คัดลอก URL แล้ว
ทาง  3 แพร่ง  “ก้าวไกล” ก้าวที่ต้องเลือก

ทาง  3 แพร่ง  “ก้าวไกล” ก้าวที่ต้องเลือก

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ประกาศหลังชนะการเลือกตั้ง พร้อมเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และพร้อมรับหน้าที่นายกรัฐมนตรี แต่ด้วยจำนวน ส.ส. 152 คน  ซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลจะร่วมกับพรรคเพื่อไทย ประชาชาติ ไทยสร้างไทย และเสรีรวมไทย รวมทั้งพรรคเป็นธรรม รวม 310  เสียงเป็นหลักในการจัดตั้งรัฐบาล และปฏิเสธที่จะเชิญพรรคภูมิใจไทยเข้าร่วม นอกจากนี้ยังเกิดกระแสกดดันให้สว.โหวตเลือกพรรคที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเป็นนายกฯ  ถ้ายังยึดหลักจับขั้วฝ่ายค้านเดิม แน่นอนว่าคะแนนเสียงในการโหวตนายกรัฐมนตรีย่อมไม่เพียงพอ เพราะการโหวตเลือกนายกฯต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งจากจำนวนส.ส.(500)และสว.(250) รวมกัน ทำให้ต้องได้คะแนน 376 เสียง

พรรคก้าวไกล ทราบโจทย์ใหญ่นี้ดี โดยนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนพรรคในการประสานงานกับพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม ให้สัมภาษณ์เรื่องส.ว.ว่า “ส.ว.ไม่ได้มีเอกภาพ พรรคก้าวไกลจึงพร้อมจะหารือแลกเปลี่ยน ซึ่งจะมีการติดต่อเข้าไปพูดคุยแน่นอน เชื่อว่าการพูดคุยกันก่อนจะเป็นประโยชน์ที่สุด เพราะความกังวล ไม่สบายใจของ ส.ว. อาจจะเป็นการคิดอยู่ฝั่งเดียว หากได้พูดคุยกันแล้วก็คงจะคลายกังวลกัน”  แต่หากย้อนกลับไปดูบัญชีรายชื่อส.ว.ทั้ง 250 คนจะพบว่ากว่า100 คนเป็นทหาร ตำรวจ และอดีตรัฐบาล คสช.  สนช. อีกจำนวนมาก ส่วนสว. 23 คนที่เคยโหวตกฎหมายไม่ให้อำนาจสว.เลือกนายกฯ มีเสียงสะท้อนอย่างไรเริ่มจาก

นายวันชัย สอนศิริ เงื่อนไขในการตัดสินใจเลือกนายกรัฐมนตรี  ยืนยันในหลักการเดิมหากพรรคการเมือง สามารถประสานและรวมกันได้เสียงข้างมาก ตนก็ไม่ขัดข้อง ยืนยันใช้หลักการเดิม แต่ยอมรับว่าต้องนำเรื่องอื่นๆ มาประกอบ ซึ่งโดยหลักแล้วเคารพเสียงของประชาชนเป็นสำคัญ

นายเสรี สุวรรณภานนท์  เงื่อนไขคือต้องไม่แก้ ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือต้องไม่แก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และขอดูความชัดเจนของพรรคการเมืองที่จะร่วมจัดตั้งรัฐบาลก่อน

นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน สมาชิกวุฒิสภา (สว.) แนะนำว่าให้ “ก้าวไกล” ไปรวมเสียงจาก ส.ส.พรรคอื่นให้ครบ หรือ อีกทางพรรคที่ไม่ได้ร่วมรัฐบาล และเป็นฝ่ายค้าน ก็สามารถโหวตให้นายพิธาเป็นนายกได้เช่นกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งเสียง สว.

ท่าทีของกลุ่ม 23 สว.ที่ร่วมเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ให้สว.มีสิทธิในการเลือกนายกรัฐมนตรี

วัลลภ ตังคณานุรักษ์ ที่ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว วันที่ 16 พ.ค. 2566 ว่า “ผมว่าผมชัดเจนมาโดยตลอดนะครับ ตั้งแต่ครั้ง มีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็น 1 ใน 23 ส.ว. ที่ปิดสวิตช์ตนเองในการใช้สิทธิเลือกนายกรัฐมนตรี” “ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ใครรวมเสียงข้างมากเกิน 250 เสียงในสภาผู้แทนราษฎรก็ได้เป็นนายกฯ ได้เป็นรัฐบาล ไม่มีใครขวางได้”

พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ท่าทียังไม่ชัดเจน เดิมให้สัมภาษณ์ขอไม่โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะไม่ใช่อำนาจของสว.คราวที่แล้วโหวตพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา เพราะต้องการให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูป เมื่อผ่าน 4 ปีมาแล้วการปฏิรูปทำไม่ได้เต็มที่ก็จะขอไม่ใช้อำนาจโหวตนายกฯ และให้สัมภาษณ์อีกสื่อว่า  นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกลได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 จากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของไทยในการมีการเมืองรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช้นายทุน ส่วนจะโหวตให้หรือไม่ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะยังมีเรื่องที่ไม่เห็นด้วยแต่ยินดีหากพรรคก้าวไกลจะมาพูดคุย เพราะไมตรีคือการเปิดใจให้คุยกันได้มากกว่าแรงกดดัน ขอไม่เอานโยบายที่รุนแรงและการแตะต้องสถาบัน

ด้านคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา ระบุว่า “อยากจะปิดสวิตช์ ส.ว. นั้นทำได้ไม่ยาก และไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญอะไรเลย… สภามี ส.ส. 500 คน ตัดสินใจเลยให้ได้ 376 เสียง ต่อให้พวกผมจะงดออกเสียงหรืออะไรก็ไม่มีความหมาย”

ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง และบทบาทของ ส.ว. ในการร่วมโหวตนายกฯ ระบุว่า “สานพลังสร้างไทย ผลการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 สะท้อนเจตนามหาชนชัดเจนแล้ว จากนี้ไปควรปล่อยให้กลไกประชาธิปไตยทำงานต่อ ไม่ว่าใครก็ตาม อย่าได้แทรกแซง ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใด ร่วมกันสานพลังสร้างชาติ ตามบทบาทหน้าที่ของทุกฝ่ายจะดีกว่า ประเทศไทยถึงจะไปต่อได้”

ทาง 3 แพร่งที่ “ก้าวไกล” ต้องก้าวข้าม

เสียงสะท้อนบรรดา สว. เป็นงานยากสำหรับพรรคก้าวไกล เพราะสว.เกินครึ่งมาจากกลุ่มอำนาจเดิม ส่วนสว.สายอาชีพและสว.23 คนที่เคยโหวตตัดอำนาจสว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ระบุชัดต้องไม่แตะมาตรา 112 และยังมีพ่วงท้ายขอดูพรรคที่จับขั้วกันก่อน พรรคก้าวไกลจะเปลี่ยนใจสว.ได้หรือไม่ หรือจะตัดสินใจเชิญพรรคร่วมรัฐบาลเดิมมาจัดตั้งรัฐบาล และหากพลาดพลั้งต้องระวังพรรคอื่นจะชิงจัดตั้งรัฐบาล เวลา 2 เดือนในการจัดตั้งรัฐบาลต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะการเมืองไทย อะไรก็เกิดขึ้นได้

รายชื่อสมาชิกวุฒิสภา 250 ราย แต่งตั้งโดยคสช. 

1. พลเอกพหล สง่าเนตร
2. นายกรรณภว์ ธนภรรคภวิน
3. พลตรีกลชัย สุวรรณบูรณ์
4. นายกล้านรงค์ จันทิก
5. นายกษิดิศ อาชวคุณ
6. นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา
7. นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
8. นายกำพล เลิศเกียรติดำรงค์
9. นายกิตติ วะสีนนท์
10. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ
11. นายกูรดิสถ์ จันทร์ศรีชวาลา
12. นายเกียว แก้วสุทอ
13. นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์
14. นายขวัญชาติ วงศ์ศุภรานันต์
15. นายคำนูณ สิทธิสมาน
16. นายจเด็จ อินสว่าง
17. นายจรินทร์ จักกะพาก
18. พลโทจเรศักณิ์ อานุภาพ
19. พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา
20. พลตำรวจโทจิตติ รอดบางยาง
21. นางจินตนา ชัยยวรรณาการ
22. นายจิรชัย มูลทองโร่ย
23. นางจิรดา สงฆ์ประชา
24. พลเอกจิรพงศ์ วรรณรัตน์
25. พลเอกจีระศักดิ์ ชมประสพ
26. นายเจตน์ ศิรธรานนท์
27. นายเจน นำชัยศิริ
28. นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร
29. พลเอกฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข
30. พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ
31. นายเฉลา พวงมาลัย
32. พลอากาศตรีเฉลิมชัย เครืองาม (น้องชาย นายวิษณุ เครืองาม)
33. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
34. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน
35. นายเฉลียว เกาะแก้ว
36. นายชยุต สืบตระกูล
37. พลเอกชยุติ สุวรรณมาศ
38. นายชลิต แก้วจินดา
39. พลตำรวจเอกชัชวาลย์ สุขสมจิตร์
40. พลอากาศเอกชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน

41. พลเรือเอกชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร
42. นายชาญวิทย์ ผลชีวิน
43. พลเอกชาตอุดม ติตถะสิริ
44. พลเรือเอกชุมนุม อาจวงษ์
45. พลเอกชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์
46. พลเอกเชวงศักดิ์ ทองสลวย
47. ว่าที่ร้อยตรีเชิดศักดิ์ จำปาเทศ
48. นายเชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ
49. นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล
50. พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน
51. พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย (คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา)
52. นายณรงค์ รัตนานุกูล
53. นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์
54. นายณรงค์ อ่อนสอาด
55. พลเอกณัฐ อินทรเจริญ
56. พลเอกดนัย มีชูเวท
57. นางดวงพร รอดพยาธิ์
58. นางสาวดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์
59. นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม
60. นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย
61. พลตำรวจเอกเดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา
62. พลตำรวจโทตรีทศ รณฤทธิวิชัย
63. พลอากาศเอกตรีทศ สนแจ้ง
64. นายตวง อันทะไชย
65. พลเอกไตรโรจน์ ครุธเวโช
66. นายถนัด มานะพันธุ์นิยม
67. นายถวิล เปลี่ยนศรี
68. นายถาวร เทพวิมลเพชรกุล
69. พลอากาศเอกถาวร มณีพฤกษ์
70. นายทรงเดช เสมอคำ
71. พลเอกทวีป เนตรนิยม
72. นายทวีวงษ์ จุลกมนตรี
73. นางทัศนา ยุวานนท์
74. ร้อยเอกทินพันธุ์ นาคะตะ
75. พลเอกเทพพงศ์ ทิพยจันทร์
76. พลเอกธงชัย สาระสุข
77. พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร (คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา)
78. พลเอกธวัชชัย สมุทรสาคร
79. นายธานี สุโชดายน
80. นายธานี อ่อนละเอียด
81. พลเอกธีรเดช มีเพียร
82. นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
83. พลเรือเอกนพดล โชคระดา
84. พลเอกนพดล อินทปัญญา
85. พลเอกนาวิน ดำริกาญจน์
86. นายนิพนธ์ นาคสมภพ
87. พลเอกนิวัตร มีนะโยธิน
88. นางนิสดารก์ เวชยานนท์
89. นายนิอาแซ ซีอุเซ็ง
90. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
91. นายบรรชา พงศ์อายุกูล
92. พลเอกบุญธรรม โอริส
93. นายบุญมี สุระโคตร
94. นายบุญส่ง ไข่เกษ
95. พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
96. นางเบญจรัตน์ จริยธาราสิทธิ์
97. หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
98. พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง
99. นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม
100. นางประภาศรี สุฉันทบุตร
101. นายประมนต์ สุธีวงศ์
102. นายประมาณ สว่างญาติ
103. ร้อยเอกประยุทธ เสาวคนธ์
104. นางประยูร เหล่าสายเชื้อ
105. พลเอกประสาท สุขเกษตร
106. นายประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ
107. พลตำรวจตรีปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ
108. พลเอกปรีชา จันทร์โอชา (น้องชาย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)
109. นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ
110. นายปัญญา งานเลิศ
111. พลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ
112. นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
113. นางสาวปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม
114. นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์
115. พลเอกโปฎก บุนนาค
116. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ
117. คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์
118. พลเอกพรพิพัฒน์ เบญญศรี
119. นายพรเพชร วิชิตชลชัย
120. นายพลเดช ปิ่นประทีป
121. พลเรือเอกพะจุณณ์ ตามประทีป
122. พลเรือเอกพัลลภ ตมิศานนท์
123. นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์
124. นายพิทักษ์ ไชยเจริญ
125. พลเอกพิศณุ พุทธวงศ์
126. นายพิศาล มาณวพัฒน์
127. พลตำรวจโทพิสัณห์ จุลดิลก
128. พลเอกพิสิทธิ์ สิทธิสาร
129. นายพีระศักดิ์ พอจิต
130. นางเพ็ญพักตร์ ศรีทอง
131. พลเอกไพชยนต์ ค้าทันเจริญ
132. นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา
133. นายไพโรจน์ พ่วงทอง
134. พลเอกไพโรจน์ พานิชสมัย
135. นางสาวภัทรา วรามิตร
136. นายภาณุ อุทัยรัตน์
137. นายมณเฑียร บุญตัน
138. พลอากาศเอกมนัส รูปขจร
139. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์
140. พลเอกมารุต ปัชโชตะสิงห์
141. พันตำรวจตรียงยุทธ สาระสมบัติ
142. พลเอกยอดยุทธ บุญญาธิการ
143. พันตำรวจเอกยุทธกร วงเวียน
144. นายยุทธนา ทัพเจริญ
145. นายรณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล
146. นายระวี รุ่งเรือง
147. นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร
148. นายลักษณ์ วจนานวัช
149. พลเรือเอกลือชัย รุดดิษฐ์
150. พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช
151. พลเอกเลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์
152. ว่าที่ร้อยตรีวงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี
153. พลเอกวรพงษ์ สง่าเนตร
154. นางวรารัตน์ อติแพทย์
155. พลเอกวราห์ บุญญะสิทธิ์
156. พลเอกวลิต โรจนภักดี
157. พลเอกวสันต์ สุริยมงคล
158. พลเอกวัฒนา สรรพานิช
159. นายวันชัย สอนศิริ
160. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
161. พลเอกวิชิต ยาทิพย์
162. นายวิทยา ผิวผ่อง
163. พลเอกวินัย สร้างสุขดี
164. พลตำรวจโทวิบูลย์ บางท่าไม้
165. นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์
166. นายวิรัตน์ เกสสมบูรณ์
167. นางสาววิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์
168. นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร
169. นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
170. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล
171. นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์
172. นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน
173. พลเอกวีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล
174. นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์
175. นายศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล
176. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย
177. นายศักดิ์ไทย สุรกิจบวร
178. พลเรือเอกศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง
179. พลตำรวจโทศานิตย์ มหถาวร
180. นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา
181. พลเรือเอกศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ (น้องชาย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ)
182. นายศุภชัย สมเจริญ
183. พลเอกศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์
184. พลเอกสกนธ์ สัจจานิตย์
185. พลเอกสกล ชื่นตระกูล (ถึงแก่อนิจกรรม) ตั้ง นายอนุพร อรุณรัตน์ (แทน)
186. หม่อมหลวงสกุล มาลากุล
187. นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
188. พลเรือโทสนธยา น้อยฉายา
189. พลเอกสนธยา ศรีเจริญ
190. พลเอกสนั่น มะเริงสิทธิ์
191. นายสม จาตุศรีพิทักษ์
192. พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม
193. นายสมชาย ชาญณรงค์กุล
194. นายสมชาย เสียงหลาย
195. นายสมชาย แสวงการ
196. นายสมชาย หาญหิรัญ
197. นายสมเดช นิลพันธุ์
198. พลตำรวจโทสมบัติ มิลินทจินดา
199. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์
200. นายสมพล เกียรติไพบูลย์
201. นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ
202. พลตำรวจโทสมหมาย กองวิสัยสุข
203. พลเอกสมหมาย เกาฏีระ
204. พลเอกสราวุฒิ ชลออยู่
205. นายสวัสดิ์ สมัครพงศ์
206. พลเอกสสิน ทองภักดี
207. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์
208. นายสัญชัย จุลมนต์
209. นายสาธิต เหล่าสุวรรณ
210. นายสำราญ ครรชิต
211. พลเอกสำเริง ศิวาดำรงค์
212. พลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร
213. พลอากาศเอกสุจินต์ แช่มช้อย
214. นายสุชัย บุตรสาระ
215. นายสุธี มากบุญ
216. นางสุนี จึงวิโรจน์
217. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล
218. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
219. พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
220. นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ
221. พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์
222. พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
223. นายสุรสิทธิ์ ตรีทอง
224. นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
225. นายสุวรรณ เลิศปัญญาโรจน์
226. นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์
227. นายเสรี สุวรรณภานนท์
228. พลเอกอกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์
229. พลอากาศเอกอดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ
230. พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว
231. พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์
232. นายอนุมัติ อาหมัด
233. นายอนุศักดิ์ คงมาลัย
234. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
235. นางอภิรดี ตันตราภรณ์
236. พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์
237. นายอมร นิลเปรม
238. นายออน กาจกระโทก
239. พลเอกอักษรา เกิดผล
240. นายอับดุลฮาลิม มินซาร์
241. พลเอกอาชาไนย ศรีสุข
242. พลโทอำพน ชูประทุม
243. นายอำพล จินดาวัฒนะ
244. พลเรือเอกอิทธิคมน์ ภมรสูต
245. นายอุดม คชินทร
246. นายอุดม วรัญญูรัฐ
247. พลเอกอุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์
248. นายอุปกิต ปาจรียางกูร
249. พลเอกอู้ด เบื้องบน
250. พลตรีโอสถ ภาวิไล


ข่าวที่เกี่ยวข้อง