คัดลอก URL แล้ว
‘อวกาศไทย’ กับแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566 – 2580

‘อวกาศไทย’ กับแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566 – 2580

KEY :

ยังคงเป็นสิ่งที่มวลมนุษยชาติให้ความสนใจและศึกษามาโดยตลอด สำหรับการสำรวจอวกาศที่มีการเริ่มค้นคว้ากันมาตั้งแต่สมัยโบราณของชาวมายา หรือแม้กระทั่งชาวอียิปต์โบราณได้สร้างพีระมิดที่ชี้ถึงดวงดาวต่าง ๆ รวมถึงสโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ของประเทศอังกฤษ ซึ่งคาดว่าสร้างขึ้นเพื่อบอกตำแหน่งของดวงอาทิตย์ จนนำไปสู่การต่อยอดทางด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ด้านดาราศาสตร์และอวกาศ ในการสำรวจและไขปริศนานอกโลก

ซึ่งในปัจจุบันประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ จีน รัสเซีย และกลุ่มประเทศยุโรป ถือได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาการสำรวจนอกโลกมาโดยตลอด สิ่งเหล่านี้ก่อเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศ และการแผ่กระจายอุตสาหกรรมอวกาศไปทั่วโลกเช่นกัน จนเกิดการแข่งขันในการพัฒนาการสำรวจอวกาศแบบก้าวกระโดดของชาติมหาอำนาจ

จากมูลจากบริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ บริษัทให้บริการทางการเงินระดับโลกของสหรัฐฯ ได้มีการประมาณการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศและข้อมูลจากอวกาศมีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ในปี 2021 และมีแนวโน้มจะสูงถึง 30 ล้านล้านบาท ในปี 2040

สำหรับในประเทศไทยได้ศึกษาและวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งดาวเทียมดวงแรกของประเทศอย่าง ‘ไทยคม 1’ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2536 ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการต่อยอดพัฒนาในอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศไทย

หากยังจำกันได้เมื่อช่วงกลางปี 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอ

และล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ครม.เห็นชอบร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566-2580 (National Space Master Plan 2023 – 2037) และเห็นชอบหลักการร่างนโยบายดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ

นั้นคือความชัดเจนถึงการเดินหน้าภารกิจด้านกิจการอวกาศ ที่ปัจจุบันประเทศไทยมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกว่า 35,600 กิจการ และสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ประมาณ 56,122 ล้านบาทต่อปี

แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566 – 2580

ร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2566-2580 (National Space Master Plan 2023 – 2037) มีวิสัยทัศน์ คือ “มุ่งพัฒนาและใช้ประโยชน์จากกิจการอวกาศเพื่อความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน” ดำเนินพันธกิจ เช่น พัฒนาและส่งเสริมความมั่นคงอวกาศ พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอวกาศ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอวกาศ ติดตาม เฝ้าระวัง วิจัยและสำรวจอวกาศ ร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติฉบับนี้ จะขับเคลื่อนภายใต้ 8 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

โดยมีเป้าหมาย เพื่อใช้ประโยชน์จากกิจการอวกาศในการรักษาความมั่นคง สร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การให้บริการสาธารณะและเชิงพาณิชย์ รวมถึงขับเคลื่อนกิจการอวกาศแบบบูรณาการ พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมอวกาศที่มีคุณภาพ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมรองรับกิจการอวกาศ และร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการอวกาศ

ประเทศไทยอยู่จุดไหนในวงการ ‘อวกาศ’ ?

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า จริง ๆ แล้ววงการอวกาศนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ในบ้านเรา ซึ่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ส่งดาวเทียมสื่อสาร แล้ว 8 ดวง หรือที่เรียกกันว่า ‘ดาวเทียมไทยคม’ ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 4 ดวงที่ยังปฏิบัติภารกิจอยู่ในวงโคจร คือ ดาวเทียมไทยคม 4 , 6 , 7 และ 8

หากเทียบในระดับโลกประเทศไทยยังห่างจากชาติมหาอำนาจ ทางด้านเทคโนโลยีอย่างมาก แต่หากเทียบกับในระดับภูมิภาคด้วยกันก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่ไกลกันมาก ซึ่งการเข้าถึงเทคโนโลยีอวกาศในปัจจุบันเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้เราทุกคน ทั้งเรื่องการสื่อสาร ระบบ GPS และอินเตอร์เน็ต ที่มาจากดาวเทียมมากขึ้น

ปัจจุบันการวิจัยและพัฒนาอวกาศไทย ได้มีการรวมตัวกันเป็นภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC) ประกอบด้วย 6 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศ นำโดยหัวเรือใหญ่อย่าง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA และ 6 สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ซึ่งเป้าหมายของภาคีฯ ก่อนที่จะส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์นั้น ต้องเริ่มจากการสร้างดาวเทียม 2 ดวง คือ ดาวเทียม TSC-P ในปี 2023 / ดาวเทียม TSC-1 ในปี 2025 และดาวเทียมดวงที่ 3 คือ ดาวเทียม TSC-2 ซึ่งจะเป็นยานอวกาศที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะไปโคจรรอบดวงจันทร์ พร้อมสำรวจศึกษาดวงจันทร์ด้วยเช่นกัน

ประเทศไทยได้อะไรจากการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า แน่นอนว่าอุตสาหกรรมอวกาศบ้านเราจะเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมอวกาศ

ซึ่งการผลักดันและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศจะต่อยอดไปถึงการพัฒนาคน เด็ก ๆ และเยาวชน ที่สนใจในเทคโนโลยีอวกาศ โดยจะมีส่วนสำคัญในการสร้างบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในภายภาคหน้าได้เป็นอย่างดี

ร่างนโยบายดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ

โดยร่างดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการมีดาวเทียม สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่สามารถกำกับดูแลและบริหารจัดการเอง เพื่อใช้ในการให้บริการสาธารณะ ความมั่นคง และเชิงพาณิชย์ เนื่องจากที่ผ่านมารัฐได้รับการจัดสรรช่องสัญญาณ จำนวน 1 วงจรดาวเทียม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ หรือสัญญาสัมปทานดาวเทียม เพื่อใช้ในกิจการของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้งานในปัจจุบัน ต่อมาหน่วยงานของรัฐได้มีการเช่าซื้อช่องสัญญาณของดาวเทียมเพิ่มเติมจากดาวเทียมไทยคม 6 ไทยคม 7 และช่องสัญญาณจากต่างชาติ

โดยเป็นการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมภาพถ่าย ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และดาวเทียมระบบนำร่อง จึงจำเป็น ต้องมีดาวเทียมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐหรือดาวเทียมที่รัฐ มีสิทธิในการควบคุม บริหารจัดการเพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องร่างนโยบายดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติขึ้น โดยมีแนวความคิดหลัก คือ

ซึ่งมอบหมายให้ NT ดำเนินการจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญดำเนินการสำรวจความต้องการใช้งานดาวเทียมในเชิงลึกต่อไป และร่วมพิจารณาเพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จภายในระยะเวลา 3 ปี


ข้อมูล


ข่าวที่เกี่ยวข้อง