KEY :
- แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ในไทยเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสานตอนบน
- ปัจจัยหลักสำหรับในต่างจังหวัดพบว่า มีการเผาของวัสดุทางการเกษตร์ เตรียมพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น รวมถึงในประเทศเพื่อนบ้านด้วย ควบคู่กับกระแสลมเริ่มอ่อนลง อากาศเย็น
- ในกทม. – ปริมณฑล มีสภาพอากาศปิด กระแสลมอ่อน อากาศไม่สามารถยกตัวเอาฝุ่นควันที่เกิดขึ้นระบายออกไปได้
- แนวโน้มช่วงสัปดาห์นี้ คาดว่าจะมีปริมาณฝุ่นเพิ่มสูงขึ้นอีก จากกระแสลมที่อ่อนลง
…
รายงานจากเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า แนวโน้มของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในประเทศไทยยังคงมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานตอนบน ที่เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานนี้ ในช่วงเวลาเดียวกัน
ซึ่งในพื้นที่บริเวณภาคเหนือส่วนใหญ่จะมีค่าฝุ่นละอองสูงเกินค่ามาตรฐาน ตามด้วยภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บางส่วนนของบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน
สำหรับในพื้นที่บริเวณภาคเหนือ คาดว่า ในช่วงวันที่ 28 มกราคม 2566 และ 1-3 กุมภาพันธ์ 2566 จะมีค่าฝุ่นละอองเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับบริเวณภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากกระแสลมที่เริ่มอ่อนลง
ส่วนในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ควรเฝ้าระวังในช่วงวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งจะมีกระแสลมอ่อนลงเช่นเดียวกัน
ซึ่งในพื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีรายงานการพบจุดความร้อนในหลายพื้นที่ โดยเกิดจากการเผาวัสดุทางการเกษตร การเผาพื้นที่เพื่อเตรียมดินเพาะปลูกในรอบใหม่ ควบคู่กับการเผาในพื้นที่อนุรักษ์ร่วมด้วย
สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลนั้น จากกระแสลมที่อ่อนลง อากาศเย็น ส่งผลให้ฝุ่นควันที่เกิดขึ้นยานพาหนะลอยตัวขึ้นไปสะสมตัวในอากาศได้มากขึ้น ร่วมกับการมีตึกสูง ทำให้อากาศค่อนข้างปิด กระแสลมไม่สามารถพัดกระจายฝุ่นควันออกไปได้ ส่งผลให้เกิดการสะสมตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมาจากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ค่าฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน | 291 |
2 | รพ.สต. บ้านหว้า ต.โนนทัน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น | 278 |
3 | รพ.สต.บ้านงิ้วเฒ่า ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย | 270 |
4 | รร.บ้านห้วยทรายขาว ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | 221 |
5 | บ้านแม่ปาน ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ | 213 |
6 | โรงเรียนบ้านน้ำช้างพัฒนา ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | 208 |
7 | รพ.สต.บ้านปงตำ ต.ปงตำ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ | 206 |
8 | รพ. ฮอด จ. เชียงใหม่ | 199 |
9 | โรงเรียนบ้านด่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | 196 |
10 | รพ.สมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ | 191 |
ซึ่งแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในหลายพื้นที่ด้วยกัน
…
สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพฯ ในเขตต่าง ๆ พบว่า
เมื่อเวลา 07.00 น. ที่ผ่านมา ค่าฝุ่นเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมงในพื้นที่กรุงเทพฯ อยู่ระหว่าง 43 – 74 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยของทุกเขตอยู่ที่ 54 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในระดับสีส้ม หรือ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีทั้งหมด 36 จุดตรวจวัดด้วยกันที่พบค่าฝุ่นอยู่ในระดันสีส้มนี้
ในขณะที่รายงานเมื่อเวลา 09.00 น. พบว่า มีพื้นที่ที่มีฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) รวมทั้งหมด 50 จุดด้วยกัน และสูงที่สุดคือ 76 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ที่จุดตรวจวัดในเขตลาดกระบัง
ซึ่งในระยะนี้ เป็นช่วงที่มีสภาพอากาศปิด การระบายอากาศทำได้ไม่ค่อยดีนัก โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ ควรเฝ้าระวังในช่วง วันที่ 27-28 ม.ค. 2566 และช่วงวันที่ 1 – 2 ก.พ. 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลคาดว่าจะมีฝุ่นละอองขนาดเล็กสะสมตัวเพิ่มสูงขึ้น
ในขณะที่รายงานการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า บริเวณสถานีตรวจวัดที่วิทยาเขตบางเขตเมื่อเวลา 08.00 น. อยู่ที่ระดับสีส้ม หรือเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว แต่ในภาพรวมเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ยังคงอยู่ในระดับสีเหลือ
สซึ่งภาพรวมของกรุงเทพฯ อยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายพื้นที่ โดย 10 อันดับแรกที่พบค่าฝุ่นละอองสูงเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมงจากจุดตรวจวัดของกรุงเทพฯ เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (26 ม.ค.) ได้แก่
จุดตรวจวัด | PM 2.5* (เฉลี่ย 24 ชม.) | |
---|---|---|
1 | เขตลาดกระบัง | 76 |
2 | เขตหนองแขม | 71 |
3 | เขตหนองจอก | 70 |
4 | เขตยานนาวา | 65 |
5 | เขตคลองสามวา | 64 |
6 | เขตบางเขน | 62 |
7 | เขตยานนาวา | 61 |
8 | เขตมีนบุรี | 60 |
9 | เขตปทุมวัน | 59 |
10 | เขตบางนา | 59 |
…
จุดความรัอนยังพบทั้งในและนอกประเทศ
สำหรับรายงานจุดความร้อนจากดาวเทียม ในระบบ VIIRS ของ GISTDA ของวันที่ 26 ม.ค. พบว่า ตลอดทั้งวันของเมื่อวานนี้ มีจุดความพร้อมเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเทศ ทั้งไทย กัมพูชา เมียนมา ลาว และเวียดนาม โดยเฉพาะในกัมพูชาที่เพิ่มขึ้นเกือบ 700 จุดด้วยกัน ซึ่งในภาพรวมถือว่า เป็นการเพิ่มขึ้นกว่าพันจุดในภูมิภาค
- กัมพูชา 2,193 จุด (เพิ่มขึ้น)
- เมียนมาร์ 1,490 จุด (เพิ่มขึ้น)
- ไทย 1,047 จุด (เพิ่มขึ้น)
- ลาว 680 จุด (เพิ่มขึ้น)
- เวียดนาม 191 จุด (เพิ่มขึ้น)
สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทยนั้น พบว่า การเผาในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มสูงขึ้น โดยพบทั้งหมด 315 จุด ที่เหลือเป็นพื้นที่เกษตร 242 จุด, ป่าอนุรักษ์ 207 จุด, พื้นที่ สปก. 143 จุด, เขตชุมชนและอื่น ๆ 123 จุด และพื้นที่ริมทางหล่วง 17 จุด
ซึ่งในขณะนี้ ทางด้านของเจ้าหน้าที่เร่งลงพื้นที่ดับไฟที่เกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์กันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง ส่งผลให้ไฟที่เกิดขึ้นสามารถลุกลามได้รวดเร็ว