อัปเดต กฎหมายแรงงาน 2566 วันลาพักร้อน มีกี่ประเภท แต่ละประเภทสามารถลาได้กี่วัน หากมีเหตุต้องลาฉุกเฉินลากิจต้องลายังไง เวลาทำงาน เวลาพัก ได้นานแค่ไหน และการแจ้งลางานที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร?
เวลาทำงาน
- ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- งานอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวงไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เวลาพัก
- ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน
- นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
- กรณี งานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
1.วันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน
- ต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน สำหรับงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ อาจตกลงกันสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำปี/วันหยุดประจำสัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้ ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน
- ให้นายจ้างประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันและแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ประกาศกำหนด
2.วันหยุดตามประเพณี ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน
- ต้องไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ถ้าวันหยุด ตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี
3.วันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน และมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
- ถ้าลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ครบ 1 ปี จะให้หยุดตามส่วนก็ได้ ให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหรือกำหนดตามที่ตกลงกัน
- นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้
4.การลาคลอด ไม่เกิน 90 วัน
- ลูกจ้าง ซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง ซึ่งลาคลอดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน
5.การลาเพื่อทำหมัน ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด
- ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิ์ลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรองให้โดยลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันลานั้นด้วย
6.การลากิจ ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยจะได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติในระยะเวลาที่ลา แต่ต้องไม่เกิน 3 วันทำงานต่อปี
7.ลาป่วย ไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี
ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยจะได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี การลาป่วยตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไป ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง หากลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป (นับเฉพาะวันทำงาน) นายจ้างสามารถขอดูใบรับรองแพทย์จากลูกจ้างได้ ถ้าไม่มีใบรับรองแพทย์จะต้องแจ้งให้เจ้านายทราบ
8.การลาเพื่อรับราชการทหาร ลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก
- ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึก วิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพรั่งพร้อม โดยลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก และได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี
9.การลาเพื่อฝึกอบรม
- ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลานั้น
- การลางานที่เหมาะสม
การลางานที่เหมาะสม
ทั้งนี้การลางานที่เหมาะสม ควรลางานล่วงหน้าทุกประเภทของการลา 1-3 วัน แต่ในกรณีลากิจเร่งด่วนมีเหตุการณ์ฉุกเฉินก็ให้ไปก่อนแล้วจัดส่งใบลาทีหลังได้
ที่มา : กระทรวงแรงงาน, tpeotrang,