื่อรวมกับฝุ่น ควันจากรถยนต์ และการเผาวัสดุทางการเกษตร ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้สามารถสะสมตัวได้มากในหลายพื้นที่

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

โดยข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. วันนี้ ( 24 ม.ค.) พบว่า 10 จุดตรวจวัดที่พบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงที่สุดในประเทศไทย ได้แก่

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว
ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
301
2อบต.ป่าหุ่ง
ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย
236
3รพ.สระโบสถ์
จ.ลพบุรี
213
4เทศบาลตำบลเบิกไพร
ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
209
5วิทยาลัยอาชีวศึกษากาญจนบุรี
ต.บ้านเหนือ อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี
198
6บ้านใหม่ปูเลย
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
191
7รร.บ้านห้วยทรายขาว
ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
187
8รพ.ส่งเสริมสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาฯ
ต.สามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
187
9โรงเรียนบ้านแม่ส้าน
หมู่บ้านบ้านแม่ส้าน จ.ลำปาง
186
10รพ.สต. บ้านหว้า
ต.โนนทัน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
185
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร โดยพบว่า แนวโน้มของฝุ่นละอองขนาดเล็กมีแนวโน้มพิ่มสูงขึ้น โดยตรวจวัดได้ต่ำสุดคือ 45 ไมโครกรัม/ลบ.ม. สูงที่สุดคือ 81 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 59 พื้นที่

โดยอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพจำนวน 45 จุดด้วยกัน เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ 20 จุด ซึ่งค่าเฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมดอยู่ที่ระดับ 60 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

ภาพ – เว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ซึ่งภาพรวมของกรุงเทพฯ อยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายพื้นที่ โดย 10 อันดับแรกที่พบค่าฝุ่นละอองสูงเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมงจากจุดตรวจวัดของกรุงเทพฯ เมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้ (24 ม.ค.) ได้แก่

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1เขตหนองแขม
สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81
81
2เขตคลองสามวา
ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา
76
3เขตประเวศ
ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์
70
4เขตลาดกระบัง
ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ
70
5เขตบางเขน
ภายในสำนักงานเขตบางเขน
69
6เขตบึงกุ่ม
ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม
69
7เขตดอนเมือง
ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง
68
8เขตหลักสี่
ภายในสำนักงานเขตหลักสี่
66
9เขตมีนบุรี
สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี
66
10เขตบางซื่อ
ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ
66
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ช่วงวันที่ 23-24 และ 27-28 มกราคม 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด ประกอบกับมีมวลอากาศเย็นระลอกใหม่จากประเทศจีนแผ่เข้ามา โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่พื้นที่ กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้

ภาพ – เว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จุดความรัอนยังพบทั้งในและนอกประเทศ

สำหรับรายงานจุดความร้อนจากดาวเทียม ในระบบ VIIRS ของ GISTDA ของวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมาพบว่า จุดความร้อนทั้งในและนอกประเทศยังคงมีอยู่จำนวนหลายจุด ใกล้เคียงกับเมื่อวันที่ 22 ม.ค. โดยพบว่า จุดความร้อนในภูมิภาคที่พบได้แก่

สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทยนั้น พบว่า อยู่ในพื้นที่เกษตร จำนวน 164 ชุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 137 จุด, เขตป่าอนุรักษ์ 120 จุด, เขต สปก. 99 จุด บริเวณชุมชนและอื่น ๆ 86 จุด และพื้นที่ริมทางหลงจำนวน 9 จุดด้วยกัน

โดยรายงานจุดความร้อนที่พบในประเทศนั้นแม้ว่าจะมีจำนวนลดลง แต่ยังคงใกล้เคียงเดิมทั้งจำนวนจุด และพื้นที่ที่พบ

ซึ่งในขณะนี้ หลายพื้นที่อยู่ในช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรเช่น อ้อย และยังคงมีการลักลอบเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง