คัดลอก URL แล้ว
รู้จัก “นิ้วโป้งเท้าเก” (Hallux Valgus) เวลาใส่รองเท้าก็เจ็บ รักษาได้ไหม?

รู้จัก “นิ้วโป้งเท้าเก” (Hallux Valgus) เวลาใส่รองเท้าก็เจ็บ รักษาได้ไหม?

ในปัจจุบันคุณผู้หญิงหลายคนมีความกังวลใจกับ เรื่อง นิ้วโป้งเท้าเก (Hallux Valgus) เวลาใส่รองเท้าก็เจ็บ และมีผลต่อเรื่องความสวยงาม แต่ในปัจจุบันมีการผ่าตัดแก้ไขแบบแผลเล็กและใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน ซึ่งบทความให้ความรู้โดย นพ.กวิน วงศ์ทองศรี แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ อนุสาขาศัลยศาสตร์เท้าและข้อเท้า และ การผ่าตัดแบบแผลเล็กจากประเทศ Australia ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายวิธีสังเกตอาการ วิธีการรักษานิ้วโป้งเท้าเก สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการดังกล่าวจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างเหมาะสม

ปัจจัยที่ทำให้เกิดมีได้หลายสาเหตุโดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้าเก

• ปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม เท้าแบน โรคไข้ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เส้นเอ็นหลวม
• ปัจจัยภายนอก เช่น การสวมรองเท้าหน้าแคบ

อาการนิ้วโป้งเท้าเก (Hallux Valgus) ที่ต้องมาพบแพทย์

  1. คนไข้มักมีอาการมาด้วยเจ็บบริเวณกระดูกโปนที่หัวแม่เท้า
  2. มีอาการชา เจ็บนิ้วเท้า อาจจะมีภาวะนิ้วเท้าอื่นผิดรูปร่วมด้วย ทำให้คนไข้มีปัญหาในการหารองเท้าที่ใส่แล้วไม่เจ็บลำบาก
  3. มีแผลจากการกดทับบริเวณนิ้วเท้าระหว่างนิ้ว ตาปลาใต้ฝ่าเท้า

ในปัจจุบันมีการรักษาแบบหลากหลายวิธี ดังนี้

• การรักษาแบบตามอาการ เช่น การหารองเท้าที่เหมาะสมใส่ โดยอาจเลือกใส่รองเท้าที่ใส่แล้วไม่รัด มีลักษณะรูปทรงรองเท้าที่มีหน้ากว้าง แต่อาจไม่สวยงาม หรือ อาจทานยาลดอาการอักเสบ
• การรักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบแผลเล็ก
 สามารถช่วยลดระยะเวลาการพักฟื้น
 สามารถเดินได้ทันทีหลังผ่าตัดใน 1 วัน
 ลดอาการเจ็บปวดและปัญหาแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก ทำให้ลดปัญหาในการเกิดแผลเป็น
 คนไข้สามารถผ่าตัดพร้อมกันทั้ง 2 ข้างได้ทันที โดยพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืน และกลับบ้านได้ทันที
 สำหรับคุณผู้หญิงที่มีความกังวลในเรื่องการใส่รองเท้า จะสามารถกลับมาใส่รองเท้าหน้าแคบได้ปกติ โดยไม่รู้สึกเจ็บ

ทั้งนี้ โรคนิ้วโป้งเท้าเก หากปล่อยทิ้งไว้อาจมีปัญหาเรื่องนิ้วอื่น ๆ ที่อาจจะผิดรูปตามมาด้วย หรือเป็นแผลจากการกดทับระหว่างนิ้ว ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง คนไข้สามารถเข้ามารับการปรึกษากับแพทย์ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการรักษาและเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด

ขอบคุณที่มา : นพ.กวิน วงศ์ทองศรี แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ อนุสาขาศัลยศาสตร์เท้าและข้อเท้า และ การผ่าตัดแบบแผลเล็กจากประเทศ Australia ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนวเวช


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง