“ภาวะมีบุตรยาก” หลายคู่แต่งงานแล้วก็อยากจะสร้างครอบครัวมีลูก แต่ใช้เวลาปลายปีก็ยังสำเร็จ สาเหตุของการมีบุตรยากคืออะไร ลองไปทำความเข้าใจกัน
“ภาวะมีบุตรยาก” คืออะไร?
คู่สามี-ภรรยา ที่ไม่สามารถปฏิสนธิหรือมีลูกได้ ทั้งนี้ 15% ของคู่สมรสในประเทศไทย หรือหนึ่งในเจ็ดของคู่สมรสทั่วโลก พยายามลูกภายใน 12 เดือนแต่ไม่สำเร็จ ทั้งที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยไม่ได้มีการคุมกำเนิด
แบ่งภาวะมีบุตรยากได้ 2 ประเภทคือ
1.ภาวะมีบุตรยาก ชนิดปฐมภูมิ (Primary Infertility) : คือคู่สมคสที่มีบุตรยากโดยยังไม่เคยมีบุตรมาก่อน
2.ภาวะมีบุตรยาก ชนิดทุติยภูมิ (Secondary Infertility) : คือคู่สมควรที่เคยมีบุตรมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก
“สาเหตุ” การมีบุตรยาก
มีหลากหลายสาเหตุมาก สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1.ปัญหามีบุตรยากที่เกิดจากฝ่ายชาย
– เกิดจากไลฟ์สไตล์ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่จัด ติดสารเสพติด
– ปัญหาที่เกิดจากอายุและปัญหาทางสุขภาพ เช่น อายุมากขึ้นอาจมีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น มีอาการหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่มีตัวอสุจิหรืออสุจิน้อยลงจนไม่มี เชื้ออสุจิมีรูปร่างผิดปกติ เชื้ออสุจิอ่อนแอ ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว มีเพศสัมพันธ์ลดน้อยลง และเวลาที่ไม่เหมาะสมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นหมัน หรือต้องรับเคมีบำบัด
2.ปัญหามีบุตรยากที่เกิดจากฝ่ายหญิง
– เกิดจากไลฟ์สไตล์ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่จัด ติดสารเสพติด การเลือกอาหารการกินที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ เกิดจากความอ้วน มีความเครียดที่เกิดจากการทำงานหรือปัญหาส่วนตัว
– ปัญหาที่เกิดจากอายุและปัญหาทางสุขภาพ เช่น เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน อายุที่มากขึ้นทำให้มีปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะไข่ไม่ตก ท่อรังไข่อุดตัน มีเนื้องอกในมดลูก มีพังผืดเกิดขึ้นในช่องเชิงกรานหรือที่ปีกมดลูก หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในผู้หญิงที่มีบุตรยาก ฯลฯ ส่วนใหญ่ผู้หญิงที่มีปัญหาบริเวณมดลูกเช่นนี้ มักจะมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ มีอาการปวดท้องผิดปกติ หากมีการตรวจพบแต่เนิ่นๆ ก็มีโอกาสรักษาให้หายและพร้อมจะมีบุตรตามธรรมชาติได้
3.ปัญหามีบุตรยากที่เกิดจากทั้งสองฝ่าย
ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาสาเหตุของทั้งสองฝ่าย โดยแพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุ หากเป็นฝ่ายชายส่วนมากก็จะซักประวัติส่วนตัวและตรวจเชื้ออสุจิ ควรงดการหลั่งอสุจิประมาณ 2-7 วันก่อนมาพบแพทย์
ส่วนการหาสาเหตุในฝ่ายหญิงก็มักจะซักประวัติส่วนตัวและทำการตรวจภายใน ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ต่อไป
4.ภาวะมีบุตรยากแบบไม่มีสาเหตุ
พบประมาณ 10% ของคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากที่มารับคำปรึกษาโดยการตรวจหาสาเหตุทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแล้วไม่พบความผิดปกติใด ๆ ในกลุ่มนี้แพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษาทันที โดยเริ่มจากวิธีฉีดน้ำเชื้อ (Intrauterine Insemination – IUI) ถ้าทำ IUI ไปสักระยะหนึ่งแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ (ประมาณ 3 – 6 รอบ) แพทย์จะพิจารณาทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization – IVF) ต่อไป
แนวทางการรักษา
วิทยาการทางการแพทย์มีวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากมีหลายทาง ขึ้นอยู่กับอายุ ปัญหา สาเหตุของผู้มีบุตรยาก ซึ่งแพทย์จะร่วมกับคนไข้ในการค้นหาวิธีรักษา เช่น ฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง, การทำเด็กหลอดแก้ว, การรับประทานยาหรือฉีดกระตุ้นเพื่อให้มีการตกไข่, การปฏิสนธินอกร่างกาย ในบางรายอาจจะต้องมีการผ่าตัด เช่น ซีสต์ เนื้องอก เลาะพังผืด แก้ไขท่อนำไข่ตัน หรือแม้แต่การผ่าตัดแก้หมัน เป็นต้น
ขอบคุณที่มา : โรงพยาบาลเปาโล , family.mthai, โรงพยาบาลกรุงเทพ