ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 และล็อกดาวน์ ทำให้ นาย ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ การว่างงาน ในไตรมาส 3 ของปี เพิ่มขึ้นสูงสุด นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 อยู่ที่ 870,000 คน คิดเป็นอัตราว่างงาน ร้อยละ 2.25
ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ และการตลาด ประสบปัญหาว่างงานมากที่สุด และมีแนวโน้มว่างงานยาวนานขึ้น เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจ และผู้ประกอบการ ไม่สามารถแบกภาระชะลอการจ้างงาน จึงจำเป็นต้องเลิกจ้าง และชะลอรับเด็กจบใหม่
ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้ หนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 ของปี ขยายตัวต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน โดยไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ร้อยละ 4.7 คิดเป็นมูลค่า 14.27 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 89.3 ต่อจีดีพี ลดลงร้อยละจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 90.6
ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนไทย สูงเป็นอันดับ 5 ของเอเชีย และ อันดับ 12 จาก 70 ประเทศทั่วโลก และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจาก เศรษฐกิจยังไม่ขยายตัวตามปกติ ประกอบกับ ปัญหาน้ำท่วม ที่ผ่านมา กระทบหนี้เพื่ออุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้น
ปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย ในชีวิต และทรัพย์สิน ไตรมาส 3 มีภาพรวมคดีอาญา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีคดีรับแจ้ง กว่า 94,000 คดี ส่วนใหญ่เป็นคดี ประทุษร้ายต่อทรัพย์
สศช. ยังพบว่า คนไทย กำลังเผชิญภาวะเหนื่อยล้าทางอารมณ์ หรือภาวะเหนื่อยชีวิต บางส่วนเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยพบว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี 2563 เพิ่มขึ้น จาก
660,000 คน เป็น 737,000 คน จากประชากร ทุกๆ 100,000 คน