KEY :
- กองอำนวจการน้ำรายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันนี้ พบปริมาณฝนตกในรอบ 24 ชั่วโมงในพื้นที่กรุงเทพฯ สูงที่สุดในประเทศ คือ 114 มม.
- แจ้งหน่วยงานติดตามสถานการณ์ใกล้ชิดในพื้นที่ที่มีฝนตกหนักเกิน 90 มม.
- พร้อมแจ้งเตือนน้ำท่วมขัง – น้ำหลากในหลายจังหวัด
…
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้รายงานภาพรวมสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 11 ก.ย. โดยระบุว่า บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ซึ่งปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ กรุงเทพมหานคร (114 มม.) จ.นครศรีธรรมราช (105) และจ.เลย (99 มม.)
เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมขัง ดังนี้
- ภาคเหนือ
จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จ.เลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ - ภาคกลาง
จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล - ภาคตะวันออก
จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด - ภาคใต้
จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และพังงา
สำหรับระดับน้ำแม่น้ำสายหลัก ที่มีระดับน้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ทางด้านของปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทุกขนาดมีจำนวน 53,058 ล้าน ลบ.ม. (65%) โดยแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 46,361 ล้าน ลบ.ม. (65%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง
บริเวณภาคเหนือ มีแหล่งน้ำที่ต้องเฝ้าระวังระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แควน้อย ทับเสลา อุบลรัตน์ ขุนด่านปราการชล บางพระ หนองปลาไหล และบึงบอระเพ็ด
ตามที่ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้มีประกาศฉบับที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 65 เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำมูล ในช่วงวันที่ 13 – 18 ก.ย. 65 โดยศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบน พบว่ามีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนราษีไศลเพิ่มมากขึ้นและระดับน้ำบริเวณหน้าเขื่อนได้เพิ่มสูงขึ้นเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำมูลในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) การคาดการณ์ว่าจะมีฝนตกหนักในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 9–12 ก.ย. 65
ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ ได้ประสานให้กรมชลประทานปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดเพื่อลดผลกระทบด้านท้ายน้ำ คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนราษีไศล อยู่ในเกณฑ์ 1,100–1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที และมวลน้ำจะไหลไปรวมกับแม่น้ำชีและลำน้ำสาขา ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่าน อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี อยู่ในเกณฑ์ 2,500–2,600 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 13 – 18 ก.ย. 65 ระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณ อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี จะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.30–0.50 ม. โดยไม่ส่งผลกระทบกับพนังกั้นน้ำที่ได้เตรียมป้องกันไว้แล้ว
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ จึงเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
- ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ
- ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัย รวมทั้งจัดจราจรน้ำในแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำ ที่จะไหลหลากมายังบริเวณแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี
- เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
- ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์