โรคไมเกรน (Migraine) คือโรคที่เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัว หรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย มีปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นตัวเร่งให้เกิดอาการไมเกรน รู้เท่าทันเพื่อที่จะได้ไม่ทรมาน
อาการของโรคไมเกรน
- ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอย แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นทั้งสองข้างพร้อมกันหรือเป็นสลับข้างกันได้
- ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากจะปวดตุ๊บๆ นานครั้งหรือเกิน 20 นาที (ยกเว้นจะได้รับประทานยา) แต่บางครั้งถ้าเป็นรุนแรง อาจปวดนานเป็นวันๆ หรือสัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อๆ สลับกับปวดตุ๊บๆ ในสมองก็ได้
- อาการปวดศีรษะมักรุนแรง และส่วนมากจะมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะ ก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้ บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากจนรับประทานอะไรไม่ได้เลย
- อาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้นๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยว
6 ปัจจัยอที่ทำให้เป็นโรคไมเกรน
- ภาวะเครียด
- การอดนอน
- การขาดการพักผ่อน หรือทำงานมากเกินไป
- ขณะมีระดู หรือรับประทานยาคุมกำเนิด
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
- ทานอาหารบางชนิด เช่น กล้วยหอม เนยแข็ง และช็อกโกแลต
วิธีรักษา โรคไมเกรน
มักรักษาไม่หายด้วยยาแก้ปวดพาราเซตามอลแบบธรรมดา ยาที่ได้ผลดีคือ ยาแก้ปวดแอสไพริน ขนาด 2 เม็ด แต่ข้อระวัง! ห้ามรับประทานแอสไพรินในขณะท้องว่าง และผู้ป่วยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดเลือดออกในกระเพาะได้ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจว่าจะมีโรคกระเพาะหรือไม่ ให้รับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหารหรือนมร่วมด้วย ก็จะป้องกันการระคายเคืองของแอสไพรินต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารได้
การดูแลร่างกายและจิตใจให้รู้สึกผ่อนคลายก็เป็นเรื่องสำคัญ
หากผู้ที่ป่วยเป็นโรคไมเกรน มีอาการไม่บ่อย ก็อาจไม่จำเป็นต้องทานยาเพื่อป้องกัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะบ่อย เช่น เกือบทุกอาทิตย์ หรือทุกวัน ก็ควรทานยาป้องกัน รวมไปถึงหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจจะทำให้อาการปวดหัวกำเริบ เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยลดอาการดังกล่าวได้
ข้อมูลจาก : thonburihospital.com