คัดลอก URL แล้ว
เหนือ PM 2.5 ลดลง หลังมีพายุฝนฟ้าคะนอง – เฝ้าระวัง 18-20 ก.พ. สภาพอากาศปิด

เหนือ PM 2.5 ลดลง หลังมีพายุฝนฟ้าคะนอง – เฝ้าระวัง 18-20 ก.พ. สภาพอากาศปิด

KEY :

รายงานการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ภาคเหนือ ส่วนใหญ่ลดลงอย่างมาก ทำให้สภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ อยู่ในเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่

แต่ยังคงมีบางพื้นที่ ที่ยังมีค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับที่สูง ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับเมื่อวานที่ผ่านมา

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยในวันนี้ (17 ก.พ.) บริเวณภาคเหนือยังคงมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ทำให้ฝุ่น PM 2.5 น่าจะลดลงต่อเนื่อง แต่หลังจากในช่วงวันที่ 18 ก.พ. ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อีกครั้ง เนื่องจากสภาพอากาศจะเย็นลง ฝนจะลดลง และสภาพอากาศปิด โดยเฉพาะในช่วง 18-23 ก.พ. นี้ คาดว่า หากยังคงมีการเผาในพื้นที่ จะส่งผลให้มีฝุ่นสะสมเพิ่มสูงขึ้นได้อีกครั้ง

ส่วนในภาคอื่น ๆ จากสถานการณ์ที่มีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ช่วยลดปริมาณฝุ่นในอากาศลง แต่ในระยะนี้ อุณหภูมิจะกลับมาลดลงอีกครั้ง อาจจะส่งผลให้ฝุ่นกลับมาเพิ่มสูงขึ้นได้อีกครั้ง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง กรุงเทพฯ ปริมณฑล

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1สสอ.เลาขวัญ
จ.กาญจนบุรี
164
2บ้านแม่ปาน
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
161
3อาคารเอนกประสงค์วังน้ำต้อง
หมู่บ้านวังน้ำต้อง จ.ลำปาง
129
4หน้าหมู่บ้านประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3
ทน.ปากเกร็ด ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
123
5สสอ.เชียงยืน
จ.มหาสารคาม
103
6รพ.ท่าปลา103
7โรงเรียนบ้านกลาง
หมู่บ้านบ้านกลาง จ.ลำปาง
102
8รพ. นาหมื่น
จ. น่าน
101
9รพ.สต.เวินพระบาท
ต.เวินพระบาท อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
101
10รพ.สต.ผากลางนา
ต.สามัคคี อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี
101

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ซึ่งสถานการณ์ในวันนี้ เป็นครั้งแรกในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ที่ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่ตรวจวัดได้ ในช่วง 08.00 น. ไม่มีจุดใดเลยที่สูงเกินกว่า 200 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร แม้ว่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพก็ตาม

จุดความร้อนยังสูง โดยเฉพาะภาคเหนือ

รายงานจุดความร้อนจาก GISTDA ของเมือวานที่ผ่านมา พบว่า จำนวนจุดความร้อนในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้นราว 2 พันจุดด้วยกัน โดยมีจำนวนทั้งหมด 6,698 จุด แบ่งเป็น

ในพื้นที่ประเทศไทยนั้น แม้ว่าจำนวนจุดความร้อนจะลดลงในหลายพื้นที่ แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง โดยพบใน

และหลังจากเมื่อวานที่ผ่านมา ที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง ในพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลให้จำนวนจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือลดลงค่อนข้างมาก เหลือเพียง 234 จุด เมื่อเทียบกับวันที่ 15 ก.พ. ที่พบจุดความร้อน 793 จุด


ข่าวที่เกี่ยวข้อง