คัดลอก URL แล้ว
อภิปรายต่อเนื่อง ปมข้อบังคับฯ ข้อที่ 41 หลังประท้วงวุ่นกว่า 2 ชั่วโมง

อภิปรายต่อเนื่อง ปมข้อบังคับฯ ข้อที่ 41 หลังประท้วงวุ่นกว่า 2 ชั่วโมง

ผ่านไปกว่า 2 ชั่วโมงกับการประท้วงกันไปมาในเรื่องของข้อบังคับฯ ข้อที่ 41, การเป็นญัตติหรือไม่? ฯลฯ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานฯ ได้สรุปประเด็นของข้อเสนอและการประท้วงไปมาที่เกิดขึ้นว่า

ที่ผ่านมามีอยู่ 2 กรอบคือ

จึงขอให้ที่ประชุมอภิปรายกันอยู่ในกรอบนี้ ซึ่งหากอภิปรายไปมากกว่านี้จะผิดประเด็นไป และหาข้อสรุปไม่ได้

นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อไทยลุกขึ้นอภิปรายว่า ปัญหาในขณะนี้ เป็นปัญหาของการใช้ข้อบังคับว่า เป็นไปตามข้อ 41 หรือไม่ ในขณะที่ 8 พรรคร่วมเสนอได้ เพราะไม่ได้ใช้ข้อที่ 41

ดังนั้น ในการวินิจฉัยข้อบังคับมี 2 กรณีคือ

หนึ่ง – ประธานฯ ใช้อำนาจวินิจฉัยหากไม่การเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งประธานฯ ไม่ได้ใช้ เพราะระบุว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป 8 พรรคร่วมเสนอเช่นเดิม

สอง – รัฐสภาวินิจฉัย ซึ่งรัฐสภาต้องตี้ความข้อบังคับก่อน ที่มีความเห็นอยู่ 2 ฝ่าย ดังนั้น จึงต้องใช้ข้อบังคับฯ ข้อที่ 151 ที่ให้อำนาจรัฐสภามีอำนาจวินิจฉัย และต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง นั่นคือ 375 เสียง ดังนั้น จึงต้องชัดอภิปรายตามกรอบข้อ 151 และลงมติตามข้อ 151

ด้านนายพริษฐ์ วัชรสินธุ พรรคก้าวไกล ขอประธานฯ วินิจฉัยในประเด็นเกี่ยวเนื่องกันคือ ประเด็นแรก – ข้อทักท้วงของนายอัครเดช วงศ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส. พรรครวมไทยสร้างชาตินั้น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ประเด็นที่สอง – หากชอบด้วย รธน. ก็จะต่อเนื่องไปว่า การเสนอญัตติทักท้วงนี้ จะใช้ตามข้อบังคับใด เป็นข้อที่ 31 หรือ 32 (1) หรือจะเป็น 151 ตามที่นพ.ชลน่านเสนอ ประเด็นที่สาม – คือการให้สมาชิกรัฐสภาได้อภิปรายอย่างเต็มที่ต่อไป เพื่อเดินหน้าต่อไป

ประท้วงวุ่นซ้ำ หลังศาล รธน. สั่งพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่

ภายหลังจากที่มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ได้ข้อสรุปโดยมีมติเอกฉันท์ รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปมถือหุ้นสื่อฯ ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกฯ พร้อมทั้งมีมติเสียงข้างมาก 7 : 2 ให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการที่มีการเปลี่ยนตัวประธานในที่ประชุม จากวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เนื่องจากนายวันมูหะมัดนอร์ ติดภารกิจ

โดยมีส.ว. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ได้ลุกขึ้นอภิปราย โดยกล่าวถึงคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้ตัดสินให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์หยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้ยกมือประท้วงทันที ก่อนที่สถานการณ์จะเกิดความดุเดือดขึ้นทันที ในประเด็นนี้ขึ้น

ภายหลังจากการประท้วงในประเด็นนายพิธา ก็ได้มีการอภิปรายประท้วงไปมาในประเด็นของข้อบังคับข้อที่ 41 และแนวทางการดำเนินการต่อไป ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผู้ขึ้นมาทำหน้าที่ประธานสภา

โดยนายรังสิมันต์ โรม ได้อภิปรายขอให้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ที่เพิ่งขึ้นมานั่งเก้าอี้ประธานสภา ให้ทบทวนประเด็นข้อสรุปก่อนหน้าที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานฯ อีกครั้ง และในที่สุดก็ได้ข้อสรุป และเข้าสู่ประเด็นของการอภิปรายในกรอบข้อบังคับฯ ข้อ 151 เพื่อตีความว่า ข้อบังคับฯ ข้อที่ 41 เป็นการยื่นญัตติซ้ำหรือไม่ และนำไปสู่การลงมติในที่สุด

อภิปราย โหวตนายกฯ เป็นข้อกำหนดตาม รธน.

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ พรรคไทยสร้างไทย ได้ขึ้นอภิปรายในประเด็นนี้ ระบุว่า การโหวตนายกนั้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ไม่ใช่ข้อบังคับสภา และขอให้เคารพหลักการประชาธิปไตย เพื่อโหวตนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดไว้ในมาตรา 272 แต่ก็ยังคงมีประเด็นข้อขัดแย้งกันไปมาเป็นระยะ ๆ

นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ได้ขึ้นอภิปรายต่อ ระบุว่า พรรคก้าวไกล และ 8 พรรคร่วมนั้น ไม่เห็นด้วยว่า การเลือกนายกฯ นั้นไม่เป็นไปตามข้อบังคับฯ ข้อที่ 41

นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ขึ้นอภิปรายต่อไปนี้ เป็นเรื่องทั่วไปที่เข้าใจในคำว่า “ญัตติ” นั่นคือ เรื่องที่นำเสนอในที่ประชุมและมีการลงมติ ดังนั้น มันจึงไม่จำเป็นว่า เป็นญัตติทั่วไป หรือเป็นข้อที่อยู่นอกเหนือจากนั้น

ดังนั้นการที่มีสมาชิกรัฐสภา มองว่า ข้อเสนอพิจารณาเลือกนายกฯ เป็นญัตติและเป็นการเสนอซ้ำ โดยไม่มีความจำเป็นต้องตีความเป็นอย่างอื่น ซึ่งสมาชิกเหล่านั้น ก็เห็นว่า มันขัดกับข้อบังคับฯ ข้อที่ 41

ซึ่งในประเด็นที่อภิปรายกันในขณะนี้ ยังคงอยู่ในกรอบของฝ่ายที่เห็นด้วย ว่า เป็นการยื่นญัตติซ้ำ ตามข้อบังคับฯ ข้อที่ 41 ส่วนด้านของ 8 พรรคร่วมมองว่า สามารถยื่นได้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง