นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กกล่าวถึงกรณีราคาน้ำมันปาล์มขวด สวนทางราคาผลปาล์มดิบในตลาดที่ลดลงว่า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาราคาผลปาล์มดีดตัวสูงขึ้น ถึง 12 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเกษตรกรนั้นได้รับประโยชน์สูงมาก แต่ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา ราคาผลปาล์มปรับลดลงเนื่องจากอินโดนีเซียได้หันมาเร่งรัดการส่งออกอีกครั้ง มีผลทำให้ราคาในตลาดโลกปรับลดลง ทำให้ราคาผลปาล์มปรับลดลงมาในช่วงเวลานี้
ส่วนราคาน้ำมันปาล์มบริโภคอยู่ในราคาที่สูงนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้มีการติดตามมาโดยตลอด และราคาน้ำมันปาล์มขวดบริโภคยังทรงอยู่เนื่องจาก เป็นสต๊อกเดิม ที่รับซื้อมาในราคาที่ผลปาล์มสูงมาก และสกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มขวดในช่วงต้นทุนที่สูง จะได้มีการสั่งการ ไปก่อนหน้านี้ให้มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเรื่องในการกำกับให้ปรับลดราคาน้ำมันปาล์มขวดบริโภคลงให้สอดคล้องกับต้นทุนใหม่ให้เร็วที่สุด ซึ่งคาดว่าในห้วงสัปดาห์นี้จะปรับลดราคาลงได้สอดคล้องกับต้นทุนใหม่ที่เกิดขึ้น และตนพยายามจะดูแลผลประโยชน์ของทุกฝ่ายให้ดีที่สุด ขออย่ากังวล และยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก อย่างใน win win model ที่จะดูแลทางเกษตรกร ผู้ประกอบการผู้ผลิต และผู้บริโภคให้อยู่ร่วมกันได้ เป็นภาระของแต่ละฝ่ายให้น้อยที่สุด และเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายให้ได้มากที่สุด
ส่วนข้อเสนอของผู้ประกอบการนม ที่ขอปรับขึ้นราคา นายจุรินทร์กล่าวว่า มีการขอเสนอปรับราคานมผง และนมพร้อมดื่ม uht และพาสเจอร์ไรส์ แต่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้มีการอนุญาตให้มีการปรับราคาขึ้นแต่อย่างใด โดยจะพยายามตรึงไว้ให้ได้นานที่สุด จนกว่าจะอั้นไม่อยู่จริงๆ เมื่อต้นทุนปรับสูงขึ้นไปจนกระทั่ง ผู้ประกอบการไม่สามารถผลิตต่อได้ เนื่องจากไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาของขาดตลาด ซึ่งต้องทำให้เกิดความสมดุลที่สุด
โดยที่ผ่านมาได้มีการทำความเข้าใจ กับผู้ประกอบการแต่จะต้องดูด้วยเหตุด้วยผลแต่ละกรณี ข่าวส่วนไหนจำเป็นที่ต้นทุนสูงขึ้นจริงก็ต้องมีการพิจารณา โดยจะใช้เป็นกรณีเฉพาะ ไม่ใช่เป็นการปรับราคาทั้งหมดโดยไม่ดู ว่าต้นทุนสูงขึ้นจริงหรือไม่ แต่ในภาพรวมต้องยอมรับว่าขณะนี้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้นจริง จากราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น ทั้งค่าน้ำมันค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและภาคการขนส่งสูงขึ้นตาม แต่พยายามดูว่าจะทำอย่างไรให้กระทบปลายทาง ภาคการผลิตให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ทั้งนี้นายจุรินทร์ ยังกล่าวถึง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ว่าอย่างปรับดีขึ้นในช่วงระยะหลัง ส่วนแผนรับมือวิกฤตพลังงานและอาหารในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ในช่วง 3 เดือนนี้ ถือเป็นภารกิจที่กระทรวงพลังงานเป็นตัวหลักในการดำเนินการ แต่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคในภาพรวม กระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้เข้าไปดู ว่าจะต้องมีการรับมือหรือดูแลอย่างไรแต่ในภาคการผลิตหลายกระทรวงต้องเกี่ยวข้อง โดยกระทรวงพาณิชย์มีแผนงานในการเดินหน้าตลอดปี 65 ชัดเจน เนื่องจากไม่ได้ดูเฉพาะราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเท่านั้น แต่เป็นการดูราคาพืชผลทางการเกษตร การค้าชายแดน การเร่งรัดการส่งออก แต่จะต้องมีการปรับบางส่วนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น