คัดลอก URL แล้ว
โรคกินไม่หยุด กินมากผิดปกติแม้จะไม่หิว หลังกินจะโกรธตัวเองที่กินมากไป

โรคกินไม่หยุด กินมากผิดปกติแม้จะไม่หิว หลังกินจะโกรธตัวเองที่กินมากไป

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder (BED) ที่นักร้อง ไอซ์ – ศรัณยู วินัยพานิช ได้ออกมาแชร์ประสบการณ์ผ่านทางยูทูบช่อง ICE SARUNYU OFFICIAL หลังจากที่ได้ผ่านการรักษาปรับพฤติกรรมให้มีอาการที่ดีขึ้นแล้ว ใครที่มีอาการเข้าข่ายหรือกำลังประสบปัญหากับโรคนี้ลองอ่านเป็นแนวทาง

โรคกินไม่หยุด กินมากผิดปกติแม้จะไม่รู้สึกหิว

Binge Eating Disorder (BED) หรือ โรคกินไม่หยุด คนที่เป็นจะมีอาการกินอาหารในปริมาณมากผิดปกติ แม้จะไม่รู้สึกหิวก็ตาม โดยที่จะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ คือจะกินอาการจนอิ่มแน่นท้องและไม่สามารถกินต่อได้ หลังจากกินเสร็จผู้ป่วยก็จะเกิดความรู้สึกผิด (Guilty pleasure) ความรู้สึกรังเกียจ หรือโกรธต่อตนเอง ที่กินอาหารมากเกินไป สำหรับโรคนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังหรือภาวะร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

เช็คสัญญาณ อาการ Binge Eating Disorder

สาเหตุการเป็น โรคกินไม่หยุด และกลุ่มเสี่ยง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าเกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง อย่างเลปติน (Leptin) และเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความหิวที่หลั่งออกมามากผิดปกติ จนส่งผลให้ร่างกายมีความอยากอาหาร นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่พบว่าความรู้สึกเครียด โกรธ เศร้า เบื่อหน่าย หรือความรู้สึกด้านลบก็สามารถกระตุ้นการหลั่งของสารเหล่านี้ได้ และยังมีการคาดกันอีกด้วยว่าอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น

โรค Binge Eating Disorder (BED) หรือ โรคกินไม่หยุด สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัย โดยช่วงอายุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือช่วงอายุ 20 ตอนต้น สำหรับการรักษาและการบำบัดจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคขึ้น ทั้งนี้ การรับประทานอาหารปริมาณมากเกินความพอดีอยู่บ่อยครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

วิธีป้องกันโรค กินไม่หยุด Binge Eating Disorder

ทางการแพทย์ทราบเพียงปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่แน่นอน แต่สามารถลดความเสี่ยงของโรคและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนี้

ข้อมูลจาก : www.pobpad.com


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง