สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในประเทศไทยกลับมามีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น โดยศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ณ 07:00 น พบว่า
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศไทยเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมง พบเกินค่ามาตรฐานใน จ.นนทบุรี กรุงเทพฯ จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาคร จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.อุทัยธานี จ.อ่างทอง จ.หนองคาย จ.นครพนม และ จ. กาฬสินธุ์
- ภาคเหนือ
เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 9.7 – 41.7 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 25.9 – 74.0 มคก./ลบ.ม. - ภาคกลางและตะวันตก
เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 21.3 – 49.6 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออก
ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 11.9 – 29.6 มคก./ลบ.ม. - ภาคใต้
ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 7.0 – 14.3 มคก./ลบ.ม. - กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐาน 10 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 17.8 – 61.4 มคก./ลบ.ม.
สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น คาดว่า ฝุ่น PM 2.5 จะอยู่ในระดับสีส้ม (เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ) ในหลายพืนที่ ต่อเนื่องจนถึงวันอังคารที่ 11 ธ.ค. ก่อนจะลดลงมาอยู่ในระดับสีเหลือง (ปานกลาง) ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. และจะพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์
นขณะศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รายงานข้อมูลการตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ณ เวลา 07.00 น. พบว่า ในหลายพื้นที่ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมถึงบางจุดในพื้นที่ภาคใต้ มีปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายจุดด้วยกัน รวมถึงในบางจุดมีรายงานผลการตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ณ เวลา 07.00 น. มีปริมาณฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อีกหลายจุดด้วยกัน
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 07.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน | 296 |
2 | รร.บ้านห้วยทรายขาว ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | 158 |
3 | รพ.ชุมพลบุรี ต.ชุมพลบุรี อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ | 150 |
4 | ศอ. 3 รพ.ส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์ ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ | 145 |
5 | ทต.ถอนสมอ ต.ถอนสมอ อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี | 137 |
6 | สสอ.ฆ้องชัย ต.ฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ | 131 |
7 | รพ.จังหาร ต.จังหาร อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด | 121 |
8 | บริษัท ช้าฟเนอร์ อีเอ็มซี จำกัด (จุดตรวจที่ 2) ต.บ้านกลาง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน | 119 |
9 | รพ.สต.เนินปอ ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร | 108 |
10 | รพ.อากาศอำนวย ต.อากาศ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร | 102 |
ไทยพบจุดความร้อน 172 จุด
ในขณะที่รายงานจุดความร้อนที่พบในภูมิภาค พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนจุดความร้อนสูงที่สุด คือ 172 จุด โดยพบในพื้นที่เกษตรจำนวน 100 จุด, เขตพื้นที่สปก. 36 จุด, ในพื้นที่ชุมชนและอื่น ๆ 22 จุด พื้นที่ป่าสงวน 7 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 4 จุด และพื้นที่ป่าอนุรักษ์จำนวน 3 จุด
ซึ่งพบกระจายในพื้นในพื้นภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และมีเกาะกลุ่มกันในบริเวณรอยต่อจังหวัดกาฬสิทธุ์-ร้อยเอ็ด-มหาสารคาม