คัดลอก URL แล้ว
นอนตกหมอนคอเคล็ด ต้องทำยังไง วิธีแก้คอเคล็ด ที่ทำได้ด้วยตัวเอง

นอนตกหมอนคอเคล็ด ต้องทำยังไง วิธีแก้คอเคล็ด ที่ทำได้ด้วยตัวเอง

อาการตกหมอน ปวดคอ คอเคล็ด หรือ กล้ามเนื้อคออักเสบเฉียบพลัน ไม่สามารถหันซ้ายหันขวาได้อย่างปกติ เอี้ยวคอไม่ได้ และอาจจะมีอาการปวดของกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ ร่วมด้วย เช่น กล้ามเนื้อบ่า ไหล่ หรือสะบัก มีวิธีรักษาง่ายๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองมาแนะนำ

คอตกหมอนคืออะไร?

เกิดจาก อาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอเฉียบพลัน ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดตึงคอ เมื่อคลำอาจจะพบการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นลำ ชัดเจน อาจมีอาการปวดและเกร็งของกล้ามเนื้อบ่า สะบักข้างเดียวกันได้ด้วย โดยอาการดังกล่าวทำให้รู้สึกใช้ชีวิตได้ไม่ปกติ ไม่มีความสุข แต่ส่วนมากอาการจะสามารถหายเองได้ภายใน 3-5 วัน

สาเหตุ คอเคล็ด คอตกหมอน

ระหว่างนอนหลับ ลำคอและศีรษะอยู่ในท่าทางที่ผิดปกติ เช่น คอพับ คอเอียง หรือหันไปข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้กล้ามเนื้อข้างนึงหดสั้นและอีกข้างถูกยืดยาวออก ส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่สมดุลกัน กระดูกสันหลังส่วนคอถูกจำกัดการเคลื่อนไหว และเป็นเวลานาน ส่งผลให้เมื่อตื่นขึ้นมาทำให้กล้ามเนื้อที่มีความตึงตัว ถูกกระชากออกทำให้เกิดกล้ามเนื้อคออักเสบเฉียบพลัน อาการจะปวดอย่างรุนแรง

วิธีที่ 1 พักการใช้คอ ประคบร้อน-เย็น

บริเวณที่ปวดมีลักษณอาการบวม แดง ร้อนหรือว่าเป็นอาการอักเสบถ้ามีลักษณะตามนี้อาจจะต้องมีการพักก่อนไม่หันคอเยอะกินยาลดการอักเสบประคบเย็นร่วมด้วยได้

ถ้าเกิดมีอาการเกร็งของคออย่างเดียว แต่ไม่ได้มีอาการอักเสบที่กล่าวมาอาจจะเริ่มใช้ ในส่วนของการประคบอุ่นได้เป็นผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นเกือบร้อนบิดหมาด ๆ แล้วก็ประคบลงบริเวณที่ปวด สักประมาณ 10 นาที หรือ 15 นาทีได้ครับ

วิธีที่ 2 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อคอด้านข้าง

ยืนใช้มือไขว้ไปด้านหลังแล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งอ้อมศีรษะมาแล้วก็อาจจะก้มลงเล็กน้อย หรือว่าเอียงไปด้านข้างเล็กน้อยแล้วก็ดึงไปอีกฝั่งหนึ่ง จะรู้สึกว่ามีอาการตึง ให้ยืดไปจนถึงตึง แต่ว่าไม่เจ็บมากเพราะถ้าเจ็บมากจะเพิ่มการอักเสบได้แล้วก็ค้างไว้ นับ 1-10 ช้า ๆห้ามกลั้นหายใจ ให้กำหนดลมหายใจเข้าออกด้วยเพราะว่าการหายใจมีผลต่อ การหดเกร็งหรือการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

วิธีที่ 3 ยืดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง

จะทำในท่ายืนก็ได้แต่ว่าหลังตรง แต่ว่าไม่เกร็งคอแล้วเอามือประสานกัน ไว้ที่บริเวณท้ายทอยค่อย ๆ กดให้คอก้มลงมาด้านหน้านะครับนับ 1-10 ช้า ๆ จนถึงจุดที่ตึง แต่ว่าไม่เจ็บมากหลังจากนั้น ค่อย ๆ ผ่อนขึ้นมานับ 1-10 ถือเป็นหนึ่งครั้งทำเซตละ 10 ครั้ง เช้า-เย็นเช่นเดียวกัน

วิธีที่ 4 ยืดกล้ามเนื้อคอด้านหน้า

การยืดกล้ามเนื้อคอด้านหน้าก็ง่ายไม่ยาก ให้เอามือประสานกันใช้นิ้วโป้งยันเชยคอขึ้น จนถึงจุดที่เราตึง นับ 1-10 ค้างไว้ทำเซตละ 10 ครั้ง เช้า 10 ครั้ง เย็นก็ 10 ครั้ง

วิธีที่ 5 การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ

เริ่มทำกรณีที่อาการปวดเริ่มบรรเทาลงแล้วมีด้วยกัน 4 ท่าในวิธีนี้

อีก 2 ท่า ก็จะเป็นด้านข้างก็คือ

สำรวจตัวเองว่ามีสาเหตุจากอะไร

เช่น บางคนอาจจะเกิดจาก การเลือกหมอนต่ำหรือสูงเกินไปอันนี้ก็จะเป็นสาเหตุที่เราสามารถปรับเปลี่ยนได้แต่ถ้าเกิดบางคนมีอาการไปแล้ว เช่น นอนดิ้นมาก แล้วมีอาการปวดต้นคอไปแล้ว ก็อาจจะสามารถทำท่ายืดเหยียดและท่าเสริมสร้างความแข็งแรงที่กล่าวมาเพื่อเป็นการบรรเทาอาการ และการป้องกันได้

คำแนะนำเพิ่มเติม

หมอนและที่นอนควรเลือกให้เหมาะสม

หมอนควรเลือกให้เหมาะทั้งขนาดและความแข็ง ให้ดูจากเวลานอนระดับคางไม่เงยหรือก้มมากไป ขนาดใหญ่พอที่จะหนุนมาถึงหัวไหลเล็กน้อยกันคอตกหมอน หลีกเลี่ยงหมอนที่นุ่มมากเลือกระดับแข็งปานกลาง ที่นอนก็หลักการเดียวกันแนะนำอย่าเลือกที่นุ่มมากไปเพราะเวลาพลิกตัวกระดูกสันหลังทั้งคอและเอวจะกระเพื่อม

ท่านอนปรับให้เหมาะสม

ศีรษะและก้านคอควรอยู่ในแนวตรงทั้งท่านอนหงายหรือตะแคง หลีกเลี่ยงนอนตะแคงทับข้าง ไม่ควรนอนคว่ำอ่านหนังสือ หรือนอนดูโทรทัศน์นานๆ

นั่งหลับเดินทางไกลใส่ปลอกคอ

หากต้องเดินทางไหลและต้องมีการนั่งหลับ แนะนำควรใส่ปลอกคอหรือหมอนลมประคองก้านคอ จะได้ช่วยปกป้องพยุงต้นคอจากการกระแทก กระชาก สั่น หรือเหวี่ยง ในระหว่างการเดินทางได้

บริหารกล้ามเนื้อคอ

ควรบริหารบริเวณหล้ามเนื้อคออย่างสม่ำเสมอ จะได้มีความยืดหยุ่น เพิ่มความแข็งแรงด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อคอทีละด้าน ต้านแรงดันจากฝ่ามือ

ขอบคุณที่มา: “พบหมอมหิดล” และ อ.นพ.เตชิต จิระวิชิตชัย , sarirarak


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง