คัดลอก URL แล้ว
ทำความเข้าใจ ‘โครงสร้างราคาน้ำมัน’ ของประเทศไทย

ทำความเข้าใจ ‘โครงสร้างราคาน้ำมัน’ ของประเทศไทย

KEY :

ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในบ้านเรา ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งภาคประชาชน และการขนส่ง ผู้ประกอบการต่าง ๆ ทำให้สินค้าหลายชนิดต่างทยอยปรับราคาตามสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ปัจจัยสำคัญนั้นมาจากการราคาในตลาดน้ำมันโลกมีความผันผวนสูง และมีการปรับตัวสูงขึ้นแตะ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่ทำให้ราคาตลาดนำมันโลกมีความผันผวนนั้น เกิดมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดทั่วโลกอยู่ ณ ขณะนี้ กินเวลามาอย่างต่อเนื่องกว่า 2 ปี และอีกส่วนสำคัญมาจากภาวะ ‘สงครามเย็น’ จากความขัดแย้งระหว่าง ‘ยูเครน-รัสเซีย’ จนนำไปสู่การคว่ำบาตรของชาติมหาอำนาจอย่าง ‘สหรัฐฯ’ รวมทั้งกลุ่มชาติตะวันตก

มิหนำซ้ำกลุ่มประเทศโอเปก ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ได้ลดกำลังการผลิตน้ำมันลง แม้จะมีการเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นมาบ้างแล้วก็ตาม แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ

การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในไทย ม.ค.-ก.พ.65

จากข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 2 เดือนของปี 2565 (มกราคม-กุมภาพันธ์) การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยอยู่ที่ 30.12 ล้านลิตร/วัน เนื่องจากฐานการใช้กลุ่มเบนซินในเดือนมกราคม 2564 อยู่ในระดับต่ำ สาเหตุจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปริมาณการใช้กลุ่มแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 29.51 ล้านลิตร/วัน

การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ 77.00 ล้านลิตร/วัน โดย

นอกจากนี้ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 มีการจำหน่ายน้ำมันดีเซลเพื่อการผลิตไฟฟ้าราว 7.09 ล้านลิตร/วัน ส่วนการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 6.88 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.1)

จากการใช้น้ำมันมีที่แนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,029,709 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.5)

โดยการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 950,269 บาร์เรล/วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.7) สอดคล้องกับความต้องการใช้ในประเทศที่สูงขึ้น มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 83,369 ล้านบาท/เดือน

โครงสร้างราคาน้ำมัน

1.ต้นทุนเนื้อน้ำมัน (ร้อยละ 40 – 60) คือ ต้นทุนราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงกลั่น ซึ่งอ้างอิงราคาตามตลาดกลางภูมิภาคเอเชีย

กลุ่มน้ำมันเบนซิน ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 26.40-27.32 บาท/ลิตร
กลุ่มน้ำมันดีเซล ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 32.59 บาท/ลิตร

2.ภาษีต่าง ๆ (ร้อยละ 30 – 40) ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำมาใช้เป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศ และบำรุงท้องถิ่น โดยภาษีที่จัดเก็บ ได้แก่

3.กองทุนต่างๆ (ร้อยละ 5 – 20) เช่น

4.ค่าการตลาด (ร้อยละ 10 – 18) คือ ส่วนที่เป็นต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดการคลังน้ำมัน การขนส่งน้ำมันมายังสถานีบริการ รวมถึงการให้บริการของสถานีบริการที่เติมน้ำมันแต่ละลิตรให้กับประชาชน

*ข้อมูลราคาน้ำมัน ณ วันที่ 27 เม.ย.65

ราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ ดังนี้

น้ำมันเบนซิน

***หมายเหตุ ราคา ณ วันที่ 26 เม.ย.65 อยู่ที่ 38.64 / ลิตร

น้ำมันดีเซล

ปัจจัยทางด้านราคา

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

ทั้งนี้จากการคาดการณ์สถานการณ์น้ำมันโลกนั้น ราคาน้ำมันดิบทรงตัวอยู่ในระดับสูง หลังสหภาพยุโรปพิจารณายกเลิกการน้าเข้าน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียจากปัญหาความไม่สงบระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อและมีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับผู้ซื้อหลายรายหลีกเลี่ยงการซื้อน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากรัสเซียเนื่องจากกังวลผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากมาตรการคว่ำบาตรส่งผลให้อุปทานในตลาดตึงตัว

อีกทั้งจากความกังวลว่าอุปทานน้ำมันจากลิเบียจะหยุดชะงัก หลังบริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบียประกาศเหตุสุดวิสัยแหล่งผลิตน้ำมัน Sharara และท่าส่งออกน้ำมัน Mellitah เพิ่มเติมหลังถูกกลุ่มผู้ประท้วงปิดล้อมจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในลิเบีย อย่างไรก็ตาม ราคาได้รับแนงกดดันจากมาตรการล็อกดาวน์ในจีน เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19

1 พ.ค.65 ยกเลิกการตรึง ‘ราคาดีเซล’

เมื่อช่วงกลางเดือน พ.ย.64 ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบ ร่างหลักเกณฑ์การกู้เงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) โดยให้ สกนช. ดำเนินการกู้เฉพาะวงเงิน 20,000 ล้านบาท ตามกรอบของกฎหมายกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่เพื่อพยุงราคาและเตรียมพร้อมสภาพคล่องในการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร เพื่อลดผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชนในช่วงที่สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มผันผวน ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดลงวันที่ 30 เม.ย. 65

โดยหลังวันที่ 1 พ.ค.65 เราอาจได้เห็นตัวเลขราคา ‘น้ำมันดีเซล’ เฉลี่ยอยู่ที่ 36-37 บาท / ลิตร โดยจะมีการปรับขึ้นเป็นขั้นบันไดไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ 0.50 – 1 บาท ทั้งนี้ ราคาดีเซล ที่รัฐบาลอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น อยู่ที่ 9.5 บาท / ลิตร ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดไป ราคาที่แท้จริงจะแตะเกือบลิตรละ 40 บาทเลยทีเดียว

สิ่งที่จะกระทบตามมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการขนส่ง จะแบกรับต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น แน่นอนว่าราคาสินค้าต้องขยับตามขึ้นไปด้วยเช่นกัน

แม้ปัจจุบันภาครัฐ จะพยายามให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทดแทน ทั้งการสนับสนุนให้มาใช้รถไฟฟ้า (EV) มากขึ้น แต่กระนั้นราคาย่อมเป็นอุปสรรคต่อผู้บริโภคไม่น้อย เพราะหากมองกันตามความเป็นจริง ‘รถไฟฟ้า’ ในบ้านเรายังเป็นเรื่องที่ใหม่ เสมือนก้าวแรกที่ย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา

เรื่องราคาน้ำมัน เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถบังคับได้ เนื่องจากประเทศเราต้องนำเข้าน้ำมันเฉลี่ยวันละกว่า 1 ล้านบาร์เรล แน่นอนว่าเรื่องราคาย่อมเป็นไปตามกลไลของตลาดโลก ตามกฎ “อุปสงค์-อุปทาน” และหากราคาน้ำมันยังมีความผันผวนและปรับตัวสูงขึ้น สิ่งที่เราต้องเผชิญคือ ‘ภาวะเงินเฟ้อ’ ซึ่งจะกระทบไปทุกภาคส่วน


ข้อมูลอ้างอิง :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง