คัดลอก URL แล้ว
Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตาย มีอยู่จริง เช็คสัญญาณเตือน คุณเป็นโรคบ้างาน หรือเปล่า?

Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตาย มีอยู่จริง เช็คสัญญาณเตือน คุณเป็นโรคบ้างาน หรือเปล่า?

งานหนักไม่เคยฆ่าใคร วลีนี้ไม่จริงอีกต่อไป จากประเด็นข่าวที่ได้เห็นกันเมื่อไม่นานนี้ จากเหตุการณ์การเสียชีวิตของพนักงานด้านสื่อสำนักข่าวแห่งหนึ่งที่เสียชีวิตคาโต๊ะทำงานเนื่องจากทำงานหนักเกินไป ส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพทั้งทางสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกาย อนึ่งที่ญี่ปุ่นก็มีข่าวเกี่ยวกับคนทำงานและเสียชีวิตอยู่ไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในโรคฮิตก็คือ Karoshi Syndrome โรคทำงานหนักจนตาย ไปทำความรู้จักโรคนี้พร้อมเช็คอาการสัญญาณเตือนกันไว้ โดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศหรือคนที่ทำงานจนไม่มีเวลาพัก

ทำความรู้จัก Karoshi Syndrome งานหนักฆ่าคนได้จริงๆ

Karoshi Syndrome (คาโรชิ) หรือโรคบ้างาน ทำงานหนักจนเสียชีวิต เรียกว่าเป็นผลกระทบจากการทำงานหนักเสียมากกว่า ที่ส่งผลให้ไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ร่างกายเกิดภาวะตึงเครียด อาจทำให้กินข้าวไม่ตรงเวลา หรือไม่ได้กิน ส่งผลให้อ่อนเพลีย เครียด กดดัน หดหู่ และอาจนำไปสู่ความรุนแรงเช่นการเสียชีวิตหรือฆ่าตัวตายได้

เช็คสัญญาณเตือน คุณเป็นโรคบ้างาน หรือเปล่า?

สาเหตุการเสียชีวิตจาก Karoshi Syndrome มี 2 สาเหตุหลัก คือ 1.การตายเพราะโรค 2.ตายเพราะความเครียดสะสม

• คิดหมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา จนบางครั้งเก็บไปฝัน

• ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน เช่น เริ่มงานเร็ว เลิกงานช้า ใช้เวลาในการทำงานเยอะมาก และทำงานลักษณะนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

• ลางานไม่ได้ ในชีวิตระหว่างการทำงานแทบไม่ได้ใช้วันลา ไม่ว่าจะลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน

• ทำงานด้วยความเครียด อยู่ภาวะกดดันแทบจะตลอดเวลา

• พักผ่อนไม่เพียงพอ เวลานอนหลับก็หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ อ่อนเพลีย

• ไม่มีเวลาส่วนตัวให้ตัวเอง ครอบครัว หรือคนรัก คนใกล้ชิด

ทำอย่างไรให้ห่างไกล โรคบ้างาน

หากลองเช็คแล้วคุณเข้าข่ายมีพฤติกรรมอยู่ในภาวะ Karoshi Syndrome (คาโรชิ) ลองค่อยๆ ปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำต่อไปนี้

• จัดลำดับความสำคัญในการทำงาน แบ่งเวลาการทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัวให้ชัดเจนไปเลย

• เวลาพักต้องชัดเจนและพักจริงๆ เพราะหากคุณทำงานติดๆ กันหลายชั่วโมงจะทำให้รู้วึกเหนื่อยล้าจนเกินไป

• พูดคุยหาแนวทางการทำงานกับหัวหน้างานหรือฝ่ายบุคคลให้ชัดเจน เมื่อมีปัญหาในการทำงาน เรื่องเวลาการทำงาน

• ตระหนักในเรื่องการดูแลตัวเองเป็นสำคัญ หาเวลาพักผ่อนคลายความเครียด เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายบ้าง ทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบบ้าง ใช้วันหยุดวันพักผ่อนให้เต็มที่

กรุงเทพฯ ติดอันดับ 3 คนเมืองทำงานหนัก

ทั้งนี้ในประเทศไทยเอง กรุงเทพฯ ติดอันดับ 3 คนเมืองทำงานหนัก จากผลสำรวจของ Kisi บริษัทเทคโนโลยีให้คำปรึกษาด้านการทำงานทำผลสำรวจทั่วโลกในหัวข้อ “Cities with the Best Work-Life Balance 2021” ค้นหาว่าเมืองไหนในโลกที่มีการทำงานที่สมดุลที่สุดแห่งปี 2021 และอีกหัวข้อคือ ” Cities with the Overworked 2021” หรือเมืองที่มีประชากรที่มี ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และชีวิตไลฟ์สไตล์ขาดความสมดุล โดยอันดับเมืองที่เมืองที่มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและชีวิตคนในเมือง ขาดความสมดุลมากที่สุดในโลก จากผลสำรวจมีดังนี้

1.ฮ่องกง : ประเทศจีน
2.สิงคโปร์ : ประเทศสิงโปร์
3.กรุงเทพ : ประเทศไทย
4.บัวโนสไอเรส :ประเทศอาร์เจนตินา
5.โซล : ประเทศเกาหลีใต้

WHO เผย ทำงาน 55 ชม. ขึ้นไปต่อสัปดาห์เสี่ยงเป็นโรคต่างๆ และเสียชีวิต

องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยข้อมูลว่า การทำงานล่วงเวลาส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวเป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และนำไปสู่พฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ คือมีชีวิตที่ไร้สมดุลคนที่ทำงาน 55 ชั่วโมงขึ้นไปในแต่ละสัปดาห์มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นประมาณร้อยละ 35 และยังมีความเสี่ยงต่อเสียชีวิตจากโรคหัวใจสูงขึ้น 17% เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานสัปดาห์ละ 35 – 40 ชั่วโมง

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environment International ที่เผยแพร่เมื่อช่วงเดือน พ.ค. 2021โดย เวลาทำงานที่มากเกินไป กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตกว่า 70,000 รายต่อปี แม้ว่าการทำงานจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง แต่การทำงานล่วงเวลาได้นำไปสู่อัตราการเกิดโรคร้ายมากขึ้น เช่น หัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมอง โดย ดร.เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการ องค์การอนามัยโลก WHO ได้เรียกร้องให้รัฐบาลต่าง ๆ และภาคธุรกิจหาวิธีปกป้องสุขภาพของคนทำงานให้มากขึ้น


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง