ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 เมษายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบทบาทของทักษิณ ชินวัตร และความเป็นไปได้ ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะในการเลือกตั้งในครั้งต่อไป การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย จากความเคลื่อนไหว ของทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลตำรวจ พบว่า
- ร้อยละ 40.61 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย
- ร้อยละ 33.21 ระบุว่า ส่งผลกระทบในทางลบต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย
- ร้อยละ 19.54 ระบุว่า ส่งผลกระทบในทางบวกต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย
- ร้อยละ 6.64 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อคำกล่าวที่ว่า พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคผู้นำในการเปลี่ยนแปลง พบว่า
- ร้อยละ 39.47 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- ร้อยละ 18.85 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- ร้อยละ 17.94 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- ร้อยละ 15.73 ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- ร้อยละ 8.01 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งในครั้งต่อไป พบว่า
- ร้อยละ 32.98 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย
- ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้
- ร้อยละ 21.14 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้
- ร้อยละ 12.82 ระบุว่า เป็นไปได้มาก
- ร้อยละ 3.82 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ