คัดลอก URL แล้ว
เล่นโซเชียลมีเดีย ดูคลิปสั้นวนๆ ซ้ำๆ ระวัง! ยิ่งกระตุ้นคนเป็น โรคจิตแฝง

เล่นโซเชียลมีเดีย ดูคลิปสั้นวนๆ ซ้ำๆ ระวัง! ยิ่งกระตุ้นคนเป็น โรคจิตแฝง

การเล่นโซเชียลมีเดียมากเกิน สามารถส่งผลกระทบกับ คนที่มีโรคจิตแฝง หรือ ภาวะทางอารมณ์ไม่มั่นคง ให้ยิ่งรุนแรงมากขึ้น เช่น ทำให้เกิดอาการหลอน โรคจิตกำเริบ โดยเฉพาะเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ที่อยู่ในช่วงสูงวัย ขอนำสาระความรู้จาก สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์ มาให้ทุกคนได้รู้เท่าทัน ผลเสียของการเล่นโซเชียลมีเดียประเภทพวกคลิปสั้นๆ Video วน Loop ไถฟีดดูวิดีโอวนๆ มาให้ได้ทำความเข้าใจกัน และวิธีป้องกัน

ดู Video วน Loop ไถฟีดบ่อยๆ กระตุ้นคนเป็นโรคจิตแฝง

เพจเฟซบุ๊ก สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์ ได้เผยแพร่สาระความรู้เคสเจอคนไข้ เล่น Tiktok และ Reel กระตุ้น โรคจิตแฝง

คนไข้วัย 40 ติด Tiktok จนเห็นภาพหลอน

คนไข้ผู้หญิงอาชีพราชการ อายุราวๆ 40 ปี เล่น Tiktok จนมีอาการติดงอมแงม และต่อมาเค้าเห็นภาพหลอน

โดยเค้ามีพฤติกรรมเล่น Tiktok Reel มา 4 เดือน post ทุกวัน ดู video วน ๆ ไปมา กดทั้ง Like ทั้ง Share และรู้สึกสนุก รู้สึกว่ามันรู้ใจ ทำให้เค้าหัวเราะและหลุดโลกความจริง จนผลิตคอนเทนต์เอง เวลามีคนมากด Like Share Comment จะรู้สึกมีความสุข โดปามีนหลั่ง

และยังบอกอีกว่า 5 วันมานี่ มีคนกระซิบให้ทำ video อย่างนั้น อย่างนี้ บอกเทคนิค เริ่มหลอนเห็นคนคุยด้วย บอกว่าเค้ามาแล้ว มากระซิบด้วย เห็นไหม มีผู้ชาย ใส่ชุดดำมาตาม จนญาติได้นำคัวมาส่งที่โรงพยาบาล

อีกเคส คล้ายกัน ชีวิตหลอนเพราะ Tiktok

ทั้งนี้ อจ.หมอสุรัตน์ เผยอีกว่า เคสดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเจอ เพราะก่อนหน้านี้เดือนก่อนก็ได้เจอ ป้าคนนึง นั่งเล่น Tiktok วนไป ก็หลุดไปอยู่ใน Tiktok หาทางออกไม่เจอ การใ้ชชีวิตจริงๆ ก็มีชีวิตหลอน เหมือน Tiktok หลุดออกมาอยูด้วย เพราะป้าก็ได้ยินว่ามีคนบอกให้ทำนั่นนี่ด้วยเช่นกัน

คนเป็นจิตเภท Schizophrenia นี่บางทีแยกโรคจริง โรคไม่จริงไม่ออก และมักเสพคอนเท้น หลุดจากความจริง ไอ้ อัลกอรืทึม ก็จับสิ คราวนี้ feed ใส่หนัก ๆ หลอนหนักไปอีก

นักจิตวิทยาเปรียบ Social media ที่มีอัลกอริทึม feed คือการออกแบบแบบ “เหยื่อล่อสมอง”

Tammy Qiu จาก Stanford University Human-Centered Artificial Intelligence ได้กล่าวถึง ความเห็นของนักจิตวิทยาที่มีต่อ social media ที่มีอัลกอริทึมสำหรับ feed ให้คนติดหนึบว่า

“การออกแบบ Video หรือ content และการไถฟีดแบบไม่สิ้นสุด เป็นการออกแบบ “เหยื่อล่อสมอง” หรือ ที่เรียกว่า “Hook”

คือการออกแบบหวังเอาชนะการยับยั้งชั่งใจในสมอง โดยการกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเหมือนการเสพติดยาเสพติด”

โดย Dopamine นี้ทำให้เกิดโรคจิตได้ มันแชร์จุดกำเนิดเดียวกัน ยาต้านโรคจิต จึงใช้ยาที่ต้านสาร Dopamine เช่น Haloperidol

ในปี 2021 นักวิจัย Ghosh และคณะตีพิมพ์ ในวารสาร International Journal of Recent Scientific Research ก็มีรายงาน คนไข้ที่ติด video Tiktok แล้วก็เกิดอาการหลอน โรคจิตกำเริบแบบนี้เหมือนกัน บางคนหลอนแล้วได้ยินมีคนสั่งให้ทำนั่นนี่

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหลอน จากการดู วิดีโอแพลตฟอร์ม แบบ Tiktok, Reel แบบนี้ เช่น

  1. เล่นหรือเสพย์วิดีโอประเภท Tiktok, Reel จนนานเกิน จึงไปกระตุ้น Dopamine ให้สูงขึ้น
  2. สำหรับคนเป็นโรคจิตแฝงที่รอการกระตุ้น อาจแสดงอาการได้ง่ายขึ้น เมื่อเสพย์คอนเทนต์พวกคลิปวิดีโอแบบวนลูป
  3. อัลกอริทึม มันจะขึ้นฟีด แต่เรื่อง ๆ ที่คนนั้นๆ สนใจดู ยิ่งคลิกดูประเภทไหนบ่อยมันก็จะเลือกประเภทแบบนั้นขึ้นมาให้เห็นบ่อยๆ ทำให้บางคนเล่นแล้วก็หยุดเล่นไม่ได้ไถฟีดวนดูไปเรื่อยๆ จึงทำให้ไม่หลุดไปไหน วนดูอยู่นั่น จนหลุดออกมาโลกความจริงไม่ได้
  4. อีกด้าน คนที่เป็นโรคจิตเวช อาจจะไม่กล้าออกไปใช้ชีวิตในสังคม การใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย อย่าง Tiktok, Reel หรืออื่น ๆ อาจจะเป็นช่องทางที่เค้าเลือก

วิธีป้องกัน

สังเกตคนใกล้ตัว คนในครอบครัว อย่างบุตรหลาน หรือคุณพ่อคุณแม่ผู้สูงวัย เล่นโซเชียลทีเดียแล้วมีอาการหลอนๆ สับสนโลกในโซเชียลกับโลกความจริงมั้ย ถ้ามีอาการควรพาไปพบจิตแพทย์

ขอบคุณที่มาจาก : สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์, A Psychiatrist’s Perspective on Social Media Algorithms and Mental Health


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง