คัดลอก URL แล้ว
วัณโรคเกิดจากอะไร รู้ทันอาการและสาเหตุ เป็นโรคติดต่อหรือไม่?

วัณโรคเกิดจากอะไร รู้ทันอาการและสาเหตุ เป็นโรคติดต่อหรือไม่?

องค์การอนามัยโลก จัดประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศ กลุ่มประเทศที่มีภาวะวัณโรคสูง จากการรวบรวมสถิติของกองวัณโรค กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2566 พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำทั้งคนไทยและไม่ใช่คนไทย ขึ้นทะเบียนรักษา จำนวน 78,955 ราย

วัณโรคคืออะไร และติดต่อกันอย่างไร

24 มีนาคมของทุกปี สหพันธ์องค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ ได้เสนอให้กำหนดวันที่ 24 มีนาคมของทุกปี เป็นวันวัณโรคโลก เพื่อย้ำเตือนให้ประชากรทั่วโลกตระหนักว่า วัณโรคยังคงระบาดทั่วโลก ซึ่งในบทความนี้ขอนำข้อมูลความรู้จาก พญ.พวงรัตน์ ตั้งธิติกุล แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายการติดต่อหรือการแพร่กระจายของวัณโรค รวมถึงอาการของโรค สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการดังกล่าวจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงที

วัณโรค (TB) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis เกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย โดยร้อยละ 80 ติดเชื้อที่ปอด ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย ส่วนวัณโรคนอกปอด อาจพบได้ในอวัยวะอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบประสาท เป็นต้น

เมื่อผู้ป่วยวัณโรคปอด หลอดลม หรือกล่องเสียง ไอ จาม ทำให้เกิดละอองฝอยฟุ้งกระจาย ผู้ใกล้ชิด สูดหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไปสู่ถุงลมในปอด ทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ในห้องที่ทึบอับแสง หากเสมหะที่มีเชื้อตกลงสู่พื้นที่ที่ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง 6 เดือน

วัณโรค ไม่ติดต่อ โดยการจับมือ การทานอาหารหรือน้ำร่วมกัน การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การใช้แปรงสีฟันร่วมกันหรือการจูบ

คนที่สูดหายใจนำละอองฝอยที่มีเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจ จะทำให้เกิดการติดเชื้อเพียงร้อยละ 30 ของผู้ได้รับเชื้อ และเพียงร้อยละ 10 ของผู้ที่มีการติดเชื้อในร่างกายที่จะเป็นโรคตั้งแต่ช่วงแรกของการติดเชื้อ ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 จะเป็นวัณโรคแฝง คือ ไม่มีอาการและไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยทั่วไปแล้วถ้าไม่ได้รับการรักษา โดยภาวะที่ร่างกายแข็งแรงดี เชื้อที่เข้าไปจะซ่อนตัวอยู่เงียบ ๆ โดยไม่ทำให้เกิดอาการของโรค และเมื่อสุขภาพอ่อนแอลง เชื้อที่สงบนิ่งอยู่ก็จะออกมาทำให้เกิดอาการของโรคได้ โดยร้อยละ 50 จะแสดงอาการออกมาใน 2 ปีแรกของการติดเชื้อ

อาการสำคัญของวัณโรคปอด

ทำไงดี จะติดวัณโรคไหมนะ?

เมื่อติดวัณโรค ควรทำตัวอย่างไรดี?

• รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ต่อเนื่อง และเฝ้าสังเกตผลข้างเคียงขอยา
• ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เพียงพอ
• งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอักเสบ
• ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในระหว่างการรักษาวัณโรค
• แยกห้องกับคนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรก ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ ควรเป็นห้องที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
• จัดบ้านและสถานที่ทำงานให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องถึง
• สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรก
• ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือกระปุกที่มีฝาปิดมิดชิด และนำทิ้งโดยผูกปากถุงให้สนิท
• ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในที่สาธารณะที่มีผู้คนแออัด

โดยปกติผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ไม่ดื้อยาจะหยุดการแพร่เชื้อเมื่อมี 3 ข้อ ดังนี้

  1. หลังรับประทานยา แล้วมีอาการดีขึ้น เช่น ไข้ ไอลดลง เสมหะลดลง
  2. รับประทานยาต้านวัณโรคสูตรเหมาะสม ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  3. ผู้ป่วยที่มีผลเสมหะยอมสีทนกรดให้ผลเป็นบวก จะต้องมีผลเสมหะย้อมสีทนกรดเป็นลบอย่างน้อย 3 ครั้ง

ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการป่วยเป็นโรควัณโรคหรือไม่ แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อตรวจวิฉัยหรือทำการรักษาให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

ขอบคุณที่มาจาก: ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนวเวช Line: @navavej


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง