จากเคสผู้ป่วยชาย อายุ 70 ปี ที่หมอตรวจพบหลอดลมเป็นสีดำทั่วๆ กระจายเป็นหย่อม โดยที่ผู้ป่วยรายนี้หยุดสูบบุหรี่ไปกว่า 20 ปี แต่มีอาชีพทำไร่ทำสวนสัมผัสฝุ่นควันและมลภาวะเป็นเวลายาวนาน ฝุ่นถ่านดำที่เข้ามาในหลอดลมเลยทำให้เกิดพังผืดมากและเกิดการตีบ ผู้ป่วยจึงมีอาการไอเรื้อรัง หอบเหนื่อยเพราะหลอดลมและเนื้อปอดผิดปกติ โดยเคสนี้คุณหมอได้เตือนทุกคนว่า รักษาปอดกันไว้ให้ดี การที่สัมผัสมลพิษ ฝุ่นควันดำมากๆ จะทำให้ปอดอันตรายได้ ไปอ่านคำแนะนำกัน
สาเหตุ โรคปอดฝุ่นหิน
โรคปอดฝุ่นหิน เป็นโรคปอดอักเสบที่เกิดขึ้นจากการสูดละออง Silica เข้าไปในปอดติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ปอดอักเสบและมีพังผืดเกิดขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง อาการไอแห้ง ๆ และบางครั้งอาจมีอาการไอเป็นเลือก บางรายจะมีวัณโรคปอดแทรกซ้อนด้วยและบางรายจะพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งปอด อาการเฉียบพลัน ได้แก่ หอบเหนื่อย อาการเขียวคล้ำ ไอ ไข้อ่อนเพลีย หนักลดและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
วิธีสังเกตอาการเตือนเบื้องต้น
ในระยะแรกเลยผู้ป่วย จะไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อเป็นมากขึ้น (ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่ 5 – 15 ปี) จากนั้นจะเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก หอบเหนื่อยง่ายเมื่อออกแรง เมื่อออกแรง มีอาการหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้ในที่สุด
อาชีพเสี่ยง โรคปอดฝุ่นหิน
- งานสลักหิน งานตัดแต่ง เลื่อย ขัดหินระเบิดหิน บดโม่หิน เช่น ทำครกหิน ตุ๊กตาหิน วัสดุปูพื้นที่ทำจากหิน ป้ายหลุมศพ
- งานกระเบื้องทนไฟ อิฐทนไฟ
- งานหลอมแก้ว เครื่องเคลือบดินเผา งานขัดผิวเซรามิก งานผลิตกระจกฝ้า งานแกะสลักกระจก แก้วคริสตัล
- งานขัดผิวโลหะด้วยการพ่นทราย (sand blasting) งานขัดเซรามิกสำหรับกรองน้ำ
- งานทำปูนซีเมนต์
- งานก่อสร้างตึกและอาคาร
- งานขุดอุโมงค์ ทำเหมือง
วิธีป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการสูดหายใจเอาฝุ่นที่มีซิลิก้าเข้าสู่ร่างกาย
หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนะนำทำได้ดังนี้
- ควบคุมป้องกันที่แหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น การใช้อุปกรณ์ปิดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจายออกมาจากเครื่องจักร
- ควบคุมและป้องกันทางผ่านฝุ่น ได้แก่ สร้างกำแพงหรือใช้ตาข่ายกั้นขอบข้างเครื่องจักรกับคนทำงานในโรงงานโม่บดย่อยหิน
- ควบคุมและป้องกันที่คนทำงาน ได้แก่ การสวมใส่อุปกรณ์ปกป้องระบบทางเดินหายใจที่สามารถกรองฝุ่นหินได้ ตลอดขณะปฏิบัติงาน ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรค เช่น ไม่สูบบุหรี่
- ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงทุกปี เพื่อเป็นการคัดกรองโรคเบื้องต้น สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยด้วยโรคปอดฝุ่นหิน(Silicosis) ควรได้รับการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยและอาการแทรกซ้อน
ขอบคุณที่มา : ddc.moph, Nuttagarn Chuenchom, กรมควบคุมโรค สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม