KEY :
- ‘มูลนิธิ วิน วิน’ นำผู้เสียหาย ร้องกระทรวงยุติธรรม หลังถูกหลอกลงทุนผ่านแอปฯ อ้างปล่อยกู้กำไรงาม
- เหยื่อหลงเชื่อเกือบ 2 พันคน สูญเงินกว่า 100 ล้านบาท
- คาดว่าจะยังคงมีผู้เสียหายอีกจำนวนมากที่ไม่ได้แสดงตน และยังไม่ได้แจ้งความลงบันทึกประจำวัน
วันนี้ (4 มกราคม 2566) ที่ อาคารกระทรวงยุติธรรม ถ.เเจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ มูลนิธิ วิน วิน นำสมาชิกผู้เสียหาย เข้ายื่นหนังสือต่อ ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จากกรณีเเอปพลิเคชั่น กรณีมีบริษัทหนึ่งให้บริการแพลตฟอร์ม ผ่านเเอปพลิเคชั่น ให้ประชาชนมาลงทุนและรับผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ แอปพลิเคชั่นดังกล่าวจะมีลูกเล่นเพิ่มเติมก็คือให้ดำเนินการชำระเครดิตและจะรับรายได้ตอบแทนรายวันมีผู้เสียหายนับหมื่นคนและมูลค่าความเสียหายนับพันล้านบาทโดยเชื่อว่าทำเป็นกระบวนการ โดยผู้เสียหายส่วนใหญ่เข้ามาฝากเงินกับ platform นี้ โดยมีกำหนดระยะเวลาคืนตั้งแต่ 7 วัน 15 วัน 30 วัน 90 วันสูงสุด 180 วันยกตัวอย่างฝากเงิน 1,000 เหรียญ US จะได้ผลตอบแทนสูงสุด 180 วันโดยได้รับผลตอบแทนวันละ 1.45% ของยอดเงินที่ลงทุนโดยขอให้สมาชิกลงทุนขั้นต่ำ 100 เหรียญและเปิดใช้งานครั้งแรกด้วยเงิน 35 เหรียญ
โดยรายละเอียดหนังสือมีดังนี้ เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนารายชื่อผู้เสียหาย เข้าชื่อร้องเรียน จำนวน 1,767 คน พร้อมเอกสารประกอบ จำนวน 1 ชุดสืบเนื่องจากมีประชาชนผู้เสียหาย ร้องเรียนมายังมูลนิธิวินวิน ขอให้เข้ามาช่วยเหลือว่าตนเองตกเป็นผู้เสียหายจากการหลอกให้เข้าร่วมลงทุนแพลตฟอร์ม ผ่านเเอพพลิเคชั่น โดยตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า แพลตฟอร์ม ให้บริการบนเว็ปไซด์ ภายใต้การให้บริการ เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและการให้กู้ยืมเงิน มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ อยู่ที่ใน กรุงเทพมหานคร และมีสาขาในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย โดยมีพฤติการณ์เครือข่ายแม่ทีม หรือผู้ชักชวน ให้สมาชิกเข้ามาลงทุนกับบริษัท ฯ ผ่านการแนะนำตัวต่อตัว และช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำการโอนเงินเข้ามาฝากกับบริษัท ฯ ผู้เสียหายจะโอนเงินบาทจากบัญชีธนาคาร
โดยจะถูกคำนวนแปลงค่าเงินเป็นสกุลเงิน US ดอลลาร์ ก่อนทำการโอนทุกครั้ง ภายในเว็บไซด์มีรูปแบบการใช้งานในแต่ละฟังก์ชั่น ให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกในแต่ละฟังก์ชั่นแตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลตอบแทนเริ่มต้นที่ 0.22 – 1.45% ต่อวัน หรือคิดเฉลี่ยเป็นร้อยละ 360% ต่อปี ซึ่งทำให้มีสมาชิกนักลงทุนหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อ และทำการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของบริษัท รวม 5 บัญชี มีการจัดกิจกรรมเชิญชวนให้สมาชิกเข้ามาลงทุน ผ่านพนักงาน ตัวแทน แม่ทีม และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งการจัดอบรมสัมมนา และการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้มาร่วมลงทุน ผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ต่อมา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 พบว่า แพลตฟอร์มดังกล่าวไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ไม่สามารถทำธุรกรรมฝากถอนเงินเข้าออกได้ตามปกติ โดเมนเว็ปไซด์ถูกปิดตัว สำนักงานบริษัทปิดทำการ ไม่มีพนักงานมาทำงาน ในเวลาต่อมากลับไม่มีคำชี้แจงใดๆ อย่างเป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร จากผู้บริหาร กรรมการบริษัทฯ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม จึงทำให้มีสมาชิกผู้เสียหายจำนวนมากรวมตัวกัน และร่วมกันลงชื่อ จำนวน 1,767 คน (ณ วันที่ 3 มกราคม 2566)
ซึ่งคาดว่าจะยังคงมีผู้เสียหายอีกจำนวนมากที่ไม่ได้แสดงตน และยังไม่ได้แจ้งความลงบันทึกประจำวัน เข้ามาร่วมลงชื่ออีกเป็นจำนวนมาก และมีมูลค่าความเสียหายนับพันล้านบาท ประชาชนผู้เสียหายจึงร้องเรียน เพื่อขอให้มูลนิธิฯ เข้ามาช่วยเหลือเป็นผู้ประสานงาน ไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามาดำเนินการสอบสวน และสืบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไป เป็นคดีพิเศษจึงเรียนมาเพื่อโปรดให้ความอนุเคราะห์ด้วย จะขอบคุณยิ่ง
ภาพ – วิชาญ โพธิ