ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย ในเดือนสิงหาคม 2567
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง
- ร้อยละ 45.42 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
- ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
- ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
- ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เชื่อมาก
- ร้อยละ 1.06 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 313 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับบุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคร่วมรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง
- ร้อยละ 31.95 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
- ร้อยละ 30.99 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย)
- ร้อยละ 11.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ)
- ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
- ร้อยละ 2.23 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย)
- ร้อยละ 14.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง
- ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
- ร้อยละ 27.94 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
- ร้อยละ 24.20 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
- ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เชื่อมาก
- ร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 493 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ สส. จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จะไปสังกัดกับพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง
- ร้อยละ 40.97 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้
- ร้อยละ 27.99 ระบุว่า เป็นไปได้มาก
- ร้อยละ 16.84 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย
- ร้อยละ 14.20 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการพ้นโทษของคุณทักษิณ ชินวัตร จะทำให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า ตัวอย่าง
- ร้อยละ 41.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
- ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
- ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
- ร้อยละ 11.45 ระบุว่า เชื่อมาก
- ร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ