คัดลอก URL แล้ว
นิคารากัวไฟเขียว ให้ทัพเรือ – ทัพอากาศของรัสเซียเข้าประเทศได้

นิคารากัวไฟเขียว ให้ทัพเรือ – ทัพอากาศของรัสเซียเข้าประเทศได้

KEY :

ประธานาธิบดี แดเนียล ออร์เตกา ของนิคารากัวได้ลงนามในคำสั่งในการในการอนุญาติให้มีกองกำลังทหารต่างชาติ เข้าใช้พื้นที่ของประเทศนิคารากัวได้ ซึ่งที่ผ่านมานั้น นิคารากัวได้อนุญาติให้กองกำลังต่างชาติสามารถเข้ามาใช้พื้นที่ของนิคารากัวได้ ด้วยเหตุผลทางด้านความร่วมมือต่าง ๆ เช่น การต่อต้านองค์กรอาชญากรรมและการค้ายาเสพติด และการช่วยเหลือฉุกเฉินในด้านต่าง ๆ

นอกจากรัสเซียแล้ว นิคารากัวได้อนุญาตให้กองทัพเรือ กองทัพอากาศของประเทศเวเนซุเอลา ฮอนดูรัส กัวเตมาลา สาธารณรัฐโดมินิกัน คิวบา เม็กซิโก เอลซัลวาดอร์ รวมถึงสหรัฐอเมริกา สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ของนิคารากัวได้เช่นเดียวกับรัสเซีย

ซึ่งข้อตกลงนี้จะมีผลในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2022 นี้ เป็นต้นไป โดยเบื้องต้นมีรายงานว่า นิคารากัวจะเปิดรับกองกำลังของรัสเซีย ทั้งกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 ที่จะถึงนี้เป็นต้นไป

โดย แดเนียล ออร์เตกา ประธานาธิบดีนิคารากัว ระบุว่า จะเป็นโครงการแลกเปลี่ยน และฝึกอบรมทางด้านการทหาร เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ระหว่างสองประเทศ โดยมีทหารรัสเซียจำนวนนับร้อยนาย ที่เข้าร่วมฝึกอบรวม และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับกองทัพเรือ กองทัพอากาศ และหน่วยสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์สื่อสารระหว่างเรือรบ และอากาศยาน สำหรับการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้าย กลุ่มพ่อค้ายาเสพติด

ในกรอบข้อตกลงดังกล่าว ยังอนุญาตให้กองทัพรัสเซียสามารถลาดตระเวนตามแนวชายฝั่งแปซิฟิก และแคริบเบี้ยนของนิคารากัวได้อีกด้วย และการฝึกอบรมนี้ ทางการนิคารากัวระบุว่า สิ่งที่พูดถึงนี้ จะกลายเป็นภารกิจร่วมกันจำนวน 2 ครั้งต่อปี ซึ่งเปิดกว้างให้กับหลายประเทศเช่นกัน

มีชื่อสหรัฐฯ แต่อาจจะไม่ได้มีโอกาส

จากประกาศดังกล่าว หลายฝ่ายคาดว่า รัสเซียน่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากข้อตกลงนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา นิคารากัวมีความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซียมายาวนาน โดยเฉพาะ ประธานาธิบดี แดเนียล ออร์เตกา นั้นมีความสัมพันธ์กับรัสเซียมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยยังเป็นสหภาพโซเวียด

ซึ่งในขณะนี้ นิคารากัวมีการปฏิวัติเกิดขึ้นในปี 1979 ที่ทำให้ในอีก 6 ปีต่อมา แดเนียล ออร์เตกา ได้ขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีของนิคารากัวเป็นสมัยแรก ระหว่างปี 1985 – 1990 ก่อนที่จะลงจากตำแหน่ง และได้กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งในปี 2007

ในปี 2014 ประธานาธิบดี แดเนียล ออร์เตกา ก็ได้ออกมาสนับสนุนรัสเซียในการเข้าผนวกแหลมไครเมียอย่างชัดเจน และในปีเดียวกันนั้น ประธานาธิบดีปูติน ก็ได้เดินทางไปเยือนนิคารากัว ซึ่งออร์เตกา ก็ออกมาต้อนรับอย่างเต็มที่

ซึ่งที่ผ่านมารัสเซียก็ให้การสนับสนุนทั้งทางด้านเงินทุน และทางด้านการทหาร ไม่ว่าจะเป็น รถถัง เฮลิคอปเตอร์ และอื่น ๆ สะท้อนภาพความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองประเทศ

ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างนิคารากัวกับสหรัฐฯ นั้นไม่ค่อยสู้ดีนัก จากสาเหตุของการที่สหรัฐฯ มองว่า ปธน. ออร์เตกา เป็นหนึ่งในผู้นำเผด็จการที่ใช้อำนาจในการจับกุมดำเนินคดีผู้นำฝ่ายค้ายหลายสิบคนในช่วงที่ผ่านมา

หลายประเทศกังวลต่อท่าทีที่เกิดขึ้น

จากข้อตกลงที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้หลายประเทศมีความกังวลต่อการรวมกลุ่มประเทศที่เป็นพันธมิตรกับรัสเซียในแถบอเมริกากลาง ที่จะมีความเคลื่อนไหวทางทหารมากยิ่งขึ้น และอาจจะนำไปสู่การมีฐานทัพของรัสเซียในภูมิภาค เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในซีเรีย ซูดาน หรือในเวเนซุเอลา


ที่มา – https://tass.com/world/1462439


ข่าวที่เกี่ยวข้อง