คัดลอก URL แล้ว
ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า เกือบ 20 ล้านล้านเยน สูงสุดในรอบกว่า 40 ปี – เงินเฟ้อยังพุ่ง

ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า เกือบ 20 ล้านล้านเยน สูงสุดในรอบกว่า 40 ปี – เงินเฟ้อยังพุ่ง

KEY :

กระทรวงการคลังของญี่ปุ่นรายงานสถิติการนำเข้าส่งออกเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา โดยพบว่า ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าสูงถึง 19.97 ล้านล้านเยน โดยมีสาเหตุหลักจากราคาพลังงานและวัตถุดิบต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้น ควบคู่กับการที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่มูลค่าการส่งออกก็ลดต่ำลงจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น

โดยมูลค่าการนำเข้านั้นเพิ่มสูงกว่า 118 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้น 39.2% สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG

ส่วนภาคการส่งออกนั้นเพิ่มขึ้น 18.2% หรือคิดเป็นมูลค่า 98.19 ล้านเยน สูงที่สุดในรอบหลายปีเช่นกันจากการส่งออกรถยนต์และเหล็กเพิ่มมากขึ้น

โดยการขาดดุลการข้าที่เกิดขึ้นนี้สูงที่สุดในรอบกว่า 40 ปีของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นการขาดดุลการค้าที่สูงกว่าการขาดดุลการค้าครั้งใหญ่เมื่อปี 2014 กว่า 7 ล้านล้านเยน และสูงกว่าเมื่อเมื่อปี 2021 ถึง 18 ล้านล้านเยนด้วยกัน

ซึ่งการขาดดุลในช่วงปี 2014 นั้นเป็นผลกระทบมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่และส่งผลให้คลื่นสึนามิพัดถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศ ส่งผลให้เกิดการรั่วไหล และนำไปสู่การหยุดระงับใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นจำนวนมาก เพื่อชดเชยพลังงานนิวเคลียร์ที่หายไปจากระบบ

ก่อนที่สถานการณ์จะกลับมาดีขึ้น จากการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ราคาน้ำมันดิบ และก๊าซ ยังคงเป็นปัญหาที่ญี่ปุ่นประสบอยู่ เนื่องจากจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

นักวิเคราะห์คาดว่า สถานการณ์จะค่อย ๆ ดีขึ้น

นักวิเคราะห์ประเมินว่า สถานการณ์ของค่าเงินเยนที่ค่อย ๆ แข็งค่าขึ้น และราคาพลังงานที่มีแนวโน้มลดลง ทำให้การขาดดุลการค้าของญี่ปุ่นก็จะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทำให้การขาดดุลนี้ พลิกกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง

นอกจากนี้ราคาสินค้าบางอย่างยังคงมีราคาที่ค่อนข้างสูงจากผลกระทบของสถานการณ์ในยูเครน โดยที่ล่าสุด รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่น ได้มีการเจรจากับรัฐบาลแคนาดา เพื่อจัดหาปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมสำหรับใช้ในภาคเกษตรของประเทศ

เงินเฟ้อพุ่งสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี

ดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ดัชนีราคาผู้บริโภคหรือ CPI ของสินค้าทุกรายงานยกเว้นอาหารสด เพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงในอัตราที่สูงที่สุดในรอบกว่า 40 ปี นับตั้งแต่ปี 1981 โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 นั้นดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 3.7%

ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยราคาก๊าซ ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 23% , ค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น 21%

ในขณะเดียวกันราคาอาหารต่าง ๆ ก็ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเพิ่มขึ้น 7.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และถือเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 46 ปี ซึ่งสินค้าในกลุ่มอาหารหลายชนิด ญี่ปุ่นจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งสินค้าที่มีราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหลายชนิด เช่น

ซึ่งสินค้าจำพวกเนื้อสัตว์ นม ไข่ ได้รับผลกระทบจากราคาอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ทำให้สินค้าในกลุ่มนี้ขยับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รวมถึงสินค้าอื่น ๆ ที่ต้องใช้ข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบ

ทางด้านของสถาบันวิจัยเอกชนที่ได้มีการสำรวจสินค้า อาหารและเครื่องดื่มระบุว่า ยังคงมีแนวโน้มที่สินค้าจะปรับขึ้นราคาอีกกว่า 4 พันรายการ โดยสินค้าบางชนิดมีการปรับขึ้นราคาสูงมากราว 1.6 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ก่อนหน้า

บริษัทแท็กซี่แจ้งคนขับให้ประหยัดน้ำมัน

ท่ามกลางราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น บริษัทแท็กซี่ได้มีการปรับตัวเช่น การซื้อรถยนต์ไฮบริดที่ช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของบริษัท รวมถึงการแจ้งต่อคนขับรถให้ขับประหยัดน้ำมัน ด้วยการดับเครื่องเมื่อไม่จำเป็น ไม่เบรคกระทันหัน หรือเร่งเครื่องมากจนเกินไป ร่วมถึงการตั้งเครื่องปรับอากาศในรถให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย


ข้อมูล –


ข่าวที่เกี่ยวข้อง